Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบทเทิลฟีเวอร์ J (ญี่ปุ่น: バトルフィーバーJ; โรมาจิ: Batoru Fībā Jei; ทับศัพท์: Battle Fever J) เป็นละครโทคุซัทสึชุดของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ลำดับที่ 3 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จนถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2523 ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.00-18.30 น. ทางสถานี ทีวีอาซาฮิในประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนตอนทั้งหมด 52 ตอน
แบทเทิลฟีเวอร์ เจ | |
---|---|
ประเภท | โทกูซัตสึ Superhero fiction บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ |
สร้างโดย | Toei Company มาร์เวลคอมิกส์ |
พัฒนาโดย | Susumu Takaku Shozo Uehara |
แสดงนำ | Hironori Tanioka Yukio Itou Narimitsu Kurachi Kenji Ohba Diane Martin Naomi Hagi Daisuke Ban Chiyonosuke Azuma Noriko Hidaka Masashi Ishibashi Maki Ueda |
บรรยายโดย | Toru Ohira |
ผู้ประพันธ์เพลง | Michiaki Watanabe |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ญี่ปุ่น สหรัฐ |
จำนวนตอน | 52 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | Tetsuo Kanno Kanetake Ochiai Itaru Orita Susumu Yoshikawa |
ความยาวตอน | 30 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | Toei Company มาร์เวลคอมิกส์ |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ |
ออกอากาศ | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 – 26 มกราคม ค.ศ. 1980 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
นอกจากนี้ยังเป็นผลงานที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่นำไปสู่ "ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์" ในปัจจุบัน โดยในยุคโชวะจนถึงต้นยุคเฮเซถูกนับเป็นผลงานเรื่องแรกของซีรีส์[1][2]
แบทเทิลฟีเวอร์เจ เป็นละครโทคุซัทสึชุดแรกของซูเปอร์เซ็นไต แต่ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง ขบวนการ 5 จอมพิฆาต โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต ละครชุดที่ประพันธ์โดย อิชิโนโมริ โชทาโร่ ยังถูกเรียกเป็น เซ็นไตซีรีส์ โดยละครชุดซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ใช้ชื่อผู้บทประพันธ์ ฮัตเตะ ซาบูโร่ (หรือ ยาสึเดะ ซาบูโร่) ทั้งนี้เนื้อหาพื้นฐานของละครชุดซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มีองค์ประกอบที่แข็งแกร่งและปรับปรุงรูปแบบใหม่ทำให้ผลงานเรื่องต่อไปอย่าง ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน เริ่มที่จะแตกต่างออกไปเล็กน้อย[a]
