ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
[1]
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
[2]
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เกิดวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแพทย์จิตต์ และนางไพโรจน์ เหมะจุฑา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง อภิฤดี โปษะกฤษณะ บุตรสาว นางสาวรมณ เหมะจุฑา บุตรชาย นายภาสิน เหมะจุฑา
- ระดับประถมศึกษาตอนต้นจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ปีการศึกษา 2519 จบการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร/สาขาวิชา วท.บ.สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เกียรตินิยม)
- ปีการศึกษา 2521 จบการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร/สาขาวิชา พ.บ. สาขา แพทยศาสตร์ (เกียรตินิยม)
- ปีการศึกษา 2524 จบการศึกษาจาก แพทยสภา สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงสาธารณสุข ประกาศนียบัตร/สาขาวิชา ว.ว.(วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ) สาขา อายุรศาสตร์
- ปีการศึกษา 2526 จบการศึกษาจาก แพทยสภา สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงสาธารณสุข ประกาศนียบัตร/สาขาวิชา ว.ว.(วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ) สาขา อายุรศาสตร์
- ปีการศึกษา 2529 จบการศึกษาจาก Johns Hopkins University School of Medicine ประกาศนียบัตร/สาขาวิชา Fellowship in Neurology/Neurology& Neuroimmunology
เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524
- 8 เมษายน 2524 ชื่อตำแหน่ง อาจารย์ ระดับ 4
- 18 กันยายน 2525 ชื่อตำแหน่ง อาจารย์ ระดับ 5
- 1 เมษายน 2526 ชื่อตำแหน่ง อาจารย์ ระดับ 6
- 4 มิถุนายน 2528 ชื่อตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6
- 2 มกราคม 2532 ชื่อตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 7
- 10 พฤศจิกายน 2532 ชื่อตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 9
- 1 ตุลาคม 2537 ชื่อตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 10
- 13 กุมภาพันธ์ 2540 -ปัจจุบัน ชื่อตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11
นอกจากภาระหน้าที่อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์แล้ว ยังได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น
- ปี พ.ศ. 2533 - 2536 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งผู้อำนวยการ WHO Collaborating Center for Research on Rabies Pathogenesis and Prevention
- ปี พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง Member of WHO Expert Advirosy Panel on Rabies (ผู้เชี่ยวชาญโรคพิษสุนัขบ้าองค์การอนามัยโลก) และที่ปรึกษาโรคสมองอักเสบ องค์การอนามัยโลก
- ปี พ.ศ. 2535-2537 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา
- ปี พ.ศ. 2543 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ปี พ.ศ. 2547 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สมัยที่ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล ปฏิบัติราชการเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
- ปี พ.ศ. 2548 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการป้องกันโรคติดต่อจากค้างคาว ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข
- ปี พ.ศ. 2548 -2549 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการดำเนินการตามโครงการชุมชนน่าอยู่ปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าในกรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบปริมณฑล
- ปี พ.ศ. 2549 -2550 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการด้านการแพทย์ (สวทช.)
- ปี พ.ศ. 2549 -2551 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
- ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ (อย.)
- ปี พ.ศ. 2550 - 2551 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.)
- ปี พ.ศ. 2551 - 2552 ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารกองทุน กองทุนสนับสนุนการวิจัย องค์การเภสัชกรรม
- ปี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนาโลก ด้านค้นคว้าและอบรม โรคไวรัสสัตว์สู่คน
- ปี พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการการสนับสนุนการป้องกัน ควบคุม และการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) 2009 (สสส.)
- ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้รับเชิญเป็นผู้ประเมินโครงการขององค์การอนามัยโลก (1ใน35 คน) ด้านยุทธศาสตร์ในโรคติดต่อสัตว์สู่คน (Zoonotic Strategy)
- ปี พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและยุทธศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน ตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้ง กรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 โดยได้รับคะแนนเลือกตั้ง 5969 คะแนน[3] มากเป็นอันดับ 2 และเป็นอันดับ 1 ในบรรดา กรรมการแพทยสภาคนใหม่ที่ไม่ซ้ำกับกรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2560-2562 ซึ่งกรรมการแพทยสภาชุดใหม่มีคนที่ไม่ซ้ำกับชุดเก่า 9 ราย
- ปี พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยดีเด่น จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยดีเยี่ยม จาก มหาวิยาลัยมหิดลเจ้าฟ้ามหิดล – บีบราวน์
- ปี พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
- ปี พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- ปี พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัล MOPH Rabies Awards จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2550 ประเภทบุคคลดีเด่น
- ปี พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน ได้รับเลือกเป็น Who's who of the World-Asian Pacific Science & Engineering/Medicine & Health care/International Man of the year
- ปี พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน ได้รับเลือกเป็น Member of American Neurological Association จากผลงานดีเด่น
- ปี พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน ได้รับเลือกเป็น Member of Scientific committee Institute Pasteur
- ปี พ.ศ. 2532 - 2553 ได้รับเชิญให้เขียน Chapter ในตำราต่างประเทศหลายเล่ม รวมทั้งใน Harrison’s Principle of Neurological Infectious Diseases (2547) และจากสมาคมแพทย์สหรัฐ (American College of Physicians, 2552-ปัจจุบัน)
- ปี พ.ศ. 2545 ได้รับเชิญให้เขียน Chapter ในตำราต่างประเทศหลายเล่ม รวมทั้งใน Harrison’s Principle of Neurological Infectious Diseases (2547) และจากสมาคมแพทย์สหรัฐ (American College of Physicians, 2552-ปัจจุบัน)
- ปี พ.ศ. 2545 ได้รับเชิญจาก บรรณาธิการ The Lancet เขียนบทความใน Lancet Neurology และ Lancet Infectious Disease
- ปี พ.ศ. 2546 ได้รับเชิญจาก โครงการวิจัยดีเด่น 1 ใน 10 ของ สกว. ประจำปี พ.ศ. 2546 / สกว.
