ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (อังกฤษ: UEFA Super Cup; ชื่อเดิม: ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ อังกฤษ: European Super Cup) [1] เป็นเกมการแข่งขันฟุตบอลสโมสรของทวีปยุโรป ในเดือนสิงหาคม ก่อนหน้าที่ฟุตบอลสโมสรยุโรปฤดูกาลใหม่จะเริ่มต้นขึ้น โดยจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหรือยูโรเปียนคัพเดิม กับทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกหรือยูฟ่าคัพเดิม (เมื่อก่อนจะเป็นทีมชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ แต่เมื่อถ้วยยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1999 จึงให้สิทธิ์นี้แก่ทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกแทน) ในฤดูกาลก่อนหน้านั้น ทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของรายการนี้คือเอซี มิลานจากอิตาลี และบาร์เซโลนาจากสเปน ที่เป็นผู้ชนะเลิศถึง 5 สมัย

ข้อมูลเบื้องต้น ก่อตั้ง, ภูมิภาค ...
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ
Thumb
ก่อตั้งค.ศ. 1972
(ในชื่อ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ)
ค.ศ. 1995
(ในชื่อ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ)
ภูมิภาคยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม2
ทีมชนะเลิศปัจจุบันสเปน เรอัลมาดริด
(สมัยที่ 6)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดสเปน เรอัลมาดริด
(6 สมัย)
เว็บไซต์www.uefa.com/uefasupercup/index.html
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2024
ปิด

ประวัติ

ยูฟ่าซูเปอร์คัพ หรือยูโรเปียนซูเปอร์คัพ เริ่มทำการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 ผู้ริเริ่มคือ แอนตั้น วิทแคมป์ นักข่าวและผู้อำนวยการด้านกีฬาของหนังสือพิมพ์เดอ เทเลกราฟ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ความคิดนี้เริ่มขึ้นเมื่อดัตช์โททัลฟุตบอลกำลังเป็นที่นิยมมากในยุโรป และกำลังอยู่ในยุคทองของสโมสรจากเนเธอร์แลนด์ โดยวิทแคมป์เสนอให้นำเอาทีมชนะเลิศยูโรเปียนคัพ มาพบกับทีมชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ [2]

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม การแข่งขันรายการใหม่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ความคิดที่จะเห็นการแข่งขันรายการนี้ เป็นการแข่งขันแบบเป็นทางการของวิทแคมป์ ได้ถูกปฏิเสธโดยประธานของยูฟ่า

แต่ถึงกระนั้น ถ้วยใบนี้ก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าจัดการแข่งขันต่อไป โดยเป็นการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน สนับสนุนการเงินโดยหนังสือพิมพ์เดอ เทเลกราฟนั่นเอง ซึ่งอายักซ์ เอาชนะเรนเจอร์ส คว้าแชมป์สมัยแรกมาครองได้สำเร็จ หลังจากนั้น การแข่งขันรายการนี้จึงได้รับการรับรองจากยูฟ่า

แม้ว่าระบบการแข่งขันแบบเหย้า-เยือนจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ในบางปี ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ ก็ต้องทำการแข่งขันแบบนัดเดียว ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับตารางเวลาในการแข่งขันและเหตุผลทางด้านการเมือง และในปี ค.ศ. 1974, 1981 และ 1985 ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ ไม่มีการแข่งขัน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา ยูโรเปียนซูเปอร์คัพได้ทำการแข่งขันแบบนัดเดียวรู้ผล ที่สนามสต๊าด หลุยส์ เดอซ์ ในโมนาโก

เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1998-99 ยูฟ่าได้ยกเลิกการแข่งขันรายการยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ยูโรเปียนซูเปอร์คัพจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (หรือยูโรเปียนคัพเดิม) กับทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก (หรือยูฟ่าคัพเดิม)

ถ้วยรางวัลเปลี่ยนแปลง

ถ้วยรางวัลของยูฟ่าซูเปอร์คัพ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก ถ้วยใบแรกที่มอบให้กับอายักซ์นั้น มีขนาดใหญ่กว่าถ้วยของยูโรเปียนคัพถ้วยรางวัลรุ่นต่อมามีลักษณะเล็กที่สุดในบรรดาถ้วยรางวัลของฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยมีน้ำหนักเพียง 5 ก.ก. และสูง 42.5 ซ.ม. (ถ้วยรางวัลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก หนัก 8 ก.ก. และถ้วยรางวัลของยูฟ่าคัพ หนัก 15 ก.ก.) และในปัจจุบัน ถ้วยรางวัลใหม่ของยูฟ่าซูเปอร์คัพ มีน้ำหนักอยู่ที่ 12.2 ก.ก.

