ท้าวนาง คือสตรีอาวุโสที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง[1] มักเป็นเจ้าจอมหรือเจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล[2]
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายใน โดยมีท้าววรจันทร เป็นหัวหน้า และมีผู้ช่วยในด้านต่าง ๆ คือ ว่าการพนักงาน ว่าการวิเสท ว่าการโขลน ว่าการทั่วไป และว่าการพระคลังใน โดยในแต่ละด้านจะมีหัวหน้ากำกับบังคับบัญชา ทั้งนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่ง ท้าววรคณานันท์ เป็นหัวหน้าอีกชั้น ทำให้ตำแหน่ง ท้าววรจันทร เป็นผู้ช่วย
เสด็จอธิบดีฝ่ายใน
เสด็จอธิบดีฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองในเชิงงานข้าราชการตามแบบแผนใหม่โดยขึ้นตรงกับกระทรวงวัง จัดเป็นตำแหน่งผู้ควบคุมฝ่ายในสูงสุดและทำหน้าที่ควบคู่กับท้าววรจันทร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี
ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน
ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่เริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อบังคับบัญชาฝ่ายในต่างพระเนตรพระกรรณ โดยจะแต่งตั้งผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ดังนี้
- เจ้าคุณหญิงนุ่น บุนนาค (เจ้าคุณวังหลวง ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน พระบรมมหาราชวัง) ธิดาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
- เจ้าคุณหญิงคุ้ม บุนนาค (เจ้าคุณวังหน้า ผู้สำเร็จราชการฝ่ายใน ฝ่ายพระราชวังบวร) ธิดาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
เจ้าคุณฝ่ายใน
เจ้าคุณฝ่ายใน เป็นตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งและพระราชทานสัญญาบัตร เพื่อรับราชการฝ่ายในเป็นการเฉพาะตัว ดังนี้
- เจ้าคุณแข บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
- เจ้าคุณปุก บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
- เจ้าคุณหรุ่น บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์
- เจ้าคุณนุ่ม บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย
- เจ้าคุณเป้า บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย
- เจ้าคุณคลี่ บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) กับท่านผู้หญิงน้อย
ท้าววรจันทร
ท้าววรจันทร บรมธรรมิกภักดี นารีวรคณานุรักษา หรือสะกดว่า ท้าววรจัน เป็นตำแหน่งสมเด็จพระพี่เลี้ยงของกษัตริย์หรือพระราชโอรสที่ยังมิได้โสกันต์ และพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า เป็นหัวหน้าท้าวนางทั้งปวง บังคับบัญชาทั่วไปในราชสำนักฝ่ายใน ตลอดจนมีหน้าที่ตักเตือนว่ากล่าวพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และพระสนมกำนัล โดยจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระพี่เลี้ยง หรือ เจ้าจอม หรือ บุคคลที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดำรงตำแหน่งนี้
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบุคคลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าววรจันทร ดังนี้
- ท้าววรจันทร (แจ่ม) ธิดาท่านผู้หญิงแก้ว ภรรยาเจ้าพระยามหาเสนา
- ท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาอิ่ม ในรัชกาลที่ 1) ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ที่สมุหนายก[3]
- ท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาปราง ในรัชกาลที่ 2)
- ท้าววรจันทร (คุณมาไลย)
- ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)
ท้าวสมศักดิ์
ท้าวสมศักดิ์เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการพนักงานทั้งปวง เช่น เครื่องนมัสการ ดูแลหอพระ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวสมศักดิ์ เช่น
- ท้าวสมศักดิ์ (มณี)
- ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาอึ่ง ในรัชกาลที่ 3)[4]
- ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4)[5]
- ท้าวสมศักดิ์ (โหมด) ( ? - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2445) [6]
- ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)
ท้าวอินทรสุริยา
ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการห้องวิเสท ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวอินทรสุริยา เช่น
- ท้าวอินทรสุริยา ( ? - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
- ท้าวอินทรสุริยา (ชื่น) (24 ธันวาคม พ.ศ. 2446 - )
- ท้าวอินทรสุริยา (อาบ ชูโต) พระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- ท้าวอินทรสุริยา (เปลี่ยน) (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - )
- ท้าวอินทรสุริยา (หม่อมหลวงเชื้อ พึ่งบุญ)
- ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล) (พ.ศ. 2493 - 16 ตุลาคม 2517) พระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี)
ท้าวอินทรสุริยา มีผู้ช่วยในการกำกับห้องวิเสท เช่น
- ท้าววนิดาพิจาริณี - ผู้ช่วยราชการวิเสท
- ท้าวเทพภักดี - นายวิเสทกลาง
- ท้าวทองพยศ - นายวิเสทกลาง (หวาน)
- ท้าวทองกีบม้า - นายวิเสทใน (หวาน)
- ท้าวยอดมณเฑียร - นายวิเสทใน
- ท้าวอินทกัลยา - นายวิเสทนอก
- ท้าวมังศรี - นายวิเสทนอก หมากพลู
- ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน - นายวิเศท ทรงบาตร
- ท้าวสำราญมุข - นายวิเสท
- ท้าวราชโภชนาจารินี - นายวิเสท
ท้าวศรีสัจจา
ท้าวศรีสัจจา เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าว่าการโขลน ควบคุมประตูวัง และการอารักขาทั้งปวงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวศรีสัจจา เช่น
- ท้าวศรีสัจจา (มิ)
- ท้าวศรีสัจจา (เลื่อน บุนนาค) - ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)
- ท้าวศรีสัจจา (เจ้าจอมมารดาอิ่ม ในรัชกาลที่ 4)[9]
- ท้าวศรีสัจจา (ทับทิม) (21 มิถุนายน 2449 - ) [10]
- ท้าวศรีสัจจา (สังวาลย์ บุณยรัตพันธุ์)[11] (เป็นท้าวนางท่านสุดท้าย เพราะหลังจาก พ.ศ. 2495 ไม่มีการสถาปนาบรรดาศักดิ์ท้าวนางอีก)
ท้าวโสภานิเวศน์
ท้าวโสภานิเวศน์ เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการทั่วไป ช่วยราชการในกองบัญชาการของท้าววรจันทร ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวโสภานิเวศน์ เช่น
ท้าวทรงกันดาล
ท้าวทรงกันดาล เป็นตำแหน่งคุณท้าวว่าการพระคลังฝ่ายใน มีหน้าที่ควบคุม ดูแลการเบิกจ่ายต่างๆ ทั้งเงิน และเครื่องใช้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ท้าวทรงกันดาล เช่น
- ท้าวทรงกันดาล (เจ้าจอมมารดาหุ่น ในรัชกาลที่ 3)[14]
- ท้าวทรงกันดาล (เจ้าจอมมารดาหุ่น ในรัชกาลที่ 4)[15]
- ท้าวทรงกันดาล (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล) [16]
ท้าวทรงกันดาลมีผู้ช่วยราชการพระคลังใน 1 ตำแหน่งคือ ท้าวสุภัตติการภักดี โดยมีผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ อาทิ
- ท้าวสุภัตติการภักดี (เจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 4) (21 พฤศจิกายน 2435 -)
- ท้าวสุภัตติการภักดี (ทับทิม) (16 มกราคม 2442 - 21 มิถุนายน 2449) [17]
- ท้าวสุภัติการภักดี (เจ้าจอมเหลี่ยม ในรัชกาลที่ 4) [18]
- ท้าวสุภัตติการภักดี (ปริก) (1 ธันวาคม 2453 - ) [19]
ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ
- ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5) (15 เมษายน 2455 - ) [20]
ท้าววรคณานันท์
ในรัชกาลที่ 5
- ท้าววรคณานันท์ (มาไลย) ถึงแก่อสัญกรรมวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 อายุ 88 ปี[21]
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองฝ่ายใน และปรับเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ใหม่ โดยให้มี ท้าววรคณานันท์ อัพภันตรปตานี ราชนารีกิจวิจารณ์ เป็นใหญ่กว่าท้าวนางทั้งปวง โดยมีผู้ที่ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ดังนี้
- ท้าววรคณานันท์ (หม่อมราชวงศ์แป้ม มาลากุล) (16 พฤศจิกายน 2462 - 12 กุมภาพันธ์ 2481[22]
- ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม ในรัชกาลที่ 5) (16 พฤษภาคม 2493 - 17 พฤษภาคม 2502[23]
นอกจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มตำแหน่ง เพื่อช่วยราชการในตำแหน่งอื่น ๆ เช่น
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.