เขตดุสิต
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เขตดุสิต | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Dusit |
คำขวัญ: เขตพระราชฐาน ตระการตาหมู่พระตำหนัก ศักดิ์สิทธิ์พระปิยะฯ วัดเบญจะเลื่องลือนาม สง่างามรัฐสภา ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบฯ เพียบพร้อมสิ่งสำคัญ ดุจสวรรค์ชั้นดุสิต | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดุสิต | |
พิกัด: 13°46′37″N 100°31′14″E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10.665 ตร.กม. (4.118 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 75,814[1] คน |
• ความหนาแน่น | 7,108.67 คน/ตร.กม. (18,411.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10300 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1002 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 317 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
เว็บไซต์ | www |
เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย
ใน พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไทของอำเภอดุสิต ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ใน พ.ศ. 2509
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง
ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532[2]
เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข | อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) | ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ดุสิต | Dusit | 2.233 | 9,792 | 4,385.13 | |
2. | วชิรพยาบาล | Wachiraphayaban | 1.074 | 8,844 | 8,234.64 | |
3. | สวนจิตรลดา | Suan Chit Lada | 1.737 | 5,917 | 3,406.45 | |
4. | สี่แยกมหานาค | Si Yaek Maha Nak | 0.339 | 6,720 | 19,823.01 | |
6. | ถนนนครไชยศรี | Thanon Nakhon Chai Si | 5.282 | 44,541 | 8,432.60 | |
ทั้งหมด | 10.665 | 75,814 | 7,108.67 |
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางซื่อ
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดุสิต[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 181,294 | ไม่ทราบ |
2536 | 172,890 | -8,404 |
2537 | 171,306 | -1,584 |
2538 | 166,617 | -4,689 |
2539 | 163,572 | -3,045 |
2540 | 161,995 | -1,577 |
2541 | 160,243 | -1,752 |
2542 | 157,331 | -2,912 |
2543 | 155,744 | -1,587 |
2544 | 152,872 | -2,872 |
2545 | 151,511 | -1,361 |
2546 | 150,365 | -1,146 |
2547 | 123,040 | -27,325 |
2548 | 121,336 | -1,704 |
2549 | 119,927 | -1,409 |
2550 | 117,867 | -2,060 |
2551 | 116,742 | -1,125 |
2552 | 114,488 | -2,254 |
2553 | 111,496 | -2,992 |
2554 | 108,815 | -2,681 |
2555 | 107,969 | -846 |
2556 | 106,811 | -1,158 |
2557 | 104,394 | -2,417 |
2558 | 101,576 | -2,818 |
2559 | 98,450 | -3,126 |
2560 | 95,852 | -2,598 |
2561 | 94,854 | -998 |
2562 | 89,769 | -5,085 |
2563 | 83,897 | -5,872 |
2564 | 81,494 | -2,403 |
2565 | 78,602 | -2,892 |
2566 | 75,814 | -2,788 |
ถนน
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ
รถไฟ
ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร
ซึ่งพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ปัจจุบันเป็นที่ประทับประจำของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.