Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การิบิซเนเดอร์ลันด์ หรือ แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์[7][8] (ดัตช์: Caribisch Nederland; ออกเสียง: [kaːˌribis ˈneːdərlɑnt]) เป็นเขตเทศบาลพิเศษของเนเธอร์แลนด์ที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ประกอบไปด้วยสามเขตคือ หมู่เกาะโบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึส (สเตเชีย) และซาบา[9][b] คำว่า "แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์" นั้นบางครั้งอาจถูกใช้ในการกล่าวอ้างถึงทุกเกาะในดัตช์แคริบเบียน ในทางกฎหมายทั้งสามหมู่เกาะยังเป็นที่รู้จักกันในนามกลุ่มเกาะ เบเอเอส (ดัตช์: BES-eilanden) ซึ่งมาจากตัวย่อตัวแรกรวมกันของชื่อหมู่เกาะ โดยปัจจุบันหมู่เกาะทั้งสามเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ในฐานะหน่วยสาธารณะ (ดัตช์: openbaar lichaam) สามแห่งตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านั้นเกาะเหล่านี้เป็นดินแดนเกาะของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสซึ่งเป็นประเทศในอดีตที่อยู่ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ หมู่เกาะทั้งสามเป็นหนึ่งใน "ประเทศและดินแดนโพ้นทะเลของสหภาพยุโรป" ดังนั้นกฎหมายของสหภาพยุโรปจึงไม่มีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ Caribisch Nederland (ดัตช์) | |
---|---|
ภูมิภาคโพ้นทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ | |
พิกัด: 12°11′N 68°14′W | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
เทศบาลพิเศษ | |
รวมเข้ากับประเทศเนเธอร์แลนด์ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (การยุบเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส) |
การปกครอง (ดู การเมืองของประเทศเนเธอร์แลนด์) | |
• ผู้แทนราชอาณาจักร (Rijksvertegenwoordiger) | Jan Helmond (ยัน เฮลมงด์) |
• ผู้ว่าการ (Gezaghebber) |
|
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 328 ตร.กม. (127 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด (เมานต์ซีเนรี) | 887 เมตร (2,910 ฟุต) |
ประชากร (1 มกราคม พ.ศ. 2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 25,157 คน |
• ความหนาแน่น | 77 คน/ตร.กม. (200 คน/ตร.ไมล์) |
ภาษา | |
• ราชการ | ดัตช์ |
• ประจำภูมิภาค | |
เขตเวลา | UTC−4 (AST) |
รหัสโทรศัพท์ | +599 |
รหัส ISO 3166 | BQ, NL-BQ1, NL-BQ2, NL-BQ3 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ ($) (USD)[4] |
โดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุด |
ในแง่ของจำนวนประชากร การิบิซเนเดอลันด์เป็นพื้นที่เล็กที่สุด สามในหกแห่งของอาณาเขตในแคริบเบียนที่เป็นของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (ไม่ใช่ในแง่ของพื้นที่: โบแนเรอมีขนาดใหญ่กว่าซินมาร์เตินมาก)
หมู่เกาะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น โบแนเรอ (รวมถึงเกาะไคลน์โบแนเรอ) เป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะลีเวิร์ดแอนทิลลีส (อังกฤษ: Leeward Antilles; ดัตช์: Benedenwindse Antillen) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอารูบา และกือราเซา นอกชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ของเวเนซุเอลา ขณะที่ซินต์เอิสตาซียึส และซาบา อยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด (อังกฤษ: Leeward Islands; ดัตช์: Benedenwindse Eilanden) ตั้งอยู่ทางใต้ของซินต์มาร์เติน และทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซนต์คิตส์และเนวิส ทั้งสามหน่วยงานของรัฐ (หรือที่เรียกว่าเทศบาลพิเศษ) รวมกันมีประชากร 25,157 คน[2] (เดือนมกราคม พ.ศ. 2562) และพื้นที่ 328 ตารางกิโลเมตร เขตเวลาคือเวลามาตรฐานแอตแลนติก (UTC–4) รหัสประเทศสำหรับโทรศัพท์คือ 599 ซึ่งปัจจุบันใช้ร่วมกับกือราเซา หมู่เกาะอยู่ห่างจากดินแดนเนเธอร์แลนด์ในทวีปยุโรป 7,200 กิโลเมตร
