Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ หรือ ขุนปลด ปรปักษ์ เป็นอดีต รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
เสียชีวิต | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2496 |
ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ เป็นบุตรของนายฟื้น กับนางปุ่น ภาณุสะวะ เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เขาสมรสกับนางแอร่ม (สกุลเดิม ฉายอุไรกร) มีบุตรธิดา 6 คน
พล.ท.ปลด เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2461 ได้รับยศเป็นนายสิบตรีในกรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2465 จนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2466 จึงเข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จนได้เลื่อนยศและดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เจ้ากรมป้องกันต่อสู้อากาศยาน ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 1 ตำแหน่งสุดท้ายคือ ประจำกรมเสนาธิการทหาร อัตราพลตรี
ในปี พ.ศ. 2477 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1[1] และเป็นราชองครักษ์เวร ในปี พ.ศ. 2480 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 อีกสมัย ในปี พ.ศ. 2483 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 และเป็นสมาชิกในพฤฒสภา พ.ศ. 2489[2]
ในปี พ.ศ. 2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง[3] และในปีต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] และในปี พ.ศ. 2492 พล.ท.ปลด ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[5] รวมทั้งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งดังกล่าว
พล.ท.ปลด เคยปฏิบัติราชการในการสงครามถึง 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน พ.ศ. 2483 และสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2488[6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.