Loading AI tools
นครรัฐกึ่งอิสระก่อนยุคสมัยใหม่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมือง (ลาว: ເມືອງ, ไทใหญ่: မိူင်း mə́ŋ, จีน: 猛 หรือ 勐; พินอิน: měng, เวียดนาม: Mường), เวียง หรือ เชียง เป็นนครรัฐกึ่งอิสระหรือชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าปกครองก่อนยุคสมัยใหม่ ที่อยู่กระจายในคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ติดกับพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและตอนใต้ของประเทศจีน เป็นพื้นที่ซึ่งปัจจุบันนี้คือประเทศไทย ประเทศลาว ตอนเหนือของประเทศพม่า บางส่วนของประเทศกัมพูชา บางส่วนของประเทศเวียดนาม ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน พื้นที่ตะวันตกของมณฑลกวางสี และแคว้นอัสสัม
เมือง เป็น คำไทยดั้งเดิม เมืองในยุคก่อนสมัยใหม่นั้นจะมีกำแพงป้องกันข้าศึก และมีผู้ปกครอง เรียกว่า เจ้าเมือง อย่างน้อยก็เป็นเจ้าเมืองระดับ ขุน หรือพ่อขุน ซึ่งจะปกครองหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่อเมืองนั้นด้วย[1][2][3] รูปแบบที่เป็นศูนย์กลางขององค์กรทางการเมืองบริหารจัดการรัฐในลำดับการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจ เช่น ผู้ปกครองเมืองขนาดเล็กจะอยู่ใต้การปกครองของผู้ปกครองเมืองใกล้กันที่มีอำนาจมากกว่าซึ่งก็จะอยู่ใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ส่วนกลางหรือผู้นำอื่น ๆ เมืองที่มีอำนาจกว่านั้น (ที่รู้กันโดยทั่วไป คือ เชียง หรือ เวียง หรือ นคร หรือ กรุง เช่น กรุงเทพมหานคร) บางยุคบางสมัยเจ้าเมืองลูกหลวงพยายามประกาศอิสรภาพจากเจ้าเมืองที่ตนเป็นเมืองขึ้น และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ชื่นบานในการเป็นอิสระแบบเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ทั้งเมืองขนาดใหญ่และเมืองขนาดเล็กมักจะยกระดับความจงรักภักดี และส่งส่วยให้แก่มากกว่าหนึ่งแก่ผู้ครองเมืองที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังส่งให้แก่จักรวรรดิจีนซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้นเป็นประจำ ซึ่งเป็นช่วงยุคต้นของราชวงศ์หมิงของจีน
ต่อมา ฮ่องเต้ กุบไล ข่าน เอาชนะราชอาณาจักรไบ แห่งต้าหลี่ ปี ค.ศ. 1253 เมืองใหม่ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างมากมายทั่วรัฐฉาน และพื้นที่ที่อยู่ติดกัน แม้มีการโต้แย้งโดยใช้คำอธิบายทั่วไปของเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการอพยพโยกย้าย[4]จึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อทางการจีนที่ตามมา ในการจัดเรียงลำดับชนชั้นปกครองที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น ผู้นำชนเผ่าหลักในมณฑลยูนนานได้รับการยอมรับโดยราชวงศ์หยวนให้เป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าหลวง) ของฮ่องเต้ ต่อมา ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ได้เปลี่ยนจากระบบเลือกผู้นำที่มาจากท้องถิ่น มาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง ต่อมาในคริตศตวรรษที่ ๑๙ ราชวงศ์จักรีของไทยและผู้นำทางทหารของพม่าสำหรับเมืองขึ้นของพม่าก็ทำตามแบบนั้นบ้างในเมืองน้อย ๆ ของพวกเขา ในขณะที่อาณาจักรเล็ก ๆ หายไป แต่ชื่อสถานที่ยังคงอยู่
