Loading AI tools
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ด้านเรื่องสั้น นวนิยาย และกวีนิพนธ์ และอาจารย์ม.ธรรมศาสตร์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์[1] อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 นักเขียน "รางวัลศรีบูรพา" ในปี พ.ศ. 2546 เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังได้รับรางวัล "ศิษย์เก่าดีเด่นของคณะรัฐศาสตร์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล | |
---|---|
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในปี พ.ศ. 2552 | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2492 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 |
คู่สมรส | จิระนันท์ พิตรปรีชา |
บุตร | 2 คน |
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล สมรสกับจิระนันท์ พิตรปรีชา (อดีต ภรรยา)[2] ปัจจุบันทั้ง 2 ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ความรักของคนทั้งสองเกิดขึ้นระหว่างการปราศรัยทางการเมืองในช่วง ตุลาคม มีบุตรชาย 2 คนคือ แทนไท ประเสริฐกุล(บุตรชายคนแรก) และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล(บุตรคนสุดท้อง)
เสกสรรค์ จบมัธยมปลายจากโรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2510 แล้วสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทุนอเมริกันฟีลด์เซอร์วิสไปศึกษาในโรงเรียนมัธยมและอยู่ร่วมกับครอบครัวอเมริกัน โดยหลังจากนั้น 1 ปี ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2511 และศึกษาต่อที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นเดียวกับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ) และเป็นผู้นำนักศึกษาในการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ก็ได้รับการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517 แล้วได้ทำการศึกษาต่อจนจบในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในปี พ.ศ. 2526[3] หลังจากนั้นเสกสรรค์ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยเพื่อทำงานวิจัยต่อในการศึกษาระดับปริญญาเอก และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2530[4]
ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [7]
ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เป็นหนึ่งในแกนนำของนักศึกษาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลลาออก โดยในการเดินขบวน เสกสรรค์รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมฝูงชน เมื่อแกนนำของผู้ชุมนุมได้เข้าเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และบางส่วนได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เสกสรรค์เป็นผู้ควบคุมฝูงชนรอคำตอบอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จนกระทั่งถึงเวลาค่ำ ซึ่งนับว่าผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว ก็ยังไม่ทราบผลการเจรจา เมื่อเข้ากลางดึก ฝูงชนก็เริ่มกระสับกระส่าย และเริ่มไม่ไว้ใจกันเอง บ้างถึงขนาดว่าแกนนำเหล่านั้นหักหลังพวกเดียวกันเองเสียแล้ว เสกสรรค์ก็ได้ตัดสินใจโดยพลการ นำพาฝูงชนเคลื่อนสู่หน้าพระตำหนัก ฯ เพื่อขอพึ่งพระบารมี และถึงแม้ว่าจะได้พบกับ ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเป็นแกนนำผู้ชุมนุมอีกคนที่ได้เข้าเฝ้า ฯ ทั้ง 2 ได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน และขอให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมโดยสงบ แต่ถึงขณะนั้นอารมณ์ของผู้ชุมนุมก็ไม่อาจควบคุมความสงบไว้ได้แล้ว จนนำไปสู่การนองเลือดในรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ เสกสรรค์และจิระนันท์ พิตรปรีชา ซึ่งเป็นคู่รักกันก็ได้หลบหนีเข้าป่า เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 โดยมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายไท" ในช่วง พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2523 เสกสรรค์มีความเห็นขัดแย้งหลายประการกับกรรมการกลางของพรรคฯ และต่อมาได้แยกตัวออกจากพรรค ฯ และเดินทางกลับเข้าเมืองและได้รับนิรโทษกรรมในเวลาต่อมาจากคำสั่งที่ 66/2523 ในขณะที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]
ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ[9] สาขาวรรณศิลป์ ด้านเรื่องสั้น สารคดี นวนิยาย กวีนิพนธ์ ประจำปี พุทธศักราช 2552 ในปี พ.ศ. 2552 โดยในปีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปีที่มีการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติจากคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ละเอียดที่สุด[10] เนื่องจากมีผู้ที่เข้าเกณฑ์การได้รับคัดเลือกและได้มีการเสนอชื่อผู้ควรได้รับการเชิดชูเกียรติจำนวนมาก โดยศิลปินแห่งชาติทั้ง 9 ท่านในศิลปะในทุกสาขาและได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 ก.พ. พ.ศ. 2553 เนื่องในวันศิลปินแห่งชาติ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.