เช่นเดียวกับถ้วยรางวัลอื่น ๆ ของยูฟ่า สโมสรที่ชนะเลิศ 3 สมัยซ้อนหรือชนะเลิศครบ 5 สมัย จะได้รับถ้วยรางวัลยูฟ่าซูเปอร์คัพ ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของสโมสรนั้นโดยถาวร เช่นเดียวกับมิลาน ที่ได้ไปเมื่อปี 2007

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

รอบชิงชนะเลิศ (นัดเดียว)

ข้อมูลเพิ่มเติม ฤดูกาล, ทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ...
ฤดูกาล ทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ผลประตู ทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก สนาม
2024 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 อิตาลี อาตาลันตา สนามกีฬาแห่งชาติ,
วอร์ซอ โปแลนด์
2023 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 – 1
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
สเปน เซบิยา สนามกีฬาคาไรสคาคิส,
ไพรีอัส กรีซ
2022 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท สนามกีฬาโอลิมปิกเฮลซิงกิ,
เฮลซิงกิ ฟินแลนด์
2021 อังกฤษ เชลซี 1 – 1
(ชนะดวลจุดโทษ 6–5)
สเปน บิยาร์เรอัล วินด์เซอร์พาร์ก,
เบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ
2020 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา ปุชกาชออเรนอ,
บูดาเปสต์ ฮังการี
2019 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 2 – 2
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
อังกฤษ เชลซี โวดาโฟน พาร์ค,
อิสตันบูล ตุรกี
2018 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 4
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด อ. เลอ ค็อค อาเรนา,
ทาลลินน์ เอสโตเนีย
2017 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฟิลิป ทู อาเรนา,
สโกเปีย มาซิโดเนียเหนือ
2016 สเปน เรอัลมาดริด 3 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา แลร์คันดัลสตาดีโอน,
ทรอนด์เฮม นอร์เวย์
2015 สเปน บาร์เซโลนา 5 – 4
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา บอริส ไพแชดซ์ ดีนาโม อาเรนา,
ทบิลีซี ประเทศจอร์เจีย
2014 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 สเปน เซบิยา คาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม,
คาร์ดิฟฟ์ เวลส์
2013 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 2
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
อังกฤษ เชลซี ซิโนโบสเตเดียม,
ปราก เช็กเกีย
2012 อังกฤษ เชลซี 1 – 4 สเปน อัตเลติโกเดมาดริด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2011 สเปน บาร์เซโลนา 2 – 0 โปรตุเกส โปร์ตู สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2010 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 0 – 2 สเปน อัตเลติโกเดมาดริด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2009 สเปน บาร์เซโลนา 1 – 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2008 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 – 2 รัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2007 อิตาลี มิลาน 3 – 1 สเปน เซบิยา สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2006 สเปน บาร์เซโลนา 0 – 3 สเปน เซบิยา สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2005 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 – 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
รัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2004 โปรตุเกส โปร์ตู 1 – 2 สเปน บาเลนเซีย สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2003 อิตาลี มิลาน 1 – 0 โปรตุเกส โปร์ตู สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2002 สเปน เรอัลมาดริด 3 – 1 เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2001 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 3 อังกฤษ ลิเวอร์พูล สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2000 สเปน เรอัลมาดริด 1 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
ตุรกี กาลาทาซาไร สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
ฤดูกาล ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ผลคะแนน ชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ สนาม
1999 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0 – 1 อิตาลี ลาซิโอ สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
1998 สเปน เรอัลมาดริด 0 – 1 อังกฤษ เชลซี สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
ปิด

รอบชิงชนะเลิศ (สองนัดเหย้า-เยือน)

