สถานีรถไฟกันตัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟกันตัง เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 850.08 กิโลเมตร โดยกันตังเป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ใช้สัญญาณแบบหลักเขตสถานี ตัวย่อของสถานีคือ กต.
สถานีรถไฟกันตัง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตัวอาคารสถานีก่อนการปรับปรุง | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง | ||||||||||||||||
พิกัด | 7.4111°N 99.5148°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||
สาย | สายใต้ – สายกันตัง | ||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 3 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 4294 (กต.) | ||||||||||||||||
ประเภท | ชั้น 3 | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | เมษายน พ.ศ. 2456 | ||||||||||||||||
ชื่อเดิม | ตรัง | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สถานีรถไฟกันตัง | ||||||||||||||||
ขึ้นเมื่อ | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | ||||||||||||||||
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในจังหวัดตรัง | ||||||||||||||||
เลขอ้างอิง | 0005180 | ||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตรจนถึงท่าเทียบเรือกันตัง
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ส่วนตัวอาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหากโดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร
ภายในสถานียังมีของใช้ในอดีตคงเหลืออยู่ โดยภาพรวมแล้ว สถานียังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2539
ขบวนรถ | ต้นทาง | กันตัง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ร167 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.30 | ปลายทาง | กันตัง | 11.25 | ||
ร168 | กันตัง | 14.15 | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.