Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นสมณศักดิ์ของพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ตั้งชื่อตามพระอุบาลี พระอรหันต์สาวกของพระโคตมพุทธเจ้า
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ | |
---|---|
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน ว่าง ตั้งแต่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | |
การเรียกขาน | ท่านเจ้าคุณ |
จวน | พระอารามหลวง หรือวัดราษฎร์ |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดพระชีพ หรือ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ (ปาน) |
สถาปนา | พ.ศ. 2443 |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา "พระอุบาฬี" เป็นสมณศักดิ์พระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี อยู่วัดกุฏิ์ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นว่านามพ้องกับพระอรหันตสาวก จึงเปลี่ยนราชทินนามเป็น "พระวินัยรักขิต" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนนามอีกเป็น "พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์" พระราชทานสำหรับพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสี (เสมอชั้นธรรมพิเศษ) โดยเลื่อนพระธรรมเจดีย์ (ปาน) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นรับราชทินนามนี้เป็นรูปแรก[1]
ถึงปี พ.ศ. 2482 พระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าคณะรองฝ่ายอรัญวาสี ชั้นหิรัญบัฏ เป็นรูปแรก
สมัยเป็นสมณศักดิ์เจ้าคณะรองอรัญวาสี (เสมอชั้นธรรมพิเศษ) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 6 รูป ดังนี้
|
|
เมื่อเลื่อนเป็นเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป ดังนี้[2]
|
|
นับตั้งแต่การสถาปนาสมณศักดิ์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 15 รูป โดยแบ่งเป็นพระสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย 12 รูป และเป็นพระสงฆ์ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย 3 รูป
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.