Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ (4 ธันวาคม 2454 – 19 มกราคม 2527) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมรสกับคุณหญิง น้อย รุจิรวงศ์
ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2506 – 1 ตุลาคม 2515 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร (รักษาราชการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม 2512 – 14 ตุลาคม 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) |
ถัดไป | อุดม โปษะกฤษณะ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม 2506 – 7 มีนาคม 2512 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ทวี แรงขำ | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน 2511 – 8 มีนาคม 2512 | |
ก่อนหน้า | สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
ถัดไป | บัวเรศ คำทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 มกราคม พ.ศ. 2527 (72 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง น้อย รุจิรวงศ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก[1] พลตำรวจเอก[2] |
พล.ต.อ. ประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2470 และได้รับปริญญาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2504 เริ่มต้นรับราชการในปี พ.ศ. 2491 ในตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร และได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[3]
ในปี พ.ศ. 2495 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ผู้บังคับกองพลน้อยทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2500 [4] และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2500 [5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้รักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ในปี พ.ศ. 2502 โดยได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2503 และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2506
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอธิการบดีลำดับที่ 3
ในการรัฐประหารรัฐบาลตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร ได้มีการแต่งตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติเพื่อปกครองประเทศซึ่งมีจอมพลถนอม เป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุขด้วย[6] ซึ่งการแต่งตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งชนวนเหตุของเหตุการณ์ 14 ตุลา
พลตำรวจเอก ประเสริฐ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในหน้าที่ราชการ การเมือง อาทิ
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.