ประเทศไทย ในภาษาไทยเรียกขานกันโดยรู้กันทั่วไปว่า เมืองไทย ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแบบเทศาภิบาล หรือเทศบาลนั้น สยามยังจัดการบริหารแบบ มณฑล อยู่ ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในปี 1916 คำว่าเมืองยังปรากฏอยู่ที่ เขตตัวเมือง ของจังหวัด คือ อำเภอเมือง ซึ่งสถานะเทศบาลเมืองก็เทียบเท่ากับ เมือง เมืองยังกล่าวถึงเขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ในสมัยอดีตคำว่าเมืองกล่าวถึง เขตภายในกำแพงเมือง[5] ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลได้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดทั้งหมด เพื่อป้องกันการสับสนการใช้คำทั้งคำว่า เมือง และ จังหวัด ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2459 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย[6] คำว่า "เมือง" ยังหมายถึงเขตแดนในระดับต่างกันได้ เช่น เมืองไทย (ประเทศ) เมืองเชียงใหม่ (จังหวัด) เมืองไชยา (อำเภอ) [5]
คำว่า เมือง ยังคงรวมเป็นอันหนึ่งกับชื่อของสถานที่ไม่กี่แห่ง ที่เด่น ๆ คือ เขต ดอนเมือง สนามบิน ดอนเมือง และในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน เช่น พัทยา เป็น เมืองพัทยา ซึ่งเป็นเขตเทศบาลปกครองพิเศษ
นคร หมายถึง เมืองหลวง ของราชอาณาจักร ได้รับการปรับปรุงเป็น เทศบาลนคร มักแปลว่า เป็นเทศบาลเมือง คำว่า นคร ก็เลยเป็นชื่อของสถานที่นั้นไปด้วย
อำเภอสูงเนินเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสองแห่งคือเมือง สีมา และ โครักขปุระ เรียกแบบภาษาสันสกฤตคือบุรี ทั้ง ปุระ และ บุรี ในภาษาไทยหมายถึงเมืองเหมือนกัน เป็นเมืองที่มีกำแพงปัองกัน โคราฆะปุระ มีชื่อสั้น ๆ ว่า นครราช ซึ่งพวงด้วยคำว่า สีมา จึงกลายเป็น นครราชสีมา
ประเทศลาวมีคำพูดที่ที่ใช้เรียกกันว่า เมืองลาว แต่สำหรับประชาชนคนลาว คำนี้มีความหมายกว้างมากกว่าเพียงแค่เขตการปกครอง (อำเภอ) ประโยชน์คือความน่าสนใจทางประวัติศาสตร์เป็นพิเศษสำหรับชาวลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคม การเมือง และองค์กรการบริหารที่เป็นแบบดั้งเดิมของชาวลาว และการก่อร่างสร้างรัฐเริ่มต้นของชาวลาว[7] นักว่าวิชาการเรียกว่า เป็น มัณฑะละ หรือ มณฑล มีความหมายว่า แขวง หรือ แคว้น ส่วนจังหวัดของประเทศลาวทุกวันนี้แบ่งออกตามที่แปลกันทั่วไปคือ เขตหรืออำเภอของประเทศลาว โดยเอาคำว่าเมืองขึ้นต้นและต่อด้วยชื่อของเมือง
เหมือง ฝาย เป็นคำพูดที่เพิ่งเกิดใหม่ของภาษาไทยร่วมสมัย เป็นสำเนียงทั่วไปของภาษาไทยทั้งหมด ในมณฑลกวางสี เมืองกุยโจว ทางภาคใต้ของจีน คำที่ใช้อธิบายลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของวิศวกรรมชลประทานเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปัง เหมือง หมายถึงคลองชลประทาน และฝาย หมายถึง เขื่อน เรียกรวมกันคือ ระบบชลประทานแรงโน้มถ่วง ที่ผันน้ำจากลำธารหรือแม่น้ำ ภาษาไทยร่วมสมัย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำเมือง คือคำพูดร่วมสมัย ของภาษาไทยภาคเหนือสมัยก่อน ซึ่งเป็นภาษาของอาณาจักรล้านนา คนไทยภาคกลางเรียกคนภาคเหนือและภาษาของภาษาเหนือว่า ไทยยวน คนภาคเหนือเรียกภาษาของตนว่า คำเมือง คำว่าคำเมืองมีความหมายว่า ภาษาของชาวเมือง ของดินแดนภาคเหนือซึ่งมีความแตกต่างของประชาชนชาวเขาหลายเผ่าตามภูมิประเทศที่เป็นภูเขาต่าง ๆ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.