Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี (อังกฤษ: Benchamarachuthit Chanthaburi School; อักษรย่อ: บ.จ., B.J.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (จันทบุรี และตราด) มีนักเรียนประมาณเกือบ 3000 คน โดยชื่อโรงเรียนเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี Benchamarachuthit Chanthaburi School | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 10 หมู่ 1 ถนนศรียานุสรณ์ ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.จ. / B.J. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล ขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | ปญฺา นรานํ รตฺนํ (ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน) |
สถาปนา | 6 กันยายน พ.ศ. 2454 (113 ปี 63 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | พระวิภาชวิทยาสิทธิ์, ขุนชำนิอนุสรณ์ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (จันทบุรีและตราด) |
รหัส | 1012220101 |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่พันตรีกรุณา สืบอุดม |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 2,888 คน (2565)[1] |
สี | ฟ้า เหลือง |
เพลง | มาร์ชเบญจมราชูทิศ จันทบุรี |
สังกัด | สพฐ. |
ต้นไม้ | ต้นแก้ว |
เว็บไซต์ | http://www.bj.ac.th |
การศึกษาของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2454 – 2455 ได้แบ่งชั้นเรียนวิสามัญ ออกเป็น 9 ชั้น คือ ชั้นมูล 3 ชั้น ชั้นประถม 3 ชั้น และชั้นมัธยม 3 ชั้น ขณะนั้นจังหวัดจันทบุรีมีโรงเรียนวัดจันทนารามแห่งเดียวที่เปิดสอนชั้นสูงสุดคือ ประโยคประถม (ป.3) ผู้ที่จบประโยคประถมแล้วถ้าต้องการศึกษาต่อชั้นมัธยม ต้องไปศึกษา ที่ กรุงเทพฯ
ต้นปี พ.ศ. 2454 ขุนวิภาชวิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) ธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้เลื่อนเป็น พระวิภาชวิทยาสิทธิ์) และครูพูล (ขาว) ผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการมณฑลจันทบุรี (ภายหลังได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนิอนุสรณ์ ตำแหน่งธรรมการจังหวัดจันทบุรี) ได้ร่วมกันพิจารณาหาที่ตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลจันทบุรี (มณฑลจันทบุรี ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด) เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่า วัดจันทนารามตั้งอยู่ริมแม่น้ำ มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม การเดินทางต้องลงเรือ ส่วนวัดกลาง อยู่บนเนินสูง น้ำไม่ท่วม นักเรียนสัญจรไปมาสะดวก ทั้งมีบริเวณกว้างขวาง และในขณะนั้นวัดกลางเป็นวัดร้าง มีพระภิกษุรูปเดียว มีศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิ 3 หลัง ซึ่งพระภิกษุอาศัยอยู่ 1 หลัง กุฏิอีก 2 หลัง สามารถใช้เป็นอาคารเรียนชั่วคราวได้ เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลต่อไป
กลางปี พ.ศ. 2454 ทางราชการได้ส่งครูมาให้ 2 คน คือ ครูพูล (ดำ) และครูกัลป์ ธรรมการมณฑลจึงสั่งโอนนักเรียนประถม 15 คน จากวัดจันทนาราม มาเรียนที่ศาลาการเปรียญวัดกลาง เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 และประกาศรับนักเรียนชาย หญิง เข้าเรียนชั้นมูล 1 ที่ศาลาการเปรียญด้วย ต้นปี พ.ศ. 2455 ได้เลื่อนนักเรียนที่สอบไล่ได้ประโยคประถมเป็นนักเรียนฝึกหัดมณฑลจันทบุรี โดยเรียนที่กุฏิร้าง 1 หลัง และให้นักเรียนที่สอบได้ประถมปีที่ 2 ของวัดจันทนาราม มาเรียนประโยคประถมที่วัดกลางโดยเรียนที่กุฏิร้างอีก 1 หลัง พระราชทานนาม “เบญจมราชูทิศ”