นอกเหนือจากกลุ่มฮีโร่ 5 คน ยังมีจุดที่ถูกเพิ่มเติมคือการปรากฏตัวของยานแม่ขนาดยักษ์และหุ่นยนต์ยักษ์ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของซีรีส์ที่ก่อตั้งขึ้นในเรื่องนี้ ซึ่งแตกต่างกับ โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ ที่ปรากฏแค่ยานรบ[4][5] และในช่วงเวลานั้น การผสมผสานระหว่างหุ่นยนต์ยักษ์และยานแม่ยักษ์ถูกเรียกว่าเป็น คอมบิเนชัน ซิสเต็ม (ระบบผสม) และยังให้ถูกเสนอให้แข่งขันกับ อนิเมะโทคุซัทสึเรื่อง หน่วยสำรวจไดโนเสาร์ บอร์นฟรี ที่มีสินค้าชูโรงอย่าง บอร์นฟรีคอมบิเนชันเซ็ต ที่จำหน่ายโดยบริษัทโทมี่[6]
ในส่วนของชื่อเรื่องนั้น มาจากภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง แซทเทอร์เดย์ไนท์ฟีเวอร์ (Saturday Night Fever) ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 1978[7][4][8] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนปี ค.ศ. 1979 คำว่า "ฟีเวอร์" เป็นคำฮิตนิยมติดปากในประเทศญี่ปุ่น[9][3][10]
ผลงานเรื่องนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง มาร์เวลคอมิกส์ และบริษัทโตเอะ โดยสร้างจากประสบสำเร็จของสไปเดอร์แมนฉบับญี่ปุ่น ที่ออกฉายเมื่อปีที่แล้วทั้งเรตติ้งของผู้ชมและรายได้จากการขาย ด้วยเหตุนี้จึงทำผลงานที่วางแผนโดยคำนึงถึงการใช้ตัวละครของมาร์เวล[11] โดยชื่อเบื้องต้นของเรื่องที่จะออกอากาศคือ "กัปตันเจแปน" (キャプテンジャパン)[7][12][11][8] และยังมีข้อเสนอตั้งชื่อเรื่องรายการใหม่ที่มีอยู่ จนกระทั่งแนวคิดจากตัวละครที่มีชื่อของประเทศต่างๆ เช่น "อเมริกา" และ "เจแปน" ทำให้เกิดแนวคิดทำกลุ่มฮีโร่ที่รวมตัวกันจากทั่วทุกมุมโลก[13]
จนในที่สุดเนื่องด้วยสถานการณ์ต่างๆ โยชิคาวะ ซุซุมุ ได้เข้ามารับงานโปรดิวเซอร์ต่อจาก ฮิรายามะ โทรุ และโครงร่างของโปรเจ็กต์ "ยอดมนุษย์ที่แปลงร่างด้วยแดนซ์ริธึมที่เกิดเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย" นั้นสืบทอดมาจากแผนของฮิรายามะ อย่างไรก็ตาม ทาคาฮิสะ ซุซุมุ ผู้เขียนบทตอนแรก ไม่ได้ใส่ใจในส่วนพื้นฐานของ การต่อสู้โดยใช้การเต้นรำเป็นอาวุธ แผนเริ่มต้นเหลือเพียงวิดีโอเพลงเปิดเรื่องและส่วนหนึ่งของภาพในงาน ว่ากันว่าเหตุผลนี้เมื่อถ่ายทำวิดีโอจริง ฉากต่อสู้และการเต้นไม่เข้ากัน[14][b] นอกจากนี้ยังมีการคัดค้านชื่อเรื่องและชื่อที่มีการ์ตูนอเมริกันชัดเจน จนได้รับการแก้ไขชื่อเรื่องว่า แบทเทิลฟีเวอร์ J และตัวละครเปลี่ยนชื่อเป็น แบทเทิลเจแปน[11]
