Loading AI tools
ทางพิเศษในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นโครงการทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโครงข่ายทางพิเศษให้สามารถรองรับการเดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนพระรามที่ 2 ทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงสุขสวัสดิ์-ดาวคะนอง และสะพานพระราม 9 โดยมีแนวสายทางเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนบริเวณกิโลเมตรที่ 13 ของถนนพระรามที่ 2 ซึ่งเชื่อมต่อจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ยกระดับเหนือถนนพระรามที่ 2 และทางพิเศษเฉลิมมหานคร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานทศมราชัน และไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ โดยบรรจบเข้ากับทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช รวมระยะทาง 18.7 กิโลเมตร[1] คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2567[2]
ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก | |
---|---|
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 18.7 กิโลเมตร (11.6 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก | ทล.พ.82 ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร |
ปลายทางทิศตะวันออก | ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษศรีรัช ในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | |
ระบบทางหลวง | |
มีจุดเริ่มต้นที่ต่างระดับบางขุนเทียนบริเวณกิโลเมตรที่ 13 ของถนนพระรามที่ 2 โดยมีแนวสายทางต่อเนื่องจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 (บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว) ของกรมทางหลวง ยกระดับไปตามแนวเกาะกลางของถนนพระรามที่ 2 จนถึงทางแยกต่างระดับดาวคะนอง จากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าซ้อนทับกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปจนถึงถนนสุขสวัสดิ์ แล้วเบี่ยงไปทางทิศใต้เพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานทศมราชัน คู่ขนานไปกับสะพานพระราม 9 จากนั้นข้ามถนนพระรามที่ 3 แล้วเข้าบรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช ที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ รวมระยะทางทั้งสิ้น 18.7 กิโลเมตร
ตลอดเส้นทางมีลักษณะเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ยกเว้นสะพานทศมราชัน ที่มีขนาด 8 ช่องจราจร[3]
ทางพิเศษสายนี้เก็บค่าผ่านทางในระบบปิด คือรับบัตรที่ด่านทางเข้า แล้วคืนบัตรพร้อมชำระค่าผ่านทางที่ด่านทางออก ลักษณะเดียวกับทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยตลอดเส้นทางมีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 7 จุด และมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 8 แห่ง ดังนี้
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อด่านเก็บค่าผ่านทาง | เข้าเมือง | ออกเมือง | |
---|---|---|---|---|---|
แสมดำ - บางโคล่ | |||||
กรุงเทพมหานคร | 1+100 | ด่านฯแสมดำ | เชื่อมต่อจาก: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 จาก สมุทรสาคร | ||
ทางขึ้นแสมดำ ไปดาวคะนอง, ถนนพระรามที่ 3 | ทางลงแสมดำ ถนนพระรามที่ 2 ไปสมุทรสาคร | ||||
4+600 | ด่านฯการเคหะธนบุรี | ทางลงการเคหะธนบุรี ถนนพระรามที่ 2 ไป | ทางขึ้นการเคหะธนบุรี | ||
7+850 | ด่านฯท่าข้าม | ทางลงท่าข้าม | ทางขึ้นท่าข้าม | ||
10+050 | ด่านฯบางมด | ทางขึ้นบางมด ไป | ทางลงบางมด ถนนพระรามที่ 2 ไป | ||
11+150 | ด่านฯพุทธบูชา | ทางขึ้นพุทธบูชาไป | ทางลงพุทธบูชา ถนนพระรามที่ 2 ไป | ||
12+550 | ด่านฯดาวคะนอง | ทางขึ้นดาวคะนองไป | ไม่มี | ||
15+400 | ด่านฯสุขสวัสดิ์ | ทางขึ้นสุขสวัสดิ์ ไป | ทางลงสุขสวัสดิ์ | ||
สะพานทศมราชัน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||
− | ตรงไป: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, บางนา | ||||
18+300 | ด่านฯพระราม 3 | ทางขึ้นพระราม 3 ทางพิเศษศรีรัชไป แจ้งวัฒนะ | ไม่มี | ||
18+500 | ด่านฯบางโคล่ 1 | ไม่มี | ทางขึ้นบางโคล่ 1 จากทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ดินแดง-บางนา)ไป ดินแดง, บางนา | ||
15+575 | ด่านฯบางโคล่ 2 | ไม่มี | ทางขึ้นบางโคล่ 2 จากทางพิเศษศรีรัช (บางโคล่ - แจ้งวัฒนะ) ไป ดินแดง, ถ.พระราม 9, บางนา, ดาวคะนอง | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.