ปี พ.ศ. 2455 ข้าราชการในมณฑลจันทบุรี ได้พร้อมใจกัน บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนหลังแรกเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยอาคารหลังนี้ สร้างเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว 6 ห้องเรียน ยาว 12 วา 2 ศอก กว้าง 6 วา มีมุขและระเบียง 3 ด้าน ตัวไม้ใช้ไม้ตะเคียนล้วน ส่วนพื้นและเครื่องบนใช้ไม้ยางบ้าง ตัวอาคารทาสีฟ้าและมีรางน้ำรอบ การทำได้ทำอย่างประณีตงดงามแน่นหนาถาวรทุกประการ (ที่ตั้งอยู่บริเวณอาคาร9ในปัจจุบัน ทางเข้าออก อยู่ด้านถนนเบญจมราชูทิศ) เมื่อสร้างเสร็จเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แล้วจึงขอพระราชทานนามโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า “เบญจมราชูทิศ” และเนื่องจากในปีนี้กระทรวงธรรมการได้เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา เป็นชั้นประถม 3 ชั้น และมัธยม 8 ชั้น ชั้นมูลไม่มี ดังนั้นที่โรงเรียนวัดจันทนารามคงให้สอนเพียง ชั้น ป.1 – ป.3 ผู้ที่ประสงค์จะเรียนชั้นมัธยมต้องมาเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑล (ชาย)
ครั้นวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2456 วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สวรรคตวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 24.45 น. หรืออาจนับเป็นวันที่ 23 ตุลาคม เวลา 0.45 น.) จึงได้จัดการทำพิธีเปิดโรงเรียนโดย ขุนวิภาชวิทยาสิทธ์ ธรรมการมณฑลจันทบุรี อ่านรายงานการก่อสร้างสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี พระยาตรังคภูมาภิบาล (ถนอม บุณยเกตุ) ประธานในพิธีกล่าวคำประกาศเปิดนาม และประกอบพิธีเปิดนามโรงเรียน เมื่อจัดงานฉลองและบำเพ็ญกุศลแล้วจึงเริ่มการสอนแก่นักเรียนในนามโรงเรียน “เบญจมราชูทิศ” ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2456 เป็นต้นมา โดยได้ใช้ชื่อโรงเรียนทางราชการตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบันดังนี้
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ 22 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่เลขที่ 10 ถนนศรียานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนสองระดับคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) ห้อง 1-5 รับทั้งนักเรียนชายและหญิง ห้อง 6-10 รับเฉพาะนักเรียนชายจำนวน 10 ห้องเรียน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) รับทั้งนักเรียนชายและหญิง จำนวน 48 ห้องเรียน การจัดการเรียนการสอนแบ่งโครงสร้างการเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเลิศ (ห้องเรียนพิเศษ) และกลุ่มวิชาทั่วไป (ห้องเรียนปกติ) โดยมีนโยบายในการพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เพียงพอเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดบรรยากาศห้องเรียน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอาคารเรียนให้สะอาดร่มรื่น สวยงาม เพื่อเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้ได้ทุกเวลาสถานที่ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสามารถทางวิชาการ ความรัก ความผูกพัน ศรัทธา เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าโรงเรียนคือ บ้านที่สอง ของนักเรียนทุกคน ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนเบญจมราชูทิศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนห้อง 10 ห้องเรียนรับนักเรียนหญิงจำนวน 5 ห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนห้อง 16 ห้องเรียน (โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเลิศ จำนวน 7 ห้องเรียน)
อาคารเรียน ประกอบด้วย อาคารจำนวน 12 หลัง ได้แก่ อาคาร 1, อาคาร 2, อาคาร 3 (อาคารวิทยาศาสตร์), อาคาร 4 (อาคารเกษตร), อาคาร 5 (อาคารคอมพิวเตอร์), อาคาร 6 (หอประชุมหลังเก่า "พาณิชย์เจริญ"), อาคาร 7 (อาคารศิลปะ), อาคาร 8 (อาคารดุริยางค์สากล), อาคาร 9, อาคาร 11 และ อาคาร 12 ซึ่งใช้เป็นห้องเรียนวิชาต่าง ๆ และจัดเป็นห้องศูนย์พัฒนาวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ห้องสมุดกาญจนาภิเษก ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องจริยธรรม ห้องภาษาไทย ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องแนะแนว ห้องพักครู ฯลฯ
อาคารประกอบ โรงฝึกงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 5 หลัง คือ โรงฝึกงานช่างยนต์, ช่างโลหะ, ศิลปศึกษา ห้องนาฏศิลป์, อาคารชั่วคราวและดุริยางค์สากล อาคารต่าง ๆ ประกอบด้วยอาคารหอประชุม เรือนพยาบาล ห้องพักครู บ้านพักภารโรง และห้องน้ำห้องส้วม