จนในที่สุดได้ตัดสินใจเปิดกล้องอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1978 และเริ่มออกอากาศในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1979 ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะเริ่มทำงานในเดือนมิถุนายน ดังนั้นตารางงานจึงค่อนข้างแน่น ยิ่งไปกว่านั้น โตเอะอิคุตะสตูดิโอที่ถ่ายทำโกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ได้ปิดตัวลงแล้ว และ โตเอะเอโซกำลังผลิตสเปเชียลเอฟเฟกต์ที่โตเอะโตเกียวสตูดิโอที่ยังมีปัญหา เนื่องจากทีมงานเพิ่งย้ายไปผลิตรายการทีวีและไม่มีความรู้เรื่องละครฮีโร่เลย[13] และด้วยตารางงานที่รัดกุมยังคงดำเนินต่อไปตั้งแต่เริ่มเปิดกล้องและหาสถานที่ห่างไกลที่เคยทำในละครโทคุซัทสึทั่วไปที่ผลิตโดยโตเอะ โดยถ่ายทำที่เขตโฮคุริคุ / คาบสมุทรโนโตะ ในตอนที่ 21 และ 22 เท่านั้น
นายพลเท็ตซึหัวหน้าทีมกองกำลังพิทักษ์ประเทศ ล่วงรู้อันตรายจากการโจมตีของสมาคมลับที่ชื่อว่าเอกอส จึงได้รวบรวมนักสู้จากประเทศต่างๆ 4 คนมารวมตัวกับไดแอน มาร์ติน เอฟบีไอสาวที่ถูกส่งตัวมาสืบสวนเรื่องเอกอสแต่ในระหว่างการสืบนั้น พ่อของเธอก็ถูกพวก เอกอสสังหารทำให้เธอโกรธแค้น พวกเอกอสเป็นอย่างมากจึงเป็น มิสอเมริกาเพื่อแก้แค้น และเมื่อนักสู้ อีก 4 คน จากประเทศต่างๆมารวมตัวกัน รวม ไดแอน มาร์ติน จึงกลายเป็นแบทเทิลฟีเวอร์ เจเข้าต่อกรกับเหล่าร้ายเอกอส
เป็นศาสนาแห่งความชั่วร้ายที่ต้องการทำให้โลกใบนี้มีแต่ความวุ่นวาย
1.จู่โจม!! วิ่งไปที่สนามกีฬา(突撃!! 球場へ走れ):ปิศาจค้างคาว
2.วิธีการผลิตปีศาจเอกอส(エゴス怪人製造法):ปีศาจคิบะจิชิ
3.ตามหาสายลับ(スパイを探せ!):ปีศาจเดธมากส์
4.อ่ะ กับดับของสุดยอดนักพลังจิต(超魔力の罠だ!):ปีศาจพลังจิต
5.การต่อสู้ทางอากาศหุ่นยนต์(ロボット大空中戦):ปีศาจบัคโฟโร่
6.เปิดตัวเรือรบสากล(万能戦艦発進せよ):ปีศาจโดกุ
7.บ้านคุณไหม้!(お家が燃える!):ปีศาจลูกไฟ
8.ความลับของเอซแขนเหล็ก(鉄腕エースの謎):ปีศาจกีฬา
9.หญิงสาวนํ้าแข็ง(氷の国の女):ปีศาจสึระระ
10.เห็นช้างนอลแมนไหม(ナウマン象を見た):ปีศาจนอลแมน
11.แผนลักพาตัวสัตว์เลี้ยง(ペット誘拐大事件):ปีศาจคอบร่า
12.กฏต้องคำสาป พายุหิมะ(呪い殺法バラ吹雪):ปีสาจบารารินก้า
13.ไข่ทองคำกับไข่ดาว(金の卵と目玉焼き):ปีศาจไข่
14.การแต่งงานของเจ้าสาวและอสูรกาย(美女と野獣の結婚):ปีศาจกิงกะ
15.อาหารนรกของเอกอส(エゴスの地獄料理):ปีศาจหอยทาก
16.ศิลปะการต่อสู้! ราชินีแห่งความมืด(格闘技!闇の女王):ปีศาจศิลปะการต่อสู้
17.นำเครื่องประหลาด(怪物マシンを奪え):ปีศาจลายเส้นสีนํ้าเงิน
18.พิราบรีบบินไปรังของศัตรู(鳩よ悪の巣へ急げ):ปีศาจแม่เหล็ก
