Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายเชียงใหม่–แม่ฮ่องสอน หรือที่นิยมเรียกว่า ถนนเชียงใหม่-หางดง, ถนนเชียงใหม่-จอมทอง, ถนนเชียงใหม่-ฮอด, ถนนเชียงใหม่-แม่สะเรียง เป็นทางหลวงสายหลักที่ใช้สำหรับเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ด้านใต้ของทั้งสองจังหวัด จากจุดเริ่มต้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้ด้วยระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 | |
---|---|
ถนนเชียงใหม่-หางดง,ถนนเชียงใหม่-ฮอด,ถนนเชียงใหม่-แม่สะเรียง | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 349.359 กิโลเมตร (217.082 ไมล์) |
ประวัติ | |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก | 1141 ใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ |
| |
ถึง | 1095 ใน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
เส้นทางนี้อยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 1 และแขวงทางหลวงแม่ฮ่องสอน สำนักงานทางหลวงที่ 1 เชียงใหม่ กรมทางหลวง[1] เริ่มต้นจากคูเมืองเชียงใหม่ บริเวณสามแยกประตูเชียงใหม่ ตัดถนนช่างหล่อ ในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (ช่วงถนนวัวลาย) โดยผ่านสี่แยกสนามบินเชียงใหม่ มุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอหางดง ผ่านสันป่าตอง ดอยหล่อ จอมทอง และฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ กิโลเมตร ที่ 68+500 (นับจากอำเภอฮอด) ผ่านอำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อย ขุนยวม ก่อนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน สิ้นสุดเส้นทางบนถนนขุนลุมประพาส ผ่านใจกลางเมือง และต่อเนื่องไปสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 (ถนนปาย-แม่มาลัย) รวมระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นช่วงเชียงใหม่-ฮอด ระยะทาง 88 กิโลเมตร และช่วงฮอด-แม่ฮ่องสอน ระยะทาง 265 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางในช่วงหลังนี้จะเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากวงเวียนอำเภอฮอด ไปจนถึงแม่ฮ่องสอน
เส้นทางในช่วงเชียงใหม่ถึงอำเภอฮอดเป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร ไป-กลับ ยกเว้นในตัวอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง ชุมชนทุ่งเสี้ยว และตัวอำเภอจอมทอง เป็นถนนในเขตชุมชนขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ โดยช่วงที่เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร จะมีเกาะกลางถนน (สำหรับช่วงจอมทองถึงฮอด มีเกาะกลางเฉพาะช่วงเลาะแม่น้ำปิง ตำบลสบเตี๊ยะเท่านั้น) ส่วนเส้นทางในช่วงอำเภอฮอดถึงแม่ฮ่องสอนเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย เลาะไปตามภูเขาสูงชันถึงอำเภอแม่สะเรียง จากนั้นเส้นทางจะขนานไปกับแม่น้ำยวมถึงอำเภอขุนยวม และลัดเลาะไปตามหุบเขาถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ เส้นทางช่วงต้นจากคูเมืองเชียงใหม่ไปจนถึงสี่แยกสนามบินเป็นเส้นทางดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่ และใช้ชื่อเดิมคือถนนวัวลาย แต่ส่วนที่เหลือไม่มีชื่อที่เฉพาะเจาะจง
แนวเส้นทางถนนสายนี้ ดั้งเดิมใช้ในการเดินทางขนส่งและติดต่อค้าขายบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแต่โบราณ เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา และเมืองมะละแหม่ง เมืองท่าชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ในรัฐมอญ ประเทศพม่า โดยผ่านชายแดนบริเวณแม่น้ำสาละวินที่อำเภอแม่สะเรียง
ภายหลัง กรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างถนนสายนี้ขึ้นจากเส้นทางลำลอง กลายเป็นเส้นทางลูกรังในช่วงปี พ.ศ. 2500-2506 ขนาดกว้างประมาณ 5.00 เมตร คันทางกว้างประมาณ 7-9 เมตร จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2530-2533 จึงเริ่มมีโครงการปรับปรุงเป็นผิวถนนคอนกรีตแอสฟัลต์ โดยแบ่งทำเป็นตอน ๆ ในช่วงฮอด-แม่สะเรียง, แม่ลาน้อย-ขุนยวม, ขุนยวม-บ้านห้วยโป่ง, บ้านห้วยโป่ง-ต่อเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน[2] และแม่สะเรียง-แม่ลาน้อย จนสามารถปรับปรุงผิวทางได้แล้วเสร็จตลอดทั้งเส้นทางในช่วงปี พ.ศ. 2541
