Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เป็น การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10[1] ในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ผลเป็นชัยชนะของพรรคประชาธิปัตย์ที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ โดยได้ 72 ที่นั่งจากทั้งหมด 269 ที่นั่ง แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่ 135 ที่นั่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 47.2%[2]
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 269 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 135 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 47.5% | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่ถูกร่างขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยที่เปลี่ยนจากการเลือกเป็นเขตจังหวัด เป็นหลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และมีจำนวน ส.ส. ได้เขตละ 3 คน [3]
ชื่อพรรค | หัวหน้าพรรค[4] | จำนวน ส.ส. (คน) |
---|---|---|
พรรคประชาธิปัตย์ | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | 72 |
พรรคธรรมสังคม | ทวิช กลิ่นประทุม | 45 |
พรรคชาติไทย | พลตรีประมาณ อดิเรกสาร | 28 |
พรรคเกษตรสังคม | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ | 19 |
พรรคกิจสังคม | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | 18 |
พรรคสังคมชาตินิยม | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ | 16 |
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย | พันเอก สมคิด ศรีสังคม | 15 |
พรรคพลังใหม่ | กระแส ชนะวงศ์ | 12 |
พรรคแนวร่วมสังคมนิยม | แคล้ว นรปติ | 10 |
พรรคสันติชน | ดรงค์ สิงห์โตทอง | 8 |
พรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517) | ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | 6 |
พรรคไท | แผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | 4 |
พรรคฟื้นฟูชาติไทย | พันเอก สวัสดี ศิริโพธิ์ | 3 |
พรรคสยามใหม่ | เปรม มาลากุล ณ อยุธยา | 3 |
พรรคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2517) | ชุมพล มณีเนตร | 2 |
พรรคอธิปัตย์ | พลตำรวจโทประชา บูรณธนิต | 2 |
พรรคแผ่นดินไทย[remark 1] | สุนีรัตน์ เตลาน | 2 |
พรรคพลังประชาชน[remark 2] | บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ | 2 |
พรรคพัฒนาจังหวัด | สฤษดิ์ เพ็ญสุภา | 1 |
พรรคเสรีชน | พลเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร | 1 |
พรรคเกษตรกร (พ.ศ. 2517) | อภิรัตน์ บริบูรณ์ | 1 |
พรรคแรงงาน | เชื้อ กาฬแก้ว | 1 |
พรรคเศรษฐกร | ทิม ภูริพัฒน์ | 1 |
รวม | 269 |
หลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 โดยมติของสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียง 133 ต่อ 52 เสียง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์เป็นผู้นำรัฐบาลเสียงข้างน้อย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจด้วยคะแนนเสียง 152 ต่อ 111 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง หลังจากที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช น้องชายของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคมซึ่งมี ส.ส. 18 คนในสภาสามารถรวบรวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรได้จึงได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ด้วยคะแนนเสียง 135 ต่อ 59 เสียง งดออกเสียง 75 เสียง
แต่ความเป็นรัฐบาลต้องเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาล ที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาแบบก้ำกึ่ง ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องตัดสินใจยุบสภา เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน เสนอญัตติขอร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมเวลาที่บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปี 1 เดือน
หลังจากยุบสภามีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่คือ การเลือกตั้ง วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519[5] [6][7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.