กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2328[1] - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375[2]) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | |
---|---|
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2375 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
อุปราชาภิเษก | 13 กันยายน พ.ศ. 2367 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ |
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระราชสมภพ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2328 |
สวรรคต | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 (46 พรรษา) |
พระชายา | พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี |
พระราชบุตร | 20 พระองค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระราชมารดา | เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ในรัชกาลที่ 1 |
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรุโณทัย เมื่อทรงพระเยาว์ออกพระนามว่า พระองค์เจ้าช้าง หรือ พระองค์เจ้ากัททลีวัน เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชสมภพแต่เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) [3]
พระองค์เจ้าอรุโณทัยได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นศักดิพลเสพ ในปี พ.ศ. 2350 ทรงกำกับราชการกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2363 มีข่าวพม่าจะยกทัพเข้ามาตีไทย ทรงเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตั้งที่เมืองเพชรบุรี ทำศึกร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งยกทัพไปตั้งที่เมืองราชบุรี และกาญจนบุรี
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2367 จึงทรงอุปราชาภิเษกกรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นพระมหาอุปราชมีพระนามว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระนามว่ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ[4]
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่าวัดพระแก้ววังหน้า โดยที่พระองค์จะทรงสร้างอาคารใหญ่เป็นแบบพระมหาปราสาทมียอดสูง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห้ามไว้เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมการสร้างอาคารมีเรือนยอดปราสาทในวังหน้ามาแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (บวร หมายถึง วังหน้า, นิเวศ หมายถึง บ้านหรือวัง ความรวมจึงหมายความว่า วัดอันเป็นที่ประทับในวังหน้า นามวัดนี้รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานใหม่ให้เมื่อคราวรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่เป็นนัยว่า รัชกาลที่ 4 ทรงดำรงอยู่ในสถานะ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น
สวรรคต
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพก็ประชวรพระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็สวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 สิริพระชนมายุ 46 พรรษา 6 เดือน 14 วัน[5] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบรมศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาในปีพ.ศ. 2376 เชิญพระบรมศพแห่ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง จัดให้มีงานมหรสพ พระราชทานเพลิงเมื่อวันแรม 2 ค่ำ เดือน 5 แล้วเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐานไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล พระบรมอัฐิส่วนหนึ่งถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจรนำวัดชนะสงคราม แต่นั้นมาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ว่างลงถึง 18 ปี
หลังจากสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เดิมทรงหมายมั่นจะสถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งเป็นพระปิตุลา แต่มีผู้ถวายฎีกาอยู่เสมอว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศกระทำการกระด้างกระเดื่อง ทุจริตต่อหน้าที่ รับสินบน อีกทั้งยังมีการส้องสุมกำลังผู้คน เมื่อทรงสอบสวนแล้วเป็นจริง จึงทรงให้ถอดพระยศเป็นหม่อมไกรสร แล้วให้นำสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391
พระราชโอรสธิดา
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพมีพระราชโอรสธิดา 20 พระองค์[6] ได้แก่
- ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณ (พ.ศ. 2348-2428) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย
- พระองค์เจ้าหญิงสำอาง (พ.ศ. 2350-2412) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มใหญ่
- พระองค์เจ้าชายสว่าง (พ.ศ. 2358-2404) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
- พระองค์เจ้าหญิงอัมพร (พ.ศ. 2358-2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง
- พระองค์เจ้าหญิงสังวาล (พ.ศ. 2359-2423) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
- พระองค์เจ้าชายกำภู (พ.ศ. 2360-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคำ ทรงเป็นต้นสกุล กำภู
- พระองค์เจ้าชายกัมพล (พ.ศ. 2360-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตานี
- พระองค์เจ้าชายอุทัย (พ.ศ. 2360-2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ (พระองค์เจ้าเกสรา) (พ.ศ. 2360-2416) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2408 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล เกสรา
- พระองค์เจ้าชายเนตร (พ.ศ. 2361-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
- พระองค์เจ้าชายขจร (พ.ศ. 2363-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2363-2404) ทรงประสูติในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล อิศรศักดิ์
- พระองค์เจ้าหญิงอัมพา (พ.ศ. 2364-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ
- พระองค์เจ้าชายนุช (พ.ศ. 2364-2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง ทรงเป็นต้นสกุล อนุชะศักดิ์
- พระองค์เจ้าชายแฉ่ง (พ.ศ. 2365-2387) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
- ประสูติหลังอุปราชาภิเษก
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2367-2370) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2368) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ
- พระองค์เจ้าชายเริงคนอง (เรียกกันว่า พระองค์ชายป๊อก) (พ.ศ. 2372-2425) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ทรงเป็นต้นสกุล นันทิศักดิ์
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง (พ.ศ. 2372-2427) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทวงศ์ (พ.ศ. 2372-2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพัน
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัย
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผัง
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.