คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ธนินท์ เจียรวนนท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ธนินท์ เจียรวนนท์ (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2482) เป็นมหาเศรษฐีชาวไทย ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตประธานกรรมการ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2482[2] ที่ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ธนินท์ เป็นบุตรชายคนที่ 4 ในบรรดาบุตรชายทั้ง 5 คนของนายเอ็กชอ แซ่เจี๋ย ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพ[3] นายธนินท์เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมื่ออายุได้ 19 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชยกรรมที่ฮ่องกง โดยทำงานในตำแหน่งแคชเชียร์ ธนินท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2492 และได้ไปศึกษาชั้นมัธยมจนจบในปี พ.ศ. 2494 จากโรงเรียนซัวเถา ประเทศจีน และอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2499 จากสถาบันศึกษาฮ่องกงวิทยาลัย รวมทั้งผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2532
ต่อมาได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย และบริษัท สหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ตามลำดับ กระทั่งเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบบริหารงานในตำแหน่งประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกลุ่มธุรกิจในเครือฯรวม 13 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร, กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร, กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร, กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง, กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์, กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม, กลุ่มธุรกิจพลาสติก, กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มธุรกิจยานยนต์, กลุ่มธุรกิจเวชภัณฑ์ และกลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร[4]
ธนินท์สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ซีพีเป็นผู้เช่าที่ดินต่างด้าวรายใหญ่สุดในประเทศจีน คิดเป็นพื้นที่กว่า 200,000 เฮกตาร์[5]ในปี พ.ศ. 2567 นายธนินทร์ ได้รับรางวัลผู้สูงอายุดีเด่นแห่งชาติ
Remove ads
ลำดับเศรษฐีของนายธนินท์
- เศรษฐีของโลกอันดับ 351 ในปี พ.ศ. 2545
- เศรษฐีของโลกอันดับ 329 ในปี พ.ศ. 2546
- เศรษฐีของโลกอันดับ 342 ในปี พ.ศ. 2547
- เศรษฐีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 15 ในปี พ.ศ. 2547
- เศรษฐีของโลกอันดับ 387 ในปี พ.ศ. 2548
- เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 3 ในปี พ.ศ. 2548
- เศรษฐีของโลกอันดับ 390 ในปี พ.ศ. 2549
- เศรษฐีของประเทศไทยอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2553, 2554, 2555
- เศรษฐีของโลกอันดับ 133 ในปี พ.ศ. 2555 โดยมีทรัพย์สินสุทธิคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 280,000 ล้านบาท) [6]
- เศรษฐีของโลกอันดับ 81 ในปี พ.ศ. 2558
- ในปี พ.ศ. 2559 นายธนินท์ได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีอันดับ 171 ของโลก เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทย
- เศรษฐีของโลกอันดับ 21 ในปี พ.ศ. 2563 [7]
ธนินท์เป็นหัวหน้าตระกูลเจียรวนนท์ ซึ่งทางฟอบส์เอเชียใน พ.ศ. 2560 จัดให้เป็นตระกูลที่รวยที่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีมูลค่าสุทธิที่ 36.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8][9] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 เขามีมูลค่าสุทธิอยู่ประมาณ 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ฟอบส์จัดให้ ธนินท์ เจียรวนนท์ และพี่น้องของเขามีสินทรัพย์ที่ 30.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ทางฟอบส์จัดให้พี่น้องเจียรวนนท์เป็นกลุ่มที่รวยที่สุดในประเทศไทย[12] โดยในปีแรกที่เกิดโควิด คือ พ.ศ.2563 เขามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท
Remove ads
ความคิด
เมื่อปี 2551 ธนินท์เสนอ "ทฤษฎีสองสูง" ในรายการ จับเข่าคุย ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 สรุปได้สั้น ๆ คือ ปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร แต่ก็ต้องปรับเงินเดือนขึ้นสูงตาม ให้มีความสมดุลกัน[13][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ชีวิตส่วนตัว
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับเทวี เจียรวนนท์ (สกุลเดิม: วัฒนลิขิต) มีลูก 5 คน ประกอบด้วย
- นางวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ สมรสกับ มร.ไมเคิล รอสส์
- นายสุภกิต เจียรวนนท์ สมรสกับ นางมาริษา เจียรวนนท์
- นายณรงค์ เจียรวนนท์
- นายศุภชัย เจียรวนนท์ สมรสกับ นาง บุษดี มหพันธ์ มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์, นางสาวกมลนันท์ เจียรวนนท์ และนายแซนเดอร์ เจียรวนนท์
- นางทิพาภรณ์ อริยวรารมย์ สมรสกับ ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์
เขามีฐานะเป็นอาของนายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ อดีตกรรมการ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
Remove ads
กรรมการต่าง ๆ
- กรรมการธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- อุปนายกกรรมการทุนธนชาต
- กรรมการทุนธนชาต
- กรรมการไทยออยล์
- อนุกรรมการบริหารอาคเนย์ประกันชีวิต
- อุปนายกกรรมการอาคเนย์ประกันชีวิต
- อุปนายกกรรมการธนาคารไทยธนาคาร
- รองประธานกรรมการธนาคารไทยธนาคาร
- ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์
- รองประธานกรรมการบริหารการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย
- ประธานกิตติมศักดิ์ผู้ทรงเกียรติ หอการค้าไทย-จีน
- ประธานกรรมการเกียรติคุณโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
- ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
Remove ads
ปริญญากิตติมศักดิ์
- ปี 2529 ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่
- ปี 2531 ปริญญาพาณิชยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปี 2533 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปี 2534 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปี 2534 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประเทศจีน
- ปี 2538 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ปี 2538 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ปี 2543 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ปี 2547 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร จากสถาบันราชภัฏจันทรเกษม
- ปี 2551 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บริหารธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยคริสเตียน
- ปี 2551 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ปี 2565 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ธุรกิจ-นวัตกรรม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Remove ads
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[16]
- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2564 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)[18]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2566 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[20]
- พ.ศ. 2566 –
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads