มหาอำมาตย์โท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา (11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2475) พระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ทรงเป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1][2] และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]และเป็นรัฐมนตรี[4]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นต้นราชสกุลจันทรทัต[5]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
อธิบดีกรมศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง | 3 มีนาคม พ.ศ. 2434 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ |
ประสูติ | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 |
สิ้นพระชนม์ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2475 (71 ปี) |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์หญิงแข จันทรทัต หม่อมอาบ จันทรทัต ณ อยุธยา |
พระบุตร | 13 พระองค์ |
ราชสกุล | จันทรทัต |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 4 |
พระประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ประสูติเมื่อวันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีวอก โทศก จ.ศ. 1222 ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด พระสนมโท มีพระโสทรเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑานพรัตน์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการในกรมราชเลขานุการ ผู้ช่วยกระทรวงว่าการต่างประเทศ อธิบดีกรมศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2439 ถึงวันที่ 3 มีนาคม ร.ศ. 111 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นอธิบดีกรมพยาบาล[6] มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาล จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่น ๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ยุบกรมพยาบาล และโอนย้ายหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ กระทรวงนครบาล กระทรวงมหาดไทย และโรงเรียนราชแพทยาลัยต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา คชนาม ทรงศักดินา 15000[7]
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม มีชั้นยศเป็นมหาอำมาตย์ตรี
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ทรงสนพระทัยและทรงศึกษาเกี่ยวกับตำนานพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตสาวกธาตุ ทรงนิพนธ์หนังสือ "ตำราพระธาตุ" ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่โบราณ บันทึกลักษณะสัณฐานและการจำแนกพระธาตุ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ประชวรพระโรคปัปผาสะ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันจันทร์ เดือน 11 ขึ้น 11 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1294 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2475 พระชันษาได้ 71 ปี[8] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2476[9]
พระโอรสและพระธิดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ทรงเป็นต้นราชสกุลจันทรทัต มีหม่อม 2 ท่าน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงแข (ราชสกุลเดิม: กุญชร) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์
- หม่อมอาบ
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 13 พระองค์ เป็นชาย 9 พระองค์ และหญิง 4 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2433 | |||
2. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 | ในวันประสูติ | |||
3. หม่อมเจ้าหญิงทัตจันทร์จำรูญ (ท่านหญิงใหญ่) | ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงแข | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 | พ.ศ. 2485 | ||
4. หม่อมเจ้าหญิงวิบูลย์จันทรา | ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงแข | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 | 1 มกราคม พ.ศ. 2473 | ||
5. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | พ.ศ. 2432 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2433 | |||
6. หม่อมเจ้าหญิงประภาจันทรี | ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงแข | พ.ศ. 2436 | 4 มีนาคม พ.ศ. 2455 | ||
7. หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต | ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์หญิงแข | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2438 | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2507 | ||
8. หม่อมเจ้าจันทรศิริปริวัตร (ท่านชายอ่าว) | ที่ 1 ในหม่อมอาบ | 3 มกราคม พ.ศ. 2445 | 25 มีนาคม พ.ศ. 2518 | หม่อมจรูญ (ณ ถลาง) | |
9. หม่อมเจ้าน้อย | ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์หญิงแข | ไม่ทราบปี | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2452 | ||
10. หม่อมเจ้าอุรคินทร์ (ท่านชายตุ๊) | ที่ 2 ในหม่อมอาบ | 22 มีนาคม พ.ศ. 2456 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2511 | หม่อมเจ้าหญิงโสภาเพียงจันทร์ (ชยางกูร) หม่อมบัวผัด (ชัยวุฒิ) | |
11. หม่อมเจ้าศศวินทุวิศาล (ท่านชายติ๊ก) | ที่ 3 ในหม่อมอาบ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 | 2 กันยายน พ.ศ. 2527 | หม่อมมัจฉา (ตรีชนะ) | |
12. หม่อมเจ้าหญิงโสมกานดา มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าหญิงจำรูญจันทราภา (ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) | ที่ 4 ในหม่อมอาบ | 10 มกราคม พ.ศ. 2461 | 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 | พลตำรวจตรี พิบูลย์ ภาษวัธน์ | |
13. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | ที่ 5 ในหม่อมอาบ | กันยายน พ.ศ. 2463 | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2463 | ||
- หม่อมราชวงศ์หญิงแข กุญชร
- หม่อมเจ้าหญิงทัตจันทร์จำรูญ จันทรทัต (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2485)
- หม่อมเจ้าหญิงวิบูลย์จันทรา จันทรทัต (9 กุมภาพันธ์ 2429 - 1 มกราคม พ.ศ. 2473)
- หม่อมเจ้าหญิงประภาจันทรี จันทรทัต (พ.ศ. 2436 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2455)
- หม่อมเจ้าเฉลิมศรีจันทรทัต จันทรทัต (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2438 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2507)
- หม่อมอาบ
- หม่อมเจ้าจันทรศิริปริวัตร จันทรทัต (3 มกราคม พ.ศ. 2445 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2518) เษกสมรสกับ หม่อมจรูญ จันทรทัต ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 3 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงประสมจันทร์จรูญ จันทรทัต สมรสกับ วิลาศ บุนนาค มีบุตร 1 คน
- ฟิลลิปวีระ บุนนาค สมรสกับ ปริญดา พันธรัตน์ (หย่า) มีบุตร 3 คน ได้แก่ ภากร ภาวี และภานพ บุนนาค
- หม่อมราชวงศ์หญิงประยูรจันทร์เจริญ จันทรทัต
- หม่อมราชวงศ์จันทร์แรมศิริโชค จันทรทัต สมรสกับ โอนอ่อน ศิริวรรณ มีบุตร 2 คน
- หม่อมหลวงจันทรจุฑา จันทรทัต สมรสกับ ศกลวรรณ ค้าเจริญ มีธิดา 1 คน คือ ปิ่นจันทรา จันทรทัต ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงจันทรขจร จันทรทัต
- หม่อมราชวงศ์หญิงประสมจันทร์จรูญ จันทรทัต สมรสกับ วิลาศ บุนนาค มีบุตร 1 คน
- หม่อมเจ้าอุรคินทร์ จันทรทัต (22 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2511) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงโสภาเพียงจันทร์ ชยางกูร (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมถม) มีธิดา 1 คน
- หม่อมราชวงศ์พงษ์จันทร์ จันทรทัต สมรสกับ พันตำรวจโทโชติศักดิ์ ภาษีผล มีบุตรธิดา 2 คน
- นายชยะพงษ์ ภาษีผล สมรสกับ นพวรรณ ภาษีผล มีธิดา 2 คน คือ ลภัสรดา ภาษีผล และ ชญภิชา ภาษีผล
- ผศ.ดร.ทัตดาว ภาษีผล
- หม่อมราชวงศ์พงษ์จันทร์ จันทรทัต สมรสกับ พันตำรวจโทโชติศักดิ์ ภาษีผล มีบุตรธิดา 2 คน
หม่อมเจ้าอุรคินทร์ จันทรทัต มีหม่อมอีก 1 คน คือ หม่อมบัวผัด ชัยวุฒิ มีบุตรธิดา 7 คน
- หม่อมราชวงศ์จิราพันธุ์ จันทรทัต สมรสกับ สุปราณี ขำศรี มีบุตรธิดา 1 คน
- หม่อมหลวงหทัยชนก จันทรทัต สมรสกับ ภิยโย วัฒนายากร มีบุตร 1 คน คือ มุนินทร วัฒนายากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิราภรณ์ จันทรทัต สมรสกับ นาวาอากาศเอก (พิเศษ) วีระ แป้นสุขเย็น (หย่า)
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิมพ์จันทร์ จันทรทัต (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ เกษมธงไชย ศรีบุญปวน มีบุตร 1 คน
- จิรายุทธ์ ศรีบุญปวน
- หม่อมราชวงศ์หญิงพรรณนิภา จันทรทัต (ถึงแก่กรรม)
- หม่อมราชวงศ์จิรศักดิ์ จันทรทัต สมรสกับ ปิติพร ชินวัตร
- หม่อมราชวงศ์หญิงอัจฉรา จันทรทัต สมรสกับ นายแพทย์ชาญชัย ขจรวิทยา มีบุตรธิดา 3 คน
- หม่อมราชวงศ์จิราพันธุ์ จันทรทัต สมรสกับ สุปราณี ขำศรี มีบุตรธิดา 1 คน
- หม่อมเจ้าศศวินทุวิศาล จันทรทัต (พ.ศ. 2460-2527) เษกสมรสกับ หม่อม 1 คน ชื่อ หม่อมมัจฉา จันทรทัต ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม : ตรีชนะ) มีบุตร ด้วยกัน 4 คน
- หม่อมราชวงศ์ศศิพล จันทรทัต (เสียชีวิตแล้ว) สมรสกับ วิริยา กัลยาณมิตร มีบุตร 2 คน
- หม่อมหลวงสุชัพพล จันทรทัต
- หม่อมหลวงพลาดิศัย จันทรทัต
- หม่อมราชวงศ์ศศิพันธุ์ จันทรทัต สมรสกับ นันทิยา จันทรทัต ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ศศิพฤนท์ จันทรทัต สมรสกับ สุภาวดี จันทรทัต ณ อยุธยา มีบุตรี 2 คน
- หม่อมหลวงศศิภา จันทรทัต
- หม่อมหลวงศศินัดดา จันทรทัต
- หม่อมราชวงศ์ศศินันท์ จันทรทัต สมรสกับ จิราพร จันทรทัต ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ศศิพล จันทรทัต (เสียชีวิตแล้ว) สมรสกับ วิริยา กัลยาณมิตร มีบุตร 2 คน
- หม่อมเจ้าหญิงโสมกานดา จันทรทัต (พ.ศ. 2461-2553) เษกสมรสกับ พลตำรวจตรีพิบูลย์ ภาษวัธน์ มีบุตรธิดา 6 คน
- อภิพร ภาษวัธน์ สมรสกับ พจมาน สุทัศน์ ณ อยุธยา มีธิดา 2 คน
- พรรณโสม ภาษวัธน์ สมรสกับ เกียรติศักดิ์ โพธยานนท์ (หย่า) มีบุตร 1 คน
- อนุพช ภาษวัธน์ สมรสกับ ลัดดาวัลย์ ภาษวัธน์ มีธิดา 1 คน
- โสมภาณี ภาษวัธน์ สมรสกับ ศรีวิชัย ศรีสุวรรณ มีบุตรธิดา 3 คน
- เพ็ญโสม ภาษวัธน์
- พิมพ์โสม ภาษวัธน์
- หม่อมเจ้าชายสิ้นชีพิตักษัยในวัยเยาว์
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร (11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2475)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2439 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2430 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[14]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[15]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[17]
- พ.ศ. ๒๔๕๘ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[19]
- พ.ศ. 2469 - เสมาบรมราชาภิเษกทอง รัชกาลที่ 7[20]
พระยศ
นายกองตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา | |
---|---|
รับใช้ | กองเสือป่า |
ชั้นยศ | นายกองตรี |
พระยศพลเรือน
พระยศเสือป่า
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.