ข้อมูลเพิ่มเติม ฤดูกาล, ทีมเหย้า ...
ฤดูกาล ทีมเหย้า ผลคะแนน ทีมเยือน สนาม
1997 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 2 – 0 เยอรมนี ดอร์ทมุนท์ (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
เยอรมนี ดอร์ทมุนท์ 1 – 1 สเปน บาร์เซโลนา ซิกนัล อีดูน่า ปาร์ค,
ดอร์ทมุนท์ เยอรมนี
รวมผลสองนัด บาร์เซโลนา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1996 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (C2) 1 – 6 อิตาลี ยูเวนตุส (C1) ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส ฝรั่งเศส
อิตาลี ยูเวนตุส 3 – 1 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง สตาดิโอ้ ลา ฟาวอริต้า,
ปาแลร์โม่ อิตาลี
รวมผลสองนัด ยูเวนตุส คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 9-2
1995 สเปน เรอัลซาราโกซา (C2) 1 – 1 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ลา โรมาเรด้า,
ซาราโกซา สเปน
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 4 – 0 สเปน เรอัลซาราโกซา สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-1
1994 อังกฤษ อาร์เซนอล (C2) 0 – 0 อิตาลี มิลาน (C1) ไฮก์บิวรี่,
ลอนดอน อังกฤษ
อิตาลี มิลาน 2 – 0 อังกฤษ อาร์เซนอล ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1993 อิตาลี ปาร์มา (C2) 0 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) เอ็นนิโอ้ ตาร์ดินี่,
ปาร์มา อิตาลี
อิตาลี มิลาน 0 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
อิตาลี ปาร์มา ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด ปาร์มา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
หมายเหตุ: ทีมชนะเลิศ มาร์แซย์ โดนตัดสิทธิ์ จากกรณีล้มบอลภายในประเทศ มิลาน รองชนะเลิศ จึงได้สิทธิ์แข่งแทน
1992 เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน (C2) 1 – 1 สเปน บาร์เซโลนา (C1) เวเซอร์ สตาดิโอน,
เบรเมน เยอรมนี
สเปน บาร์เซโลนา 2 – 1 เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
รวมผลสองนัด บาร์เซโลนา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-2
1991 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (C2) 1 – 0 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์ เบลเกรด (C1) โอลด์แทรฟฟอร์ด,
แมนเชสเตอร์ อังกฤษ
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะไม่สามารถแข่งขันนัดที่สองได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองในยูโกสลาเวีย แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คว้าแชมป์
1990 อิตาลี ซามพ์โดเรีย (C2) 1 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) ลุยจิ แฟร์ราริส,
เจนัว อิตาลี
อิตาลี มิลาน 2 – 0 อิตาลี ซามพ์โดเรีย ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1989 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 1 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
อิตาลี มิลาน 1 – 0 สเปน บาร์เซโลนา ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1988 เบลเยียม เมเชเลน (C2) 3 – 0 เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น (C1) อาคเตอร์ เดอ คาเซอร์เน่,
เมเชเลน เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น 1 – 0 เบลเยียม เมเชเลน ฟิลิปส์ สตาดิโอน,
ไอนด์โฮเฟิน เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด เมเชเลน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1987 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C2) 0 – 1 โปรตุเกส โปร์ตู (C1) เดอ เมียร์ สเตเดี้ยม,
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
โปรตุเกส โปร์ตู 1 – 0 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ เอสตาดิโอ้ ดาส อันตาส,
โปร์ตู โปรตุเกส
รวมผลสองนัด โปร์ตู คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1986 โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี (C1) 1 – 0 ยูเครน ดีนาโมคียิว (C2) สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะไม่สามารถแข่งขันนัดที่สองได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองในสหภาพโซเวียต สเตอัวบูคูเรสตี คว้าแชมป์
1985 ไม่มีการแข่งขัน
อิตาลี ยูเวนตุส (C1) กับ อังกฤษ เอฟเวอร์ตัน (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากโศกนาฏกรรมอัฒจรรย์ถล่ม ในนัดชิงยูโรเปียนคัพระหว่าง ยูเวนตุส กับ ลิเวอร์พูล ที่เฮย์เซล สเตเดี้ยม
1984 อิตาลี ยูเวนตุส (C2) 2 – 0 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) โอลิมปิค สเตเดี้ยม,
ตูริน อิตาลี
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะลิเวอร์พูลไม่สามารถหาวันแข่งขันในนัดที่สองได้ ยูเวนตุส คว้าแชมป์
1983 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค (C1) 0 – 0 สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน (C2) โฟล์คสปาร์ค สตาดิโอน,
ฮัมบวร์ค เยอรมนี
สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน 2 – 0 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค ปิตโตดรี้ สเตเดี้ยม,
อเบอร์ดีน สกอตแลนด์
รวมผลสองนัด อเบอร์ดีน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1982 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 1 – 0 อังกฤษ แอสตันวิลลา (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
อังกฤษ แอสตันวิลลา 3 – 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน บาร์เซโลนา วิลลา ปาร์ค,
เบอร์มิงแฮม อังกฤษ
รวมผลสองนัด แอสตันวิลลา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1981 ไม่มีการแข่งขัน
อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) กับ ประเทศจอร์เจีย ดินาโม ทบิลิซี่ (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากลิเวอร์พูล ไม่สามารถหาวันแข่งขันกับดินาโม ทบิลิซี่ได้
1980 อังกฤษ ฟอเรสต์ (C1) 2 – 1 สเปน บาเลนเซีย (C2) ซิตี้ กราวน์,
น็อตติงแฮม อังกฤษ
สเปน บาเลนเซีย 1 – 0 อังกฤษ ฟอเรสต์ หลุยส์ คาซาโนบ้า สเตเดี้ยม,
บาเลนเซีย สเปน
รวมผลสองนัด บาเลนเซีย คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-2 (กฎประตูทีมเยือน)
1979 อังกฤษ ฟอเรสต์ (C1) 1 – 0 สเปน บาร์เซโลนา (C2) ซิตี้ กราวน์,
น็อตติงแฮม อังกฤษ
สเปน บาร์เซโลนา 1 – 1 อังกฤษ ฟอเรสต์ กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
รวมผลสองนัด ฟอเรสต์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1978 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ (C2) 3 – 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) ปาร์ค อัสไทรด์,
บรัสเซลส์ เบลเยียม
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 2 – 1 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ แอนฟิลด์,
ลิเวอร์พูล อังกฤษ
รวมผลสองนัด อันเดอร์เลชท์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4-3
1977 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค (C2) 1 – 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) โฟล์คสปาร์ค สตาดิโอน,
ฮัมบวร์ค เยอรมนี
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 6 – 0 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค แอนฟิลด์,
ลิเวอร์พูล อังกฤษ
รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 7-1
1976 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก (C1) 2 – 1 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ (C2) โอลิมเปีย สตาดิโอน,
มิวนิก เยอรมนี
เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ 4 – 1 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก ปาร์ค อัสไทรด์,
บรัสเซลส์ เบลเยียม
รวมผลสองนัด อันเดอร์เลชท์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-3
1975 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก (C1) 0 – 1 ยูเครน ดีนาโมคียิว (C2) โอลิมปิค สเตเดียม มิวนิก,
มิวนิก เยอรมนี
ยูเครน ดีนาโมคียิว 2 – 0 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก รีพับลิกัน สเตเดี้ยม,
เคียฟ ยูเครน
รวมผลสองนัด ดีนาโมคียิว คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-0
1974 ไม่มีการแข่งขัน
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก (C1) กับ เยอรมนี มักเดบวร์ก (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง ระหว่างเยอรมันตะวันตก กับเยอรมันตะวันออก
1973 อิตาลี มิลาน (C2) 1 – 0 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 6 – 0 อิตาลี มิลาน สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 6-1
1972 สกอตแลนด์ เรนเจอร์ส (C2) 1 – 3 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ไอบร็อกซ์ ปาร์ค,
กลาสโกว์ สกอตแลนด์
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 3 – 2 สกอตแลนด์ เรนเจอร์ส เดอ เมียร์ สเตเดี้ยม,
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 6-3
ปิด

