Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงสายเอเชีย (อังกฤษ: Asian Highway) หรือย่อเป็น AH เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สหประชาชาติ เพื่อปรับปรุงระบบทางหลวงในเอเชีย เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบกของทวีปเอเชีย อนุมัติโดยคณะกรรมการเอสแคป ในการประชุมครั้งที่ 48 ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งประกอบไปด้วย ถนนสายเอเชีย รถไฟสายทรานส์เอเชีย (TAR) และการอำนวยความสะดวกของโครงการการขนส่งทางบก ประเทศไทยรับผิดชอบจำนวน 12 สายทาง มีระยะทาง 6,731 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี 2540 [1]
ข้อตกลงได้รับการลงนามโดยประเทศต่าง ๆ รวม 32 ประเทศ เพื่อให้ทางหลวงมีเส้นทางเชื่อมต่อกันข้ามทวีป รวมถึงเชื่อมต่อกับทวีปยุโรปอีกด้วย บางประเทศมีส่วนร่วมในโครงการทางหลวง ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และบังกลาเทศ[2] ส่วนใหญ่ของเงินทุนมาจากประเทศในเอเชียที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย
โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการใช้งานของทางหลวงที่มีอยู่ในทวีป แทนที่จะก่อสร้างทางหลวงสายใหม่ ยกเว้นในกรณีที่เส้นทางขาดหายไปในโครงข่าย ทำให้จำเป็นต้องมีการดำเนินการก่อสร้าง โดยในปัจจุบัน ทางหลวงสายเอเชียที่สร้างเสร็จและใช้การได้แล้วมีประมาณร้อยละ 80 ส่วนเส้นทางที่ยังใช้ไม่ได้ เช่น เส้นทางจากไทยผ่านพม่า และจากบังกลาเทศผ่านเนปาล ถ้าหากเส้นทางสายเอเชียสำเร็จเรียบร้อยตามโครงการที่เอสแคปได้วางไว้ ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ก็จะสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านประเทศในเอเชีย และสามารถเข้าถึงประเทศในทวีปยุโรปได้
รหัสหมายเลขทางหลวงขึ้นต้นด้วย "AH" มาจากคำว่า "ทางหลวงสายเอเชีย" และตามด้วยตัวเลขหนึ่งถึงสามตัว[3] ทางหลวงหมายเลขหนึ่งตัวตั้งแต่ 1 ถึง 9 กำหนดใช้ในทางหลวงเอเชียสายหลัก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคในทวีป[3] หมายเลขสองและสามหลักกำหนดใช้ในเส้นทางภายในภูมิภาค รวมทั้งเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคที่ใกล้เคียง และทางหลวงที่มีอยู่ในประเทศสมาชิก[3] รหัสหมายเลขจะแสดงด้วยอักษรละตินและตัวเลขฮินดู-อารบิก และสามารถใช้ป้ายนี้ควบคู่กับป้ายหมายเลขทางหลวงที่มีอยู่แล้วในประเทศ เหมือนกับระบบทางหลวงยุโรป[3]
รูปแบบป้ายในปัจจุบันยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน มีเพียงแต่ตัวอักษรและตัวเลขที่อยู่ในสีขาวหรือสีดำ แต่สีป้าย รูปร่าง และขนาดของป้ายมีหลากหลายลักษณะ ดังตัวอย่างที่ใช้กันทั่วไปจะใช้ป้ายสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินกับตัวอักษรสีขาว (คล้ายกันกับป้ายทางหลวงออโตบาห์นของเยอรมนี) ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เช่น ตัวอักษรขาวบนป้ายสีเขียว หรือตัวอักษรดำบนป้ายสีขาว[2][4][3]
ทางหลวงเอเชียสายหลักที่มีเส้นทางข้ามทั้งทวีป กำหนดให้ใช้เลขหลักเดียว
หมายเลข | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|---|
AH1 | 20,557 | โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | Kapıkule ประเทศตุรกี (พรมแดนตุรกี–บัลแกเรีย) |
AH2 | 13,177 | เดนปาซาร์ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย | โคสราวี, ประเทศอิหร่าน |
AH3 | 7,331 | อูลัน-อูเด ประเทศรัสเซีย | ถังกู ประเทศจีน |
เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน | เชียงราย ประเทศไทย และเชียงตุง ประเทศพม่า | ||
AH4 | 6,024 | โนโวซีบีสค์ ประเทศรัสเซีย | การาจี ประเทศปากีสถาน |