19.ผู้หญิงที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก!!(世界最強の美女!!):ซาโลเม่
20.ไล่ล่าผีที่เสี่ยงอันตราย(危険な幽霊狩り):ปีศาจฟันกิซ่า
21.โจมตีคาบสมุทรไดโนเสาร์!!(恐竜半島へ突撃!!):ปีศาจไดโนเสาร์
22.การโต้กลับของสายลับหญิง(女スパイ団の逆襲)
23.ท้ารบ!! จอมปีศาจปรากฏกาย(決戦!! 怪人総登場):ปีศาจผี
24.ไดแอนลาจากด้วยนํ้าตา(涙!ダイアン倒る):ปีศาจแดร็กคิวล่า
25.สถานที่ถ่ายทำมนต์ขลังลิกลับ(撮影所は怪奇魔境):ปีศาจมายากล
26.ชายผ้าพันแผลของใบหน้ารายงาน(包帯男の仮面報告):ปีศาจผ้าพันแผล
27.ระวังขโมยรักแรกพบ(初恋泥棒にご用心):ปีศาจหน้ากากดำ
28.ติดตามเรือลึกลับ(謎のボートを追え):ปีศาจแมงกระพรุน
29.เจอตัวแล้ว!?สาวปากฉีก(見たか!? 口裂け女):ปีศาจสาวปากฉีก
30.หัวหน้าพ่อครัวจอมตะกละ(悪食雑食の料理長):ปีศาจเปลี่ยนสี
31.พี่น้องรถบรรทุกซิ่ง(激走トラック兄妹):ปีศาจกระเป๋าสตาร์ง
32.หมู่บ้านรอบจัด(ふるさと殺人村):ปีศาจไส้เดือน
33.โคแซคตายเพื่อรัก(コサック愛に死す):ปีศาจนกอินทรีย์
34.นายพลมืดกับเสียงหัวเราะขุมนรก(地獄で笑う闇将軍):ปีศาจจักจั่น
35.ความน่ากลัวตลาดสด(腹ペコ大パニック):ปีศาจปลาน้ำจืด
36.ระเบิดงานแต่งงาน(爆破された結婚式):ปีศาจระเบิด
37.ดาบสายฟ้าปะทะดาบกังหันลม(電光剣対風車剣):ปีศาจ 4 หน้า
38.หน้าแปลก! ชุดเมททริกซ์เรียงแถว(怪奇!仮装行列):ปีศาจเห็ดหัวกะโหลก
39.เพื่อนต้องกลายเป็นปีศาจ(悪魔になった友):ปีศาจไฮด์
40.วิกฤตควาสวยงามครูใกล้ชิด(美人先生危機一髪):ปีศาจการศึกษา
41.ก่อนการระเบิดครั้งใหญ่(爆破寸前の大逆転):ปีศาจคาระคุริ
42.จุดประกายความรักของมนุษย์ไฟฟ้า(電気人間愛の火花):ปีศาจสายฟ้า
43.จั๊คเกอร์มือลอบสังหาร(暗殺者ジャッカル):ปีศาจโกรอนโกะ
44.ชนเผ่าสึคิคาเกะในหุบเขาลึก(地獄谷の月影一族):ปีศาจมนต์มายา
45.5 นาที ก่อนหัวใจหยุดเต้น(心臓停止五分前):ปีศาจชินโซ
46.ตุ๊กตาฟางต้องคำสาป(呪いのワラ人形):ปีศาจโนโรอิ
47.ลึกลับ!ลูกขว้างที่ไหวพริบ(怪!謀略の草野球):ปีศาจมือซ้าย
48.หัวขโมยกับหัวขโมยเด็ก(大盗賊と泥棒少年):ปีศาจหัวขโมย
49.ปี2ประถม5และกองทัพกบฏ(2年5組の反乱軍):ปีศาจกาบหอยแครง
50.จอมมารสวมหน้ากากหมายหัวนายพล(将軍を狙う覆面鬼):ปีศาจโอฮิเกะ
51.พิธีกรรมฟื้นขึ้นชีพของเอกอส(エゴス復活の儀式):ปีศาจเฮดเดอร์/กองทัพปีศาจเอกอส
52.ซิโฟเนียเสียงเพลงของวีรบุรุษ(จบ)(英雄たちの交響曲):ซาตานเอกอส
แบทเทิลฟีเวอร์ J ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.00 - 18.30 น. ทางสถานี ทีวีอาซาฮิ ในประเทศญี่ปุ่น
ในส่วนประเทศไทย ได้มีการจำหน่ายรูปแบบวิดีโอลิขสิทธิ์โดยบริษัทวิดีโอสแควร์ และเคยออกอากาศทาง ช่อง 9 อสมท. เมื่อปีพ.ศ. 2543 โดยใช้ชื่อเรื่องภาษาไทยมีชื่อว่า "ขบวนการเรนเจอร์ เจ"
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.