Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูชีพ หาญสวัสดิ์ (เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2487) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันต้องโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ชูชีพ หาญสวัสดิ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ถัดไป | ปองพล อดิเรกสาร |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประภัตร โพธสุธน |
ถัดไป | สรอรรถ กลิ่นประทุม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | อุทัย พิมพ์ใจชน |
ถัดไป | ณรงค์ชัย อัครเศรณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2487 จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | สันติชน (2518–2519) ชาติไทย (2519–2539) ความหวังใหม่ (2539–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) เพื่อไทย (2556–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กฤตินี หาญสวัสดิ์ |
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2487 ที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุญไทย นางเฮียง หาญสวัสดิ์ ด้านครอบครัวสมรสกับนางกฤตินี หาญสวัสดิ์ (สกุลเดิม เชิดชัย)
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรม จากประเทศฟิลิปปินส์ และปริญญาโท ด้านวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยลองบีชสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา[1]
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงงานผลิตลูกชิ้น ฟาร์มกระบือที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และโรงฆ่าสัตว์ที่จังหวัดปทุมธานี รวมถึงธุรกิจรถโดยสารปทุมธานี-สามโคก
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นรองเลขาธิการพรรคสันติชน[2] ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2519 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2529, 2531[3], 2533[4] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2535[5] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[6] แต่ได้ลาออกในเวลาต่อมาจากกรณีปุ๋ยปลอม[7]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8] หลังจากนั้นจึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยนำประชาชนจำนวนกว่า 1,000 คน ปิดล้อมสถานีบริการภาคพื้นดินดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนล[9]
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ชูชีพถูกศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษหนักสุดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12[10] และเขาถูกส่งตัวเรับโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ในทันที[11]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.