AH5 | 10,380 | เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน | Kapıkule ประเทศตุรกี (พรมแดนตุรกี–บัลแกเรีย) |
AH6 | 10,475 | ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ | Krasnoye ประเทศรัสเซีย (พรมแดนรัสเซีย–เบลารุส) |
AH7 | 5,868 | เยคาเตรินบุร์ก ประเทศรัสเซีย | การาจี ประเทศปากีสถาน |
AH8 | 4,718 | Torfyanovka ประเทศรัสเซีย (พรมแดนรัสเซีย–ฟินแลนด์) | Bandar-e Emam Khomeyni ประเทศอิหร่าน |
ทางหลวงสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 10-29 รวมทั้งหมายเลขสามหลัก 100-299 ซึ่งเป็นโครงข่ายทางหลวงอาเซียน กำหนดขึ้นเพิ่มเติมโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5][6]
ทางหลวงสายเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดให้ใช้หมายเลข 30-39 และ 300-399
หมายเลข | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|---|
AH30 | 2,739 | Ussuriysk ประเทศรัสเซีย | Chita ประเทศรัสเซีย |
AH31 | 1,595 | Belogorsk ประเทศรัสเซีย | ต้าเหลียน ประเทศจีน |
AH32 | 3,748 | Sonbong ประเทศเกาหลีเหนือ | Khovd, ประเทศมองโกเลีย |
AH33 | 575 | ฮาร์บิน ประเทศจีน | Tongjiang ประเทศจีน |
AH34 | 1,033 | Lianyungang ประเทศจีน | ซีอาน ประเทศจีน |
AH368 | เกาะเช็คแลปก๊ก ฮ่องกง | Sha Tin ฮ่องกง[ต้องการอ้างอิง] | |
AH374 | กว่างโจว ประเทศจีน | Kennedy Town ฮ่องกง[ต้องการอ้างอิง] |
ทางหลวงสายเอเชียใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 40-59
หมายเลข | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด |
---|---|---|---|
AH41 | 948 | Teknaf ประเทศบังกลาเทศ | Mongla ประเทศบังกลาเทศ |
AH42 | 3,754 | หลานโจว ประเทศจีน | Barhi ประเทศอินเดีย |
AH43 | 3,024 | อัคระ ประเทศอินเดีย | Matara ประเทศศรีลังกา |
AH44 | 107 | Dambulla ประเทศศรีลังกา | ตรินโคมาลี ประเทศศรีลังกา |
AH45 | 2,030 | โกลกาตา ประเทศอินเดีย | เบงคลูรู ประเทศอินเดีย |
AH46 | 1,967 | Hazira ประเทศอินเดีย | Howrah (โกลกาตา) ประเทศอินเดีย |
AH47 | 2,057 | ควาลิยัร ประเทศอินเดีย | เบงคลูรู ประเทศอินเดีย |
AH48 | 90 | Phuentsholing ประเทศภูฏาน | Changrabandha ประเทศอินเดีย (พรมแดนบังกลาเทศ–อินเดีย) |
AH51 | 862 | เปศวาร์ ประเทศปากีสถาน | เควตตา ประเทศปากีสถาน |
ทางหลวงสายเอเชียเหนือ เอเชียกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กำหนดให้ใช้หมายเลข 60-89
โครงข่ายที่วางแผนไว้จะมีระยะทางทั้งหมด 140,479 กิโลเมตร (87,290 ไมล์)
ประเทศ | ระยะทาง (กิโลเมตร) | ระยะทาง (ไมล์) |
---|---|---|
อัฟกานิสถาน | 4,247 | 2,639 |
อาร์มีเนีย | 958 | 595 |
อาเซอร์ไบจาน | 1,442 | 896 |
บังกลาเทศ | 1,804 | 1,121 |
ภูฏาน | 1 | 0.621 |
กัมพูชา | 1,339 | 832 |
จีน | 25,579 | 15,894 |
เกาหลีเหนือ | 1,320 | 820 |
จอร์เจีย | 1,154 | 717 |
ฮ่องกง ประเทศจีน | 91 | 57 |
อินเดีย | 11,432 | 7,104 |
อินโดนีเซีย | 3,989 | 2,479 |
อิหร่าน | 11,152 | 6,930 |
ญี่ปุ่น | 1,200 | 746 |
คาซัคสถาน | 13,189 | 8,195 |
คีร์กีซสถาน | 1,695 | 1,053 |
ลาว | 2,297 | 1,427 |
มาเลเซีย | 4,006 | 2,489 |
มองโกเลีย | 4,286 | 2,663 |
พม่า | 3,003 | 1,866 |
เนปาล | 1,321 | 821 |
ปากีสถาน | 5,377 | 3,341 |
ฟิลิปปินส์ | 3,517 | 2,185 |
เกาหลีใต้ | 907 | 564 |
รัสเซีย | 16,869 | 10,482 |
สิงคโปร์ | 19 | 12 |
ศรีลังกา | 650 | 404 |
ทาจิกิสถาน | 1,925 | 1,196 |
ไทย | 5,112 | 3,176 |
ตุรกี | 5,254 | 3,265 |
เติร์กเมนิสถาน | 2,204 | 1,370 |
อุซเบกิสถาน | 2,966 | 1,843 |
เวียดนาม | 2,678 | 1,664 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.