โอเพนซอร์ส[a] (อังกฤษ: open source) เป็นการเปิดเผยรหัสต้นทางเพื่อให้แก้ไข และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตให้ใช้รหัสต้นทาง[4] ออกแบบเอกสาร[5] หรือเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ ตัวแบบต้นทางเปิด (อังกฤษ: open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรี[6][7]
หลักของการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือการผลิตแบบเสมอกัน (อังกฤษ: peer production) โดยมหาชนสามารถเข้าถึงผลิตผล เช่น รหัสต้นทาง, พิมพ์เขียว และเอกสารกำกับโปรแกรมได้อย่างเสรี การเคลื่อนไหวด้านต้นทางเปิดทางด้านซอฟต์แวร์เริ่มโดยเป็นการตอบโต้ข้อจำกัดของซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ ตัวแบบถูกใช้สำหรับโครงการ เช่น ใน เทคโนโลยีเหมาะสมต่อต้นทางเปิด (อังกฤษ: open-source appropriate technology)[8] และการคิดค้นยาแบบโอเพนซอร์ซ[9][10]
ต้นทางเปิดส่งเสริมการเข้าถึงอย่างเสรีผ่านสัญญาอนุญาตต้นทางเปิดหรือสัญญาอนุญาตเสรีต่อการออกแบบหรือพิมพ์เขียวของผลิตผล และส่งเสริมให้แจกจ่ายการออกแบบหรือพิมพ์เขียวนั้นอย่างสากล[11][12] ก่อนคำว่า ต้นทางเปิด จะถูกใช้อย่างแพร่หลาย ผู้พัฒนาและผู้ผลิตใช้คำศัพท์อื่น ทว่าคำว่า โอเพนซอร์ซ ได้รับความนิยมหลังอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย[13] การเคลื่อนไหวซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดเริ่มขึ้นเพื่อสร้างความชัดเจนด้านลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาต ชื่อโดเมน และประเด็นเกี่ยวกับผู้บริโภค
โดยทั่วไปแล้ว ต้นทางเปิดหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีรหัสต้นทางซึ่งเข้าถึงได้โดยสาธารณะ เพื่อใช้ หรือเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับ รหัสที่ถูกเปิดเผยได้รับการเผยแพร่ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ โดยเงื่อนไขดังกล่าวอาจจะให้สิทธิ์นักเขียนโปรแกรมที่จะร่วมมือกันพัฒนารหัสต้นทาง และแบ่งปันการเปลี่ยนแปลงกับชุมชน
การใช้ประโยชน์
การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมีความโปร่งใสและเสรีภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น CAMBIA[14] แม้กระทั่งวิธีวิทยาทางงานวิจัยเองก็สามารถได้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้หลักต้นทางเปิด[15] การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับต้นทางเปิด ยังจุดประกายให้เกิดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ต้นทางเปิดอีกด้วย
ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดคือซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่รหัสต้นทางของมันสู่สาธารณะ เปิดโอกาสในการคัดลอก, ดัดแปลง และแจกจ่ายรหัสต้นทางซ้ำได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย[16] LibreOffice และ GIMP เป็นตัวอย่างของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด
เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย[17] ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล, ไฟร์ฟอกซ์, ลินุกซ์, อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[18]
หมายเหตุ
- นอกจากคำว่า ต้นทางเปิด และ โอเพนซอร์ส แล้ว ยังมีหลายคำที่สามารถใช้แทนกันได้ เช่น ต้นฉบับเปิด (ระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา บัญญัติทั้งคำว่า "รหัสต้นทาง" และ "รหัสต้นฉบับ"[1] ส่วน WeChat ใช้คำว่า "รหัสต้นทาง" [2]) และ โอเพนซอร์ซ (โอเพนซอร์ซ เป็นการสะกดตามการถอดศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน ส่วน โอเพนซอร์ส เป็นการสะกดตามระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา[1] และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[3]) เป็นต้น
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.