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ

ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)

ข้อมูลเพิ่มเติม สโมสร, ชนะเลิศ ...
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
สเปน เรอัลมาดริด632002, 2014, 2016, 2017, 2022, 20241998, 2000, 2018
สเปน บาร์เซโลนา541992, 1997, 2009, 2011, 20151979, 1982, 1989, 2006
อิตาลี มิลาน521989, 1990, 1994, 2003, 20071973, 1993
อังกฤษ ลิเวอร์พูล421977, 2001, 2005, 20191978, 1984
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด302010, 2012, 2018
อังกฤษ เชลซี231998, 20212012, 2013, 2019
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก232013, 20201975, 1976, 2001
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์211973, 19951987
เบลเยียม อันเดอร์เลชท์201976, 1978
สเปน บาเลนเซีย201980, 2004
อิตาลี ยูเวนตุส201984, 1996
สเปน เซบิยา1520062007, 2014, 2015, 2016, 2020
โปรตุเกส โปร์ตู1319872003, 2004, 2011
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด1319911999, 2008, 2017
ยูเครน ดีนาโมคียิว1119751986
อังกฤษ นอตทิงแฮมฟอเรสต์1119791980
อังกฤษ แอสตันวิลลา101982
สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน101983
โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี101986
เบลเยียม เมเชเลน101988
อิตาลี ปาร์มา101993
อิตาลี ลาซิโอ101999
ตุรกี กาลาทาซาไร102000
รัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก102008
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี102023
เยอรมนี ฮัมบวร์ค021977, 1983
สกอตแลนด์ เรนเจอส์011972
เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น011988
อิตาลี ซามพ์โดเรีย011990
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์ เบลเกรด 011991
เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน011992
อังกฤษ อาร์เซนอล011994
สเปน เรอัลซาราโกซา011995
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง011996
เยอรมนี ดอร์ทมุนท์011997
เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด012002
รัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก012005
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์012009
อิตาลี อินเตอร์มิลาน012010
สเปน บิยาร์เรอัล012021
เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท01 2022
อิตาลี อาตาลันตา01 2024
ปิด

ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)

ข้อมูลเพิ่มเติม ประเทศ, ชนะเลิศ ...
ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ จำนวน
ธงของประเทศสเปน สเปน 17 15 32
 อังกฤษ 10 10 20
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 9 5 14
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 3 0 3
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 2 8 10
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 2 3 5
ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส 1 3 4
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 1 1 2
 สหภาพโซเวียต 1 1 2
 โรมาเนีย 1 0 1
 สกอตแลนด์ 1 0 1
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 1 0 1
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 0 1 1
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 0 1 1
ยูโกสลาเวีย 0 1 1
รวม484896
ปิด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.