แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมษายน พ.ศ. 2558
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558 เกิดเมื่อเวลา 11:56 น. ตามเวลาในประเทศเนปาล (6:11:26 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 วัดขนาดได้ 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ และวัดความรุนแรงได้ IX หรือระดับ 9 ตามมาตราเมร์กัลลี โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล ไปทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร และศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 15 กิโลเมตร[1] นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาลนับแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล–รัฐพิหาร พ.ศ. 2477 จนถึงวันที่ 27 เมษายน มีรายงานผู้ต้องอุบัติเหตุในประเทศเนปาลและพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศอินเดีย, จีน และบังกลาเทศ
บ้านเรือนเสียหายในกาฐมาณฑุ หลังเกิดแผ่นดินไหวหลักในเดือนเมษายน | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2015-04-25 06:11:25 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 607208674 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 25 เมษายน ค.ศ. 2015 |
เวลาท้องถิ่น | 11:56:25 NST[1] |
ขนาด | 7.8 Mw[1] 8.1 Ms |
ความลึก | 8.2 กิโลเมตร (5.1 ไมล์)[1] |
ศูนย์กลาง | 28.230°N 84.731°E[1] |
รอยเลื่อน | Main Himalayan Thrust |
ประเภท | ย้อนมุมต่ำ[1] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | |
ความเสียหายทั้งหมด | $10 พันล้าน (ประมาณ 50% ของ GDP ของเนปาล)[2] |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | X (อนุภาพรุนแรง) [3][4] |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | 0.25 g[5] |
ความเร็วสูงสุด | 108 cm/s[5] |
แผ่นดินไหวตาม | 7.3 Mw 25 เม.ย. 12:30 น. เวลาท้องถิ่น[6] 6.7 Mw 26 เม.ย. 12:54 น. เวลาท้องถิ่น[7] แผ่นดินไหวตามขนาด 459 Mw ขึ้นไป ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2016[8] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิตในประเทศเนปาล 8,857 คน และทั้งหมด 8,964 คน[9][10] บาดเจ็บ 21,952 คน[9] 3.5 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย[9] |
แผ่นดินไหวนี้ยังทำให้เกิดหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 ราย ยอดผู้เสียชีวิตเกินเหตุการณ์หิมะถล่มที่ยอดเขาเอเวอเรสต์ พ.ศ. 2557 ทำให้เป็นวันที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดบนเขาดังกล่าว อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษที่แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย รวมทั้งบางส่วนของจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์
เกิดแผ่นดินไหวตามต่อเนื่องทั่วประเทศเนปาล มีครั้งหนึ่งขนาด 6.7 แมกนิจูด เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน เวลาสากลเชิงพิกัด 07:09:08 น.[7]
แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่เวลา 12:35 น. ที่ระดับความแรง 7.3 แมกนิจูด โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใกล้ชายแดนจีน ระหว่างกาฐมาณฑุกับภูเขาเอเวอเรสต์
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่เวลา 11:56 น. ของเวลามาตรฐานเนปาล (6:11:26 น. ของเวลาสากลเชิงพิกัด) ที่ระดับความลึกประมาณ 15 km (9.3 mi) กับจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวประมาณ 34 km (21 mi) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล เป็นเวลานานประมาณยี่สิบวินาที[11]
ประเทศ | เสียชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|
อินเดีย | 78 |
[16] |
ฝรั่งเศส | 10 | [17] |
สเปน | 7 | [18] |
สหรัฐ | 7 | [19][20] |
เยอรมนี | 5 | [21][22] |
จีน | 4 | [23] |
อิตาลี | 4 | [24] |
แคนาดา | 2 | [25] |
รัสเซีย | 2 | [26] |
ออสเตรเลีย อินเดีย |
1 | [27][28] |
เอสโตเนีย | 1 | [29] |
ฮ่องกง | 1 | [30] |
อิสราเอล | 1 | [31] |
ญี่ปุ่น | 1 | [32] |
มาเลเซีย | 1 | [33] |
นิวซีแลนด์ | 1 | [34] |
สหราชอาณาจักร | 1 | [35] |
รวม | 127 |
มีรายงานการเสียชีวิตที่บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งรวมผู้บริหารระดับสูงแห่งบริษัทกูเกิล[36][37] และผู้ช่วยแพทย์หญิงสัญชาติไทย-อเมริกัน[38] นอกจากนี้ยังทำให้โบราณหลายแห่งซึ่งบางส่วนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถูกทำลายเสียหายยับเยิน อาทิเช่น ธาราฮารา หอคอยเก่าแก่ที่สูงที่สุดในเนปาล สถูปปูธานารถ เทวสถานสำคัญทางพุทธศาสนาในเนปาล สถูปเจดีย์เก่าแก่ ภายในจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์ เป็นต้น[39]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.