Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุชชี่ (อิตาลี: Gucci) เป็นบริษัทสินค้าแบรนด์เนมของอิตาลีแบรนด์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในระดับโลก ในเครือของ PPR
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชื่อทางการค้า | Gucci |
---|---|
ประเภท | บริษัทย่อย (S.p.A.) |
อุตสาหกรรม | แฟชั่น |
ก่อตั้ง | 1921 |
ผู้ก่อตั้ง | กุซซิโอ กุชชี่ |
สำนักงานใหญ่ | , อิตาลี |
จำนวนที่ตั้ง | 487 แห่ง (2019) |
บุคลากรหลัก | Marco Bizzarri (CEO) Alessandro Michele (ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์) |
รายได้ | 9.62 พันล้านยูโร (2019) |
พนักงาน | 17,157 คน (2019) |
บริษัทแม่ | Kering |
เว็บไซต์ | www |
ปี 1921 "กุชชิโอ กุชชี่" (Guccio Gucci) ก่อตั้งกิจการ Gucci โดยเริ่มต้นจากการที่กุชชี่เริ่มทำงานในโรงแรมซาวอยที่กรุงลอนดอน กุชชี่หลงใหลความสวยงามของกระเป๋าเดินทางที่พบเห็นอยู่ทุกวัน จนในที่สุดตัดสินใจกลับไปยังบ้านเกิดที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เปิดร้านค้าและผลิตเครื่องหนังของตนเอง เมื่อกิจการตกถึงมือรุ่นลูกคือ "อัลโด กุชชี่" (Aldo Gucci) สินค้าภายใต้ชื่อ Gucci ก็มีจำหน่ายไปทั่วโลก อัลโดเป็นผู้ตัดสินใจเปิดร้านกุชชี่แห่งที่สองในกรุงโรมในช่วงทศวรรษ 1950
เมื่อกิจการตกทอดถึงรุ่นที่สาม "เปาโล กุชชี่" (Paolo Gucci) ซึ่งเป็นบุตรชายของอัลโดก็มีแนวทางธุรกิจของตนเอง เขาต้องการขยายไลน์สินค้าราคาไม่แพงนักเพื่อจับลูกค้ากลุ่มหนุ่มสาว และมีแผนเปิดร้านใหม่อีกแห่งหนึ่ง แต่แผนดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างเต็มที่จนทำให้เกิดความตึงเครียดในครอบครัวกุชชี่ เปาโลพยายามดิ้นรนจนสามารถสร้างไลน์สินค้า PG ตามชื่อของเขาได้สำเร็จ แต่เมื่ออัลโดพ่อของเขารู้ข่าว ก็ถึงกับไล่เปาโลออกจากบริษัท และสั่งห้ามซัปพลายเออร์ของกลุ่มกุชชี่ทุกรายทำธุรกิจร่วมกับเปาโล ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกถึงขั้นย่ำแย่
ต่อมา ลูกพี่ลูกน้องของเปาโลคือ "มาอุริซิโอ" (Maurizio) ได้รับช่วงมรดกกิจการครึ่งหนึ่ง มาอุริซิโอรู้สึกอึดอัดใจกับเรื่องในครอบครัว จึงตัดสินใจที่จะยึดครองกิจการไว้เสียเองทั้งหมด โดยให้บริษัทอินเวสต์คอร์ป ดำเนินการซื้อหุ้นกิจการส่วนที่เหลือจากญาติพี่น้องของเขา เปาโลเป็นคนแรกที่ยอมขายหุ้นในมือ และในที่สุดมาอุริซิโอก็ได้ฟื้นฟูภาพพจน์กิจการที่ย่ำแย่ให้คืนมา โดยมีผู้ช่วยคนสำคัญคือ "โดเมนิโก เดอ โซเล" (Domenico De Sole) ทนายความของเขา เป็นผู้รับผิดชอบดูแลกิจการ Gucci America และ "ดอน เมลโล" (Dawn Mello) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Bergdorf Goodman ถูกดึงตัวมารับผิดชอบตำแหน่ง creative director นอกจากนั้นยังได้ว่าจ้างทอม ฟอร์ด (Tom Ford) เป็น junior designer ด้วย