จังหวัด | อำเภอ | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา |
---|---|---|---|---|---|
เชียงใหม่ | เมืองเชียงใหม่ | 4+149 | แยกสนามบิน | เชื่อมต่อจาก: ถนนทิพย์เนตร จากเมืองเชียงใหม่ (กำแพงเมืองเชียงใหม่ ประตูแสนปุง) | |
ทล.1141 จาก ลำปาง | ทล.1141 จาก ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ||||
7+740 | แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซี หางดง) | 132 ทล.132 ไป อ.สันกำแพง | 132 ทล.132 ไป อ.สะเมิง | ||
หางดง | 9+950 | แยกราชพฤกษ์ | ไม่มี | ถนนราชพฤกษ์เชียงใหม่ ไป อุทยานหลวงราชพฤกษ์ | |
10+247 | แยกสะเมิง | ทล.121 ไป อ.สารภี | ทล.121 ไป อ.สะเมิง | ||
14+950 | แยก กศน.หางดง | ชม.ถ 1-0034 ถนนหางดง-บ้านน้ำโท้ง ไป บ.ถวาย, บ.น้ำโท้ง, อ.สารภี | ไม่มี | ||
สันป่าตอง | 21+558 | แยกหนองตอง | ทล.1015 ไป ลำพูน | ไม่มี | |
21+680 | แยกช่างกระดาษ | ทางหลวงชนบท ชม.5036 ไป อ.ดอยหล่อ, อ.จอมทอง | ทางหลวงชนบท ชม.5036 ไป อ.หางดง | ||
22+404 | แยกสันป่าตอง | ไม่มี | ทล.1013 ไป อ.แม่วาง | ||
30+500 | แยกตลาดทุ่งเสี้ยว | ไม่มี | ทางหลวงชนบท ชม.3006 ไป บ.เปียง | ||
34+176 | แยกท่าวังพร้าว | ทล.116 ไป อ.ป่าซาง | ทล.119 ไป อ.แม่วาง, อ.หางดง, เชียงใหม่ | ||
ดอยหล่อ | 49+615 | แยกท่าลี่ | ทล.1010 ไป อ.บ้านโฮ่ง, อ.เถิน | ไม่มี | |
จอมทอง | 57+239 | แยกจอมทอง | ไม่มี | ทล.1009 ไป กิ่วแม่ปาน, ดอยอินทนนท์, อ.แม่แจ่ม | |
58+340 | แยกบุ่งฮวด | ทางหลวงชนบท ชม.3003 ไป บ.ท่าศาลา, บ.วังสะแกง, อ.เวียงหนองล่อง | ไม่มี | ||
82+450 | แยกวัดถ้ำตอง | ไม่มี | ชม.3033 ทางหลวงชนบท ชม.3033 ไป บ.แปะ, บ.ขุนแปะ, อ.จอมทอง | ||
ฮอด | 87+864 | แยกวงเวียนฮอด | ไม่มี | ทล.108 ไป แม่ฮ่องสอน | |
ตรงไป: ทล.1012 ไป อ.ดอยเต่า | |||||
109+770 | แยกออบหลวง | ไม่มี | ทล.1088 ไป อ.แม่แจ่ม | ||
127+100 | แยกบ้านกิ่วลม | ทล.1099 ไป อ.อมก๋อย | ไม่มี | ||
143+293 | แยกบ้านกองลอย | ไม่มี | ทล.1270 ไป อุทยานแห่งชาติแม่โถ, บ.แม่โถ | ||
แม่ฮ่องสอน | แม่สะเรียง | 191+369 | แยกแม่สะเรียง | ทล.1194 ไป อ.สบเมย, บ.แม่สามแลบ | ไม่มี |
ทล.105 ไป อ.แม่สอด, ตาก | ไม่มี | ||||
แม่ลาน้อย | 220+964 | แยกแม่ลาน้อย | ไม่มี | ทล.1266 ไป บ.ละอุบ | |
ขุนยวม | 271+729 | แยกหางปอน | ทล.1337 ไป บ.แม่กิ๊, บ.ประตูเมือง | ไม่มี | |
288+134 | แยกขุนยวม | ไม่มี | ทล.1263 ไป ทุ่งบัวตอง, อ.แม่แจ่ม | ||
เมืองแม่ฮ่องสอน | 341+525 | แยกผาบ่อง (ใต้) | ทล.1399 ไป บ.ผาบ่อง | ไม่มี | |
343+108 | แยกผาบ่อง (เหนือ) | ทล.1399 ไป บ.ผาบ่อง | ไม่มี | ||
353+508 | แยกประตูเมืองแม่ฮ่องสอนด้านใต้ (แยกท่าโป่งแดง) | ถนนเชื่อมต่อ: | ไม่มี | ||
ตรงไป: ถนนขุนลุมประพาส เข้าเมืองแม่ฮ่องสอน | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
|
|
|
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 128 | |
---|---|
ที่ตั้ง | อ.เมืองแม่ฮ่องสอน |
ความยาว | 8.363 กิโลเมตร (5.197 ไมล์) |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 128 หรือ ทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน [3] เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 เชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1250 (ถนนทางเข้าเรือนประทับแรมโป่งแดง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง ผ่านด้านทิศตะวันตกของดอยกองมู และสิ้นสุดเส้นทางที่สามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำปายที่บ้านปางหมู ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นถนน 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ระยะทางรวม 8.363 กิโลเมตร
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.