Loading AI tools
โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (อังกฤษ: Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development) เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นห้องปฏิบัติการฝึกหัดครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา Kasetsart University Laboratory School Center for Educational Research and Development | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°51′4.9″N 100°34′1.16″E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | สาธิตเกษตร / สธ.มก. / KUS |
ประเภท | โรงเรียนสาธิต |
คำขวัญ | รอบรู้ สู้ชีวิต จิตมั่นคง ดำรงคุณธรรม |
ศาสนา | พุทธ |
สถาปนา | 22 เมษายน พ.ศ. 2514 |
หน่วยงานทางการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
ผู้อำนวยการ | ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ |
ระดับชั้น | ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ไทย อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส |
สี | สีม่วง |
เพลง | เพลงสาธิต ม.ก. |
ต้นไม้ | กระพี้จั่น |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ องค์อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมที่จะดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยมี ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน มีคณาจารย์จำนวนหนึ่งซึ่งย้ายโอน มาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ มาดำเนินงานร่วมกับคณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว และรับสมัครอาจารย์ใหม่รุ่นแรกอีกส่วนหนึ่งจำนวน 37 คน ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสถานภาพเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาใน คณะศึกษาศาสตร์
อาคาร | ห้องภายในอาคาร |
---|---|
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
| |
|
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา | |||
---|---|---|---|
ลำดับที่ | นามของผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ | พ.ศ. 2514 - 2518 | ||
รองศาสตราจารย์สุภากร ราชากรกิจ | พ.ศ. 2518 - 2519 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.องค์การ อินทรัมพรรย์ | พ.ศ. 2519 - 2523 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ไกรนาม | พ.ศ. 2523 - 2524 และ พ.ศ. 2526 - 2542 | ||
รองศาสตราจารย์มัลลิกา ตัณฑนันทน์ | พ.ศ. 2524 - 2526 | ||
รองศาสตราจารย์เกื้อกูล ทาสิทธิ์ | พ.ศ. 2542 - 2549 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ | พ.ศ. 2549 - 2553 | ||
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จ่างภากร | พ.ศ. 2553 - 2561 | ||
ดร.ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ | พ.ศ. 2561- ปัจจุบัน | ||
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงการการศึกษานานาชาติ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในทุกวิชาโดยอาจารย์เจ้าของภาษาทั้งนี้กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนวิชาภาษาไทย วัฒนธรรมไทยกับอาจารย์คนไทย ร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรส่งเสริมคุณค่าความเป็นไทยร่วมกับนักเรียนหลักสูตรปกติอย่างสม่ำเสมอ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การบริหารงานและการรับนักเรียนแยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่เรียนตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลและขยายโอกาสทาง การศึกษาไปยังภาคตะวันออกของประเทศ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะภาษาต่างประเทศกับอาจารย์เจ้าของภาษา โดยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และภาษาจีนหรือญี่ปุ่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การบริหารและการรับนักเรียน แยกจากหลักสูตรปกติ สถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 80 กิโลเมตร
โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใต้กรอบของหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ แต่ปรับรายละเอียดบางส่วนให้เป็น หลักสูตรท้องถิ่นที่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของประชาคมของโรงเรียน เช่น การจัดกิจกรรมสนทนาภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และเริ่มเรียนภาษาอังกฤษในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีชั่วโมงสนทนาภาษาอังกฤษกับอาจารย์เจ้าของภาษาโดยตรงส่งเสริมให้นัก เรียนเลือกเรียนอย่างหลากหลายตามความถนัดและความสนใจพร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถและ ประสบการณ์อย่างระบบต่อเนื่องสอดคล้องกัน เช่นกิจกรรมศึกษานอกสถานที่การเชิญวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกวดแข่งขันทางวิชาการในกลุ่มสามารถการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การจัดนิทรรศการ ฯลฯ
นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาต่าง ๆ แล้วโรงเรียนยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ตามบริบทของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานักเรียนด้วยการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษา
ด้วยนโยบายของโรงเรียนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น นอกจากจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ปกติทั่วไปแล้ว โรงเรียนยังคำนึงถึงนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษให้มีโอกาสได้พัฒนาเต็มตาม ศักยภาพโรงเรียนจึงได้จัดหลักสูตรการศึกษาพิเศษแก่นักเรียนที่มีภาวะสมาธิ สั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ภาวะออทิซึม
นอกจากการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน และการฝึกปฏิบัติงานครูแก่นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ แล้ว โรงเรียนยังได้จัด โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันภายในประเทศหลายโครงการ เช่นโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดแพร่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสกลนคร ฯลฯ ตลอดจนการให้บริการการฝึกอบรมและการศึกษาดูงาน แก่ผู้มาเยี่ยมชม จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการจัดวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แก่หน่วยงานต่างๆ
นอกจากนี้โรงเรียนยังจัดการศึกษาที่สนองต่อนโยบายของรัฐ ที่มุ่งสู่ความเป็นสากลใน ยุคโลกาภิวัตน์ด้วยการขยายโอกาสในการพัฒนาความสามารถของเด็กไทย เพื่อใช้ภาษาต่างประเทศให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตตามความเหมาะสม กับโรงเรียน คือการจัดการศึกษาโครงการการศึกษานาชาติ และโครงการการศึกษาพหุภาษา
1 แชร์บาส ชนิดกีฬาใหม่ที่ผสมผสานระหว่างกีฬาแชร์บอลและบาสเกตบอล ประมาณปีการศึกษา 2519 ซึ่งเป็นโรงเรียนแรกที่คิดค้น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและจัดกีฬาสี ให้มีความเหมาะสมกับชั้นประถมศึกษา
2 มหกรรมมินิรักบี้นานาชาติ เป็นโรงเรียนแรกๆ ที่จัดรักบี้ รุ่นอายุตั้งแต่ 6-13 ปี มีการเชิญชาติใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น ศรีลังกา เป็นต้น และโรงเรียนในกรุงเทพ ปริมณฑล โรงเรียนนานาชาติในประเทศ มาร่วมแข่งขัน และเป็นโรงเรียนแรกที่มอบเหรียญทองที่ระลึกให้กับนักกีฬาทุกทีมและทุกคน ในการเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 จนถึงปัจจุบัน
3 รักบี้ยุวชนและเยาวชน รุ่น 14,16 และ 18 ปี เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งและแห่งแรกที่ช่วยสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดแข่งขันรักบี้ฟุตบอล รุ่นอายุดังกล่าว มาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2536 ใช้สนามฟุตบอลและรักบี้ของโรงเรียนเป็นสถานที่จัดแข่งขัน
4 งานพัฒนากีฬา มีลักษณะโครงสร้างและระบบงานที่ช่วยให้การดำเนินงานกีฬามีความคล่องตัวในการทำงาน ประกอบด้วย ประธานงานพัฒนากีฬา คณะกรรมการ ผู้จัดการทีม สวัสดิการทีม อย่างน้อยกีฬา ๑๘ ชนิด มีการดำเนินงานคือ หานักกีฬา ฝึกซ้อม ประลอง แข่งขัน และมอบเกียรติยศ ความภาคภูมิใจ ให้นักกีฬาตามคุณสมบัติของผลงานที่กำหนด
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้รับ บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เข้าศึกษาที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก โดยรับจากบุคคลที่ได้รับการประเมินจาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในขณะนั้น ได้แก่ ศาสตราจารย์ เพ็ญแข ลิ่มศิลา ซึ่งทั้งหมดใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนในการร่วมชั้นเรียน และทำการเรียนการสอนจนนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นรุ่นแรก ใน เดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม จบการศึกษาพร้อมเพื่อนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา รุ่นที่ 27
ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนให้บุคคลที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม เป็นรุ่นที่ 30 ตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา มีนักเรียนส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเรียนจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บางรายแม้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก แต่ก็เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ
บุตร และ บุตรี ที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม ของบุคคลที่มีชื่อเสียงได้เข้าเรียนที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา อาทิ บุตร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บุตรี ทนง พิทยะ
ยกเว้น คุณ พุ่ม เจนเซน ที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนได้ จึงจัดโปรแกรมให้เรียนในชั้นเรียนที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดย คุณ พุ่ม เจนเซน ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.