อย่างไรก็ตามกิจการภายใต้การบริหารของมาอุริซิโอในช่วงแรกดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างดี ในช่วงที่ Gucci ประสบการขาดทุน มาอุริซิโอได้ทุ่มเงินถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่ที่ฟลอเรนซ์ และในระหว่างปี 1991-1993 กิจการมียอดขาดทุนรวมถึงราว 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนในที่สุดอินเวสต์คอร์ปได้กดดันให้มาอุริซิโอขายหุ้นแล้วดึงโซเลให้กลับมาบริหารงานที่ฟลอเรนซ์
ปี 1994 ภาวะทางการเงินของ Gucci ย่ำแย่อย่างหนัก โซเลต้องเดินสายเจรจากับซัปพลายเออร์ให้เชื่อว่าเขาสามารถผลักดันกิจการ ให้ฟื้นคืนกำไรได้ ตอนนั้นที่สำนักงานใหญ่มีแต่คนเขียนบันทึกกล่าวโทษกันและกันจนไม่เป็นอันทำงาน โซเลเล่าว่ารายงานของบริษัทที่ปรึกษาคูเปอร์ แอนด์ ไลแบรนด์ ที่เสนอแก่อินเวสต์คอร์ป ถึงกับระบุว่ากุชชี่ เป็นองค์กรที่ไร้ขีดความสามารถ ไร้จิตวิญญาณของการทำธุรกิจ แต่โซเลบอกว่าทุกวันนี้ไม่มีใครคิดแบบนั้นอีกแล้ว
ปิโนลต์ผู้บริหารของกิจการ Pinault-Printemps-Redoute หรือ PPR เขาเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของ Gucci จำนวน 42% เมื่อปี 1999 โดยซื้อหุ้นออกใหม่จำนวนดังกล่าวไว้เป็นมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการช่วยให้ Gucci รอดพ้นจากการถูกเทกโอเวอร์ หลังจากนั้น เขาได้เข้าซื้อกิจการ Sanofi Beaute เจ้าของชื่อยี่ห้อ Yves Saint Laurant (YSL) แล้วขายให้กับ Gucci ในอีกสองวันถัดมา ส่งผลให้ Gucci กลายเป็นบริษัทที่มีชื่อยี่ห้อสินค้าหรูหลากหลาย
หลังจากกว่า 80 ปีที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในที่สุด Gucci ในศตวรรษใหม่ ภายใต้การนำของ PPR ผลประกอบการของ Gucci ดีขึ้นเรื่อยๆโดยมีเงินสดมหาศาลโดยแทบปราศจากหนี้สิน Gucci กลายเป็นแบรนด์ระดับหรูที่ผู้คนต่างหวังที่จะมีไว้ในครอบครอง สามารถยืนหยัดได้โดยไม่จะเป็นต้องโฆษณา อีกทั้งยังมีชื่อยี่ห้อชั้นนำอาทิ กิจการเครื่องเพชร Boucheron ที่ซื้อไว้ในเครือ นอกจากนั้น Gucci ยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการ Sergio Rossi, Bottega Veneta, กิจการนาฬิกา Bdat & Co. และสามารถดึงตัวอเล็กซานเดอร์ แม็คควีน (Alexander McQueen) อดีตดีไซเนอร์ฝีมือดีจาก Givenchy ผู้ออกแบบและตัดเย็บชุดแต่งงานของแคเธอริน ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ มาร่วมงานอีกด้วย
บูติกกุชชี่ในประเทศไทยมีทั้งหมดแปดแห่ง ได้แก่ เอ็มโพเรียม[1], เซ็นทรัล ชิดลม[2], เซ็นทรัล เอ็มบาสซี[3], สยามพารากอน[4] (มีบูติกสตรีและบูติกบุรุษแยกออกจากกัน), ไอคอนสยาม[5], เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า[6] ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[7] และคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ นอกจากนี้ยังเคยมีบูติกที่เพนนินซูล่าพลาซ่า[8] และศูนย์การค้าเกษร[9][10] ด้วย
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2567 กุชชีได้จัดนิทรรศการ "กุชชี วิชันส์" ที่เอ็มสเฟียร์ โดยไทยเป็นประเทศที่สามต่อจากอิตาลีและญี่ปุ่นที่ได้จัดนิทรรศการนี้[11]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.