ทั้งสามเกาะได้รับสถานะปัจจุบัน หลังจากการสลายตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2553[10] ในเวลาเดียวกันเกาะกือราเซา และซินต์มาร์เติน กลายเป็นประเทศองค์ประกอบที่ปกครองตนเอง (ดัตช์: landen) ภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์[11] เช่นเดียวกับเกาะอารูบา ซึ่งแยกตัวเป็นประเทศที่เป็นส่วนประกอบของราชอาณาจักรก่อนหน้านั้น คำว่า "ดัตช์แคริบเบียน" อาจเป็นการอ้างถึงเขตเทศบาลพิเศษสามแห่ง (เช่น ในตราไปรษณียากร) แต่ก็อาจเป็นการกล่าวอ้างถึงหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมดที่อยู่ภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดที่มีอยู่หรือจัดตั้งขึ้นใหม่ และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ความตกลงเชงเกน
ประชาชนในหมู่เกาะแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์มีสิทธิ์ลงมติครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไปของเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2555[12]
เทศบาลพิเศษ (ดัตช์: bijzondere gemeenten) มีหน้าที่หลายอย่างที่ดำเนินการตามปกติเช่นเดียวกับเทศบาลในประเทศเนเธอร์แลนด์ อำนาจบริหารอยู่ที่สภาปกครองซึ่งนำโดยผู้ว่าการเกาะ องค์กรประชาธิปไตยหลักคือสภาเกาะ พลเมืองชาวดัตช์ของทั้งสามเกาะมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติของเนเธอร์แลนด์และ (ในฐานะเช่นเดียวกับประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด) มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งในรัฐสภายุโรป
อย่างเป็นทางการ หมู่เกาะแห่งนี้ ในกฎหมายของเนเธอร์แลนด์เป็น "openbare lichamen" (แปลตามตัวอักษรว่า "หน่วยงานสาธารณะ") และไม่ใช่เทศบาล (ดัตช์: gemeenten) ต่างจากเทศบาลปกติโดยหมู่เกาะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบจังหวัดของเนเธอร์แลนด์[13] และบริหารจัดการโดยสภาท้องถิ่นภายในเทศบาล ซึ่งจะแบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลของเกาะ และรัฐบาลกลางในรูปแบบสำนักงานแห่งชาติสำหรับแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นเทศบาล"พิเศษ"
มีกฎหมายหลายฉบับของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีฉบับพิเศษสำหรับดินแดนแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์[14] ตัวอย่างเช่น การประกันสังคมซึ่งไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับเนเธอร์แลนด์ในยุโรป[15]
โบแนเรอ | ซินต์เอิสตาซียึส | ซาบา | |
---|---|---|---|
เมืองหลวง | กราเลินไดก์ | โอรันเยอสตัด | เดอะบ็อตทัม |
พื้นที่ (พื้นดิน)[16] | 288 กม.² | 21 กม.² | 13 กม.² |
% พื้นน้ำ | – | – | – |
ประชากร[2] | 20,104 | 3,338 | 1,915 |
ความหนาแน่น | 70 คน/กม.² | 159 คน/กม.² | 147 คน/กม.² |
ศาสนา | 77% คริสต์โรมันคาทอลิก 16% อื่น ๆ 7% ไม่มี | 27% คริสต์เมโทดิสต์ 25% คริสต์โรมันคาทอลิก 21% คริสต์เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ 19% อื่น ๆ 8% ไม่มี | 58% คริสต์โรมันคาทอลิก 14% คริสต์แองกลิคัน 22% อื่น ๆ 5% ไม่มี |
ภาษา | ดัตช์, ปาเปียเมนตู | ดัตช์, อังกฤษ | ดัตช์, อังกฤษ |
เพลงชาติ | Volkslied van Bonaire | Golden Rock | Saba Song |
วันสำคัญ | 6 กันยายน (Dia di Himno y Bandera) | 16 พฤศจิกายน (Statia Day) | ศุกร์แรกของเดือน ธ.ค. (Saba Day) |
พิกัด | 12°9′N 68°13′W | 17°30′N 62°58′W | 17°38′N 63°14′W |