- ปี พ.ศ. 2553 ได้รับรางวัล โล่เกียรติยศองค์ปาฐก (World Federation of Neurology) Barucha Oration Lecture, World Congress Neurology Meeting, กรุงเทพฯ
- ปี พ.ศ. 2556 ได้รับประกาศเกียรติคุณ ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านค้นคว้าและอบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คน ชื่อผลงาน “โรคไวรัสอุบัติใหม่นิปาห์จากค้างคาวสู่คน” จาก คณะกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศวุฒิสภา
- ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้ที่มีผลงานในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม จาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปี พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัล นิสิตเก่ายิ่งคุณค่า (ตรวจพบเมอร์สโคโรน่ารายแรกในประเทศไทย) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ จากองค์การอนามัยโลก ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค การสนับสนุนให้ยุติการใช้วัคซีนจากสมองสัตว์และเสนอวิธีทดแทนด้วยการใช้วัคซีนที่ปลอดภัย โดยการฉีดแบบประหยัด ซึ่งมีผลงานมากมาย รวมถึงงานทางด้านการวินิจฉัย พยาธิกำเนิดของโรค ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแพทย์ชั้นนำของโลก เช่น New England Journal of Medicine, Lancet, Lancet Neurology, Lancet Infectious Diseases, Neurology, Journal of Infectious Diseases, Annals of Neurology, Clinical Infectious Diseases และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ยังได้รับเชิญให้เขียนบทความในตำราต่างประเทศหลายเล่ม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ McGraw-Hill, Butterworth-Heinemann, Raven Press, Lippincott Williams and Wilkins และวารสาร Lancet Neurology และ Lancet Infectious Diseases เป็นต้น อีกทั้งยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในการประชุมโรคติดเชื้อ และโรคสมองที่สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เป็นต้น พร้อมทั้งวารสาร Lancet ของอังกฤษเคยลงสัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว
งานวิจัยของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เกี่ยวข้องกับการศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยเป็นการศึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่ลักษณะอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคด้วยวิธีใหม่ การเก็บส่งตัวอย่างเพื่อวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น ลักษณะพิเศษของเชื้อ กลไกการเกิดโรคและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสมอง
อีกทั้งการศึกษาสายพันธุ์ของไวรัสพิษสุนัขบ้าทั่วประเทศ และการแบ่งกลุ่มของไวรัสที่มีความจำเพาะกับพื้นที่ รูปแบบการกระจายและทิศทางการแพร่ของเชื้อโรค เพื่อนำไปสู่การป้องกันและรักษา โดยศึกษาวางระบบแบบแผนการปฏิบัติเมื่อสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ศึกษาผลแทรกซ้อนของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากสมองสัตว์ซึ่งควรยกเลิกและทดแทนด้วยวัคซีนอื่น และการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 80% โดยได้ผลักดันผลงานด้านการป้องกันและรักษาทั้งหมด จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาพาหะนำโรคที่สำคัญอีกชนิด คือ ค้างคาว ขณะนี้ได้มีการสำรวจค้างคาวใน 8 จังหวัด และมีเป้าหมายที่จะสำรวจให้ครอบคลุมทั้งประเทศไทย เพื่อศึกษาสภาวะการติดเชื้อ และความสามารถของค้างคาวที่จะนำและแพร่เชื้อไวรัสในตระกูลพิษสุนัขบ้า และไวรัสนิปาห์ซึ่งเคยเกิดระบาดครั้งใหญ่ในประเทศมาเลเซียและออสเตรเลียมาแล้ว
นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการนำกัญชาและกัญชงมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในประเทศไทยอีกด้วย