Remove ads

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: The Secretariat of the Prime Minister) เป็นส่วนราชการ ระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มี ภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการเมือง ด้านวิชาการ ด้านเลขานุการ ตลอดจนการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองในสำนักเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล[3]

ข้อมูลเบื้องต้น ภาพรวมสำนัก, ก่อตั้ง ...
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
The Secretariat of the Prime Minister
Thumb
ตราประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ภาพรวมสำนัก
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2476; 91 ปีก่อน (2476-12-09)
สำนักก่อนหน้า
  • สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2487)
  • สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2502)
  • สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2517)
  • สำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2511)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจนายกรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
บุคลากร673 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี7,207,600,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนัก
ต้นสังกัดสำนักสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปิด
Remove ads

ประวัติ

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] ก่อตั้งนับตั้งแต่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎรได้มีประกาศประธานคณะกรรมการราษฎรเพื่อยุบเลิกกรม ราชเลขาธิการและได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธรรมนูญราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2476 ก่อตั้งสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นในกระทรวงต่างๆ เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะงานทางการเมืองภารกิจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีส่วนราชการในสังกัดเพียง 2 แผนก คือ แผนกการเมือง และแผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น (ปัจจุบัน คือ กองประสานงานการเมือง และกองงานนายกรัฐมนตรี ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) และต่อมาได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้มีการแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการนายกรัฐมนตรีออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี แต่ในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ยุบรวมสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี เข้ารวมกับสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน

Remove ads

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ[5] ปัจจุบันมีพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มีจำนวนเท่ากับจำนวนรองนายกรัฐมนตรี บวกสาม[6]

Remove ads

ผู้บริหารในปัจจุบัน

ลำดับชื่อตำแหน่งหมายเหตุ
1พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดชเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
2ชนิดา เกษมศุขรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
3ชยันต์ เมืองสง[7]รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
4ว่างรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
5สมคิด เชื้อคงรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
6ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวชรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
7ธีราภา ไพโรหกุลรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
8ธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุลรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(ภูมิธรรม เวชยชัย)
9ศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
10รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(อนุทิน ชาญวีรกูล)
11ชื่นชอบ คงอุดมรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
12พงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พิชัย ชุณหวชิร)
13ฉัตริน จันทร์หอมรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(ประเสริฐ จันทรรวงทอง)
14รัตนา สามารถผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
15เบญจภา ศรีสุรัตน์ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
Remove ads

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานเลขาธิการ
  • กองงานนายกรัฐมนตรี
  • กองพิธีการ
  • สำนักโฆษก
  • กองประสานงานการเมือง
  • กองประสานนโยบายและยุทธศาสตร์
  • กองการต่างประเทศ
  • กองสถานที่ ยานพาหนะ และรักษาความปลอดภัย
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
Remove ads

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads