คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ผ่องศรี แซ่จึง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ผ่องศรี แซ่จึง (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ และเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอราษีไศล[1]
ประวัติ
ผ่องศรี แซ่จึง เดิมชื่อ ผ่องศรี เย็นใจ เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษบัณฑิต (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา[2] เธอสมรสกับ ปวีณ แซ่จึง
การทำงาน
ผ่องศรี แซ่จึง สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เธอไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยให้สามี (ปวีณ แซ่จึง) ลงรับสมัครแทน
ผ่องศรี แซ่จึง ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1
ผ่องศรี แซ่จึง กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ส่วนนายปวีณ ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ
ในปี 2565 นายปวีณเปิดตัวย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3] ส่งผลให้เธอถูกกล่าวถึงว่าจะย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งครั้งต่อไป[4]
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2566 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads