คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี (9 เมษายน พ.ศ. 2500 – 13 กันยายน พ.ศ. 2565) เป็นผู้บริหารและนักธุรกิจชาวไทย อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และอดีตประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเบื้องต้น ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย, ถัดไป ...
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

จุตินันท์ เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของจำนงค์ ภิรมย์ภักดี (ชื่อเดิม ประจง เศรษฐบุตร) บุตรของพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ผู้ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี

จุตินันท์สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงบัณฑิตวิทยาลัยจากสหรัฐอเมริกา ทั้งหมด โดยสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนฮอทช์คิส รัฐคอนเนทิคัต, ระดับปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และบัณฑิตวิทยาลัย จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทั้งหมด 2 หลักสูตร คือหลักสูตรธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น และหลักสูตรกลยุทธ์การเจรจา[1] ภายหลัง จุตินันท์ยังเข้าอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (พ.ศ. 2546) ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2552) ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[2] นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากคณะบริหารธุรกิจ (หลักสูตรการเงิน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และคณะบริหารธุรกิจ (หลักสูตรการจัดการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก[1]

ชีวิตส่วนตัว จุตินันท์สมรสกับหม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี (สกุลเดิม:กฤดากร) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ จิตภัสร์ กฤดากร, นันทญา ภิรมย์ภักดี และร้อยโทณัยณพ ภิรมย์ภักดี[1] ซึ่งต่อมาได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยหลังจากจุตินันท์ถึงแก่กรรม[3]

Remove ads

การทำงาน

สรุป
มุมมอง

บุญรอดบริวเวอรี่

หลังจากจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา จุตินันท์ได้เดินทางกลับมาที่ประเทศไทย และเริ่มเข้าทำงานในบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในปี พ.ศ. 2524 โดยมีบทบาทในการปรับระบบการทำงานด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการวางระบบเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงไปดูแลงานฝ่ายลูกค้า การเงิน และการส่งออกตามลำดับ และยังนำเข้าเบียร์โคโรน่า และมิลเลอร์ รวมถึงน้ำแร่ ฟิจิ วอเตอร์ จากต่างประเทศ มาจัดจำหน่ายในประเทศไทย ผ่านบริษัท ซี.วี.เอส.ซินดิเคท จำกัด ก่อนดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่[4]

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 จุตินันท์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบุญรอดบริวเวอรี่ แทนที่สันติ ภิรมย์ภักดี ลูกพี่ลูกน้องที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร[4] และยังเป็นประธานกรรมการในบริษัทในเครือบุญรอดอีกหลายแห่ง เช่น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน), บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด, บริษัท ซี.บี.โฮลดิ้ง จำกัด และอื่น ๆ[5] โดยจุตินันท์ดำรงตำแหน่งทั้งหมดนี้จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2565 โดยภูริต ภิรมย์ภักดี บุตรชายคนโตของสันติ เข้ารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบุญรอดบริวเวอรี่ต่อจากจุตินันท์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม[6]

คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย

จุตินันท์เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาคนพิการระดับนานาชาติรายการต่าง ๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ก่อนจะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2552[7]

การเมือง

เมื่อปี พ.ศ. 2549 จุตินันท์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 19 เมษายน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 5 เดือนก็พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดรัฐประหารในเดือนกันยายน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ หลังจากนั้นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติคัดเลือกกันเองจนกระทั่งได้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย (สสร.) ในจำนวนนี้มีจุตินันท์รวมอยู่ด้วย โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จุตินันท์เป็นกรรมาธิการทั้งหมด 2 คณะใน สสร. คือคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ โดยชุดหลังนี้จุตินันท์ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการด้วยตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 จุตินันท์เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10[8]

Remove ads

เสียชีวิต

จุตินันท์ถึงแก่กรรมอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาทกลาง ที่โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์เจเนอรัล ในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา[9] เมื่อเวลา 23:52 น. ของวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 10:52 น. ของวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565 ตามเวลาประเทศไทย สิริอายุ 65 ปี[10] โดยหลังจากนั้นครอบครัวภิรมย์ภักดีได้นำศพจุตินันท์กลับมาถึงประเทศไทยในวันที่ 25 กันยายน และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ มีกำหนด 7 คืน ที่บ้านพักย่านเอกมัย ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม หลังจากนั้นมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพต่อเนื่องทุกวันอาทิตย์ถึงวันที่ 18 ธันวาคม ตามระยะเวลา 100 วัน[11] และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพจุตินันท์ ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads