Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดำรง ลัทธพิพัฒน์ (29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) [1] อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[2][3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรง ลัทธพิพัฒน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ทินกร พันธุ์กระวี |
ถัดไป | เล็ก นานา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ทองหยด จิตตวีระ |
ถัดไป | สุธี นาทวรทัต |
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | ธรรมนูญ เทียนเงิน |
ถัดไป | เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เสียชีวิต | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (52 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2512—2528) |
คู่สมรส | สมศรี ลัทธพิพัฒน์ |
ดำรง เข้าสู่การเมืองโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 พร้อมด้วยพิชัย รัตตกุล ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำรงเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาล ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 แทนธรรมนูญ เทียนเงินที่ลาออกจากพรรคไป ด้วยมีความขัดแย้งกับสมาชิกในพรรค
ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ดำรงถูกกล่าวหาร่วมกับชวน หลีกภัย และสุรินทร์ มาศดิตถ์ ว่าเป็นผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์
ดำรง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2519[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[7] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์[8]
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สมศรี ลัทธพิพัฒน์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ (บุตรสาว) อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน และ ดร.วาว ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ (บุตรชาย)
ดำรง ลัทธพิพัฒน์ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ด้วยบาดแผลจากกระสุนปืนที่ศีรษะ โดยประกอบอัตวินิบาตกรรม[9][10][11]นั่งรถประจำตำแหน่งมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากความเครียด ภายหลัง สมัคร สุนทรเวช ซึ่งขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ "มุมน้ำเงิน" ในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ ได้เขียนบทความว่า เขายิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยา[12] มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช[13] ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531[14] ว่า นายสมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 บาท ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน[15]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.