สำนักงานแห่งชาติสำหรับแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Rijksdienst Caribisch Nederland) เป็นผู้รับผิดชอบด้านการเก็บภาษี การตรวจคนเข้าเมือง โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง สุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยทางสังคมในหมู่เกาะ ซึ่งเหล่านี้เป็นการให้บริการในนามของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์[17] หน่วยงานนี้จัดตั้งขึ้นในฐานะศูนย์บริการภูมิภาคในปี พ.ศ. 2551 และกลายเป็นสำนักงานแห่งชาติสำหรับแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553[18][19] ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ ยาน เฮลมงด์ (J.N. Helmond)[20] ผู้แทนผู้มีอำนาจจัดการของหน่วยสาธารณะ โบแนเรอ, ซินเอิสตาซียึส และ ซาบา เป็นตัวแทนของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์บนเกาะ (และเขายังเข้ารับหน้าที่รักษาการผู้แทนราชอาณาจักร (ดัตช์: Rijksvertegenwoordiger) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561)[21]
แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปและถือเป็น "ประเทศและดินแดนโพ้นทะเล" (สถานะ OCT) ของสหภาพซึ่งเป็นการบังคับใช้บทบัญญัติพิเศษ[c] สนธิสัญญาลิสบอนนำเสนอกระบวนการที่สภายุโรปอาจเปลี่ยน สถานะของดินแดนโพ้นทะเลของเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส หรือเนเธอร์แลนด์ในเรื่องเกี่ยวกับการใช้สนธิสัญญาของสหภาพยุโรปกับดินแดนนั้น[d] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจทางกฎหมายและเศรษฐกิจถึงผลกระทบหากมีการเปลี่ยนสถานะจาก OCT เป็นสถานะภูมิภาคนอกสุด (outermost region, OMR)[22][23] สถานภาพของเกาะต่าง ๆ ได้รับการทบทวนเมื่อผ่านช่วงเวลาห้าปี ซึ่งเริ่มต้นจากเมื่อมีการสลายตัวของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553[24] การทบทวนได้ดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนกฎหมายของเนเธอร์แลนด์คือ "พระราชบัญญัติสำหรับหน่วยสาธารณะ โบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึส และ ซาบา" (ดัตช์: "Wet openbare lichamen Bonaire, Sint Eustatius en Saba (WolBES)") ซึ่งเปิดทางให้หมู่เกาะมีทางเลือกที่จะเปลี่ยนสถานะให้เป็น OMR และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปโดยตรง[25] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 การทบทวนสรุปได้นำเสนอว่า โครงสร้างทางกฎหมายในปัจจุบันสำหรับการกำกับดูแลและบูรณาการกับ ยุโรปเนเธอร์แลนด์ ทำงานได้ไม่ดีภายใต้กรอบของ WolBES แต่ไม่มีคำแนะนำใด ๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะจาก OCT เป็น OMR ว่าจะช่วยปรับปรุงสถานการณ์นี้หรือไม่[26][27][28][29]
แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส โดยภายในกลุ่มเกาะนี้:
เหตุหนึ่งที่ทำให้หมู่เกาะมีความแตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศก็คือ ระยะทางสัมพัทธ์กับส่วนยุโรปที่ค่อนข้างมากและที่ตั้งที่แยกขาดจากกัน
Relatie | Afstand |
---|---|
อัมสเตอร์ดัม – กราเลินไดก์[31] | 7,809 กม. |
อัมสเตอร์ดัม – โอรันเยอสตัด | 6,998 กม. |
อัมสเตอร์ดัม – เดอะบ็อตทัม | 6,993 กม. |
กราเลินไดก์ – โอรันเยอสตัด | 814 กม. |
กราเลินไดก์ – เดอะบ็อตทัม | 816 กม. |
โอรันเยอสตัด – เดอะบ็อตทัม | 32 กม. |
ชายฝั่งโบแนเรอ – ชายฝั่งเวเนซุเอลา | 89 กม. |
หมู่เกาะแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนที่มีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี หมู่เกาะลีเวิร์ด มีอากาศอบอุ่นและแห้งกว่าหมู่เกาะวินด์เวิร์ด ในฤดูร้อนหมู่เกาะวินด์เวิร์ด อาจมีพายุเฮอริเคนพัดผ่าน
จนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 หมู่เกาะทั้งสามใช้สกุลเงินตรา กิลเดอร์เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (อังกฤษ: the Netherlands Antillean guilder; ดัตช์: Antilliaanse gulden) หลังจากนั้นทั้งสามได้เปลี่ยนมาใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแทนที่จะเป็นเงินยูโร (ซึ่งใช้ในยุโรปเนเธอร์แลนด์) หรือกิลเดอร์แคริบเบียน (อังกฤษ: Caribbean guilder; ดัตช์: Caribische gulden) ซึ่งถูกนำมาใช้ในอีกสองเกาะของอดีตเนเธอร์แลนด์แอนทีลลีสคือ กือราเซา และซินต์มาร์เติน[33]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.