Loading AI tools
โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานคร ประเภทสหวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขนาดเนื้อที่ 39 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) Bodindecha (Sing Singhaseni) | |
---|---|
พระเกี้ยวโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ด. (B.D.) |
ประเภท | มัธยมศึกษา |
คำขวัญ | ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้ |
สถาปนา | 30 เมษายน พ.ศ. 2514 |
ผู้ก่อตั้ง | คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1000104501 |
ผู้อำนวยการ | ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
เพศ | สหศึกษา |
การลงทะเบียน | 4,130 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562) |
สี | สีน้ำเงิน |
เพลง | ธงน้ำเงิน |
สังกัด | สพฐ. |
ศิษย์เก่า | สมาคมนักเรียนเก่าบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) |
เว็บไซต์ | www.bodin.ac.th |
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ท่านเห็นว่าโรงเรียนจะเป็นสถานที่ดักความชั่ว และเป็นที่ที่สอนความเป็นคน แนวความคิดของท่านได้รับการสืบสานโดยทายาทชั้นเหลนของท่าน ในปีพ.ศ. 2507 คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ได้บริจาคที่ดินผืนนี้อันเคยเป็นที่พักทัพของท่าน [1]เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษา
พ.ศ. 2511 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
30 เมษายน 2514 ประกาศจัดตั้งโรงเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ
7 พฤษภาคม 2514 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์[2]ก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ 1 ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้รับนักเรียนรุ่นแรกโดยใช้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่
ในปีการศึกษา 2514 กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งนายเฉลิม สิงหเสนี เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ได้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียนและนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 12 ห้องเรียน มีนักเรียน 838 คน ครู-อาจารย์ 43 คน โดยใช้สถานที่เรียนครั้งแรก ณ โรงเรียนเตรียมอุดม เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียนร้อยแล้ว จึงย้ายมาเรียน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนใช้ตรา "พระเกี้ยว" เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน และโรงเรียนได้อัญเชิญตรานี้ประดับอกเสื้อเหนืออักษรย่อ บ.ด. สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [3]
พ.ศ. 2516 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และในปีต่อมานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในปีเดียวกันนั้นสมาคมครูและผู้ปกครองก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจการต่างๆของโรงเรียน
24 มิถุนายน 2521 เป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่ง 24 มิถุนายน ของทุกปีถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียน ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านขึ้นและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด
พ.ศ. 2529 มีการสร้างพระพุทธรูปประจำโรงเรียน โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ประทานนามว่า "พระพุทธบดินทรพิทักษ์บริรักษ์ศิษยา"
พ.ศ. 2530 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ คุณจวงจันทร์ สิงหเสนี และสมาคมศิษย์เก่าได้สมทบทุนสร้าง "อาคารเฉลิมพระเกียรติ" ขึ้น โดยชั้นบนของอาคารใช้เป็นหอประชุม ชั้นล่างคือ "หอสมุดคุณหญิง นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี)" ซึ่งได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา และของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2532 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "โรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่"
พ.ศ. 2537 เป็นปี "กาญจนาภิเษก" ด้วยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองศิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และเป็นปีที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 25 ปี ทายาทสกุลสิงหเสนี คณาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนเก่า จึงได้ร่วมใจสร้างพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
วันที่ 24 มิถุนายน 2539 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพีธีเปิดพิพิธภัณฑ์
นับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มีผู้บริหารทั้งหมด 14 คน ดังต่อไปนี้
ที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
0 | คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู | ผู้ก่อตั้งโรงเรียน | - |
1 | นายเฉลิม สิงหเสนี | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2514-2516 |
2 | คุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2516-2522 |
3 | นางสงัด จิตตะยโสธร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2522-2530 |
4 | นางประจวบ ชำนิประศาสน์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2530-2533 |
5 | คุณหญิงลักขณา แสงสนิท | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2533-2539 |
6 | นายเฉลิมชัย รัตนกรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2540-2541 |
7 | นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2541-2542 |
8 | นางพรรณี เพ็งเนตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542-2544 |
9 | นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2544-2545 |
10 | นายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2545-2552 |
11 | นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2552-2555 |
12 | นางอารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2555-2558 |
13 | นายกล้าศักดิ์ จิตต์สงวน | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2558-2561 |
14 | นายวิสิทธิ์ ใจเถิง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2561-2564 |
15 | นายสมพร สังวาระ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2565-2567 |
16 | นางกัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.