สนามกีฬา ประกอบด้วย สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล สนามตะกร้อ สนามเปตองและสนามวอลเลย์บอล
บริเวณโรงเรียน บริเวณต่าง ๆ ภายในโรงเรียนได้จัดสภาพให้สวยงาม สะอาดร่มรื่น เริ่มตั้งแต่รั้วโรงเรียน ประตูโรงเรียน ศาลาไทย ศาลพระภูมิ หอพระพุทธรูป สวนห้าตอ สนามโรงเรียน สวนหย่อม ลานพระบรมรูปและสวนพันธุ์ไม้ไทยในวรรณคดี
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรีมีผู้บริหาร 29 ท่าน
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | นายพูล (ไม่มีนามสกุล) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2454 | พ.ศ. 2457 |
2 | นายพร (ไม่มีนามสกุล) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2457 | พ.ศ. 2458 |
3 | นายภูน (ไม่มีนามสกุล) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2458 | พ.ศ. 2459 |
4 | ขุนสุทธิวาท (เล็ก) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2459 | พ.ศ. 2460 |
5 | นายเสน สุขะกาศี | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2463 |
6 | ขุนอาจดรุณวุฒิ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2463 | พ.ศ. 2466 |
7 | ขุนจงจัดนิสสัย (สนิท ศตะกูรมะ) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2471 |
8 | ขุนอภิรมจรรยา (ชัย อภิชัยสิริ) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2471 | พ.ศ. 2473 |
9 | นายจรูญ แจ่มเจริญ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2473 | พ.ศ. 2479 |
10 | นายสุนันท์ ทศานนท์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2479 | พ.ศ. 2483 |
11 | ขุนวรศาสนดรุณกิจ (ฝ้าย บุญเลี้ยง) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2483 | พ.ศ. 2486 |
12 | นายวิจิตร หิรัญรัศ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2487 |
13 | นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2493 |
14 | นายบัญญัติ ศุภเสน | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2493 | พ.ศ. 2495 |
15 | นายสอาด บุญสืบสาย | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2495 | พ.ศ. 2502 |
16 | นายสุด น้ำหอม | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2502 | พ.ศ. 2504 |
17 | นายชัยวัฒน์ วรรณรัตน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2504 | พ.ศ. 2507 |
นายชัยวัฒน์ วรรณรัตน์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2507 | พ.ศ. 2519 | |
นายชัยวัฒน์ วรรณรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2525 | |
18 | นายบุญเปี่ยม เวชรักษ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2528 |
19 | นายเอก วรรณทอง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2535 |
20 | นายโสภณ ไทรเมฆ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2538 |
21 | นายสุรพงศ์ ซื่อตรง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2543 |
22 | นายดุษฎี โทบุราณ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2551 |
23 | นายมาโนช กล้องเจริญ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2556 |
24 | นายวิลิศ สกุลรัตน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2561 |
25 | นายศิริพงศ์ พงษ์ดี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2562 |
26 | นายสุวรรณ ทวีผล | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2564 |
27 | นายเสนอ นวนกระโทก | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2565 |
28 | ว่าที่ร้อยตรีสมชาย ริมคีรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2567 |
29 | ว่าที่พันตรีกรุณา สืบอุดม | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2567 | ปัจจุบัน |
ชื่อคณะสีของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรีนั้น เป็นชื่อของผู้มีคุณานัปการต่อโรงเรียน เช่น ผู้จัดหาที่ตั้งของโรงเรียน คุณครูใหญ่ เป็นต้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.