Remove ads
เครื่องประดับของฝรั่งเศส จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์เทียร์อินเตอร์เนชันแนล เอสเอ็นซี (ฝรั่งเศส: Cartier International SNC) มักนิยมเรียกว่า คาร์เทียร์ (ฝรั่งเศส: Cartier) เป็นบริษัทสินค้าฟุ่มเฟือยของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ และผลิตจำหน่ายเครื่องประดับและนาฬิกา[2][3] ก่อตั้งโดยหลุยส์-ฟร็องซัว คาร์เทียร์ในกรุงปารีสปี 1847 ซึ่งบริษัทอยู่ภายใต้การควบคุมของครอบครัวจนถึงปี 1964[3] ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส และอยู่ภายใต้บริษัทแม่ของสวิตเซอร์แลนด์คือ ริชมอนต์[4][5] คาร์เทียดำเนินกิจการมากกว่า 200 ร้านค้าใน 125 ประเทศ เช่นในกรุงลอนดอน นิวยอร์ก และปารีส[5][6] และปัจจุบันคาร์เทียร์ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องประดับอัญมณีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก[3][7][8][9][10][11]
ประเภท | บริษัทย่อย |
---|---|
อุตสาหกรรม |
|
ก่อตั้ง | 1847 |
ผู้ก่อตั้ง | หลุยส์-ฟร็องซัว คาร์เทียร์ |
สำนักงานใหญ่ | , ฝรั่งเศส |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ซิรีย์ วีญรง, (ซีอีโอ) |
ผลิตภัณฑ์ | เครื่องประดับ นาฬิกา |
รายได้ | $6.1 พันล้าน (2016)[1] |
บริษัทแม่ | ริชมอนต์ |
เว็บไซต์ | cartier |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการในพระองค์ มีหนังสือแต่งตั้งให้คาร์เทียร์เป็นผู้จำหน่ายเครื่องเพชรพลอยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยาม หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังร้านสาขากรุงปารีสเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างการเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 และมีการจัดแสดงเครื่องประดับของคาร์เทียร์ที่พระบรมมหาราชวัง ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2451[12]
คาร์เทียร์มีบูติกในไทยทั้งหมดหกแห่ง ได้แก่ เอ็มโพเรียม[13], สยามพารากอน[14] (อยู่ระหว่างการปรับปรุง[15]), ไอคอนสยาม[16], ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[17], คิง เพาเวอร์ ศรีวารี และคิง เพาเวอร์ ภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีบูติกนาฬิกาที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี[18] อีกด้วย ทั้งนี้ คาร์เทียร์เคยจัดงานแสดงเครื่องเพชรในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[19] และจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2565 ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)[20]
ในปี พ.ศ. 2563 ทางคาร์เทียร์ได้แต่งตั้งให้คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส นักแสดงหญิงชื่อดังชาวไทยให้เป็น "Friend of Cartier" ประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ[21]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.