Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงแดลฟีนแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค (ฝรั่งเศส: Delphine de Saxe-Cobourg; ดัตช์: Delphine van Saksen-Coburg; ประสูติ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511)[1][2] พระนามเดิม แดลฟีน มีแชล อาน มารี กีแลน บอแอล (ฝรั่งเศส: Delphine Michèle Anne Marie Ghislaine Boël; ดัตช์: Delphine Michelle Anna Maria Gisela Boël) หรือ แดลฟีน บอแอล เป็นศิลปินชาวเบลเยียม และเป็นสมาชิกพระราชวงศ์เบลเยียม ด้วยเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ประสูติแต่บารอนีสซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง และเป็นพระขนิษฐาต่างพระชนนีของสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
เจ้าหญิงแดลฟีน | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงแดลฟีน เมื่อ พ.ศ. 2551 | |||||
ประสูติ | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม | ||||
พระสวามี | เจมส์ โอแฮร์ (พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน) | ||||
| |||||
พระบุตร | เจ้าหญิงโฌเซฟีน เจ้าชายออสการ์ | ||||
ราชวงศ์ | ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา | ||||
พระบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 | ||||
พระมารดา | ซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง | ||||
ธรรมเนียมพระยศ | |||||
ตราประจำพระองค์ | |||||
การทูล | เฮอร์รอยัลไฮนิส | ||||
การขานรับ | ยัวร์รอยัลไฮนิส | ||||
เดิมเจ้าหญิงแดลฟีนมีบรรดาศักดิ์เป็น ยงค์เฟราว์ บอแอล (Jonkvrouw Boël) แต่หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าหญิงแห่งเบลเยียม มีฐานันดรศักดิ์ชั้นรอยัลไฮนิส อย่างถูกต้องตามกฎหมาย[3]
เจ้าหญิงแดลฟีนเป็นธิดาของบารอนีสซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง (Sybille de Selys Longchamps) หญิงผู้ดีจากตระกูลขุนนางเบลเยียม[4] เดิมระบุว่าบุตรคนนี้เกิดกับฌัก บอแอล (Jacques Boël) สามีคนแรก ซึ่งมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเบลเยียมเช่นกัน[5] แม้จะเป็นตระกูลขุนนางระดับล่าง แต่ก็เป็นตระกูลที่ร่ำรวยอันดับที่ 16 ของเบลเยียม ด้วยทรัพย์สินมูลค่า 1.6 พันล้านยูโร[6] ทั้งสองหย่าร้างกันใน พ.ศ. 2521[7] ซึ่งแท้จริงแล้ว สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 เป็นบิดาของแดลฟีน[8] ทรงอ้างว่ากษัตริย์อัลแบร์เคยเสด็จมาเยี่ยมเมื่อครั้งเจ้าหญิงยังทรงพระเยาว์ ทรงตรัสเรียกด้วยพระนามลำลองว่า "ปาปียง" (Papillon, "ผีเสื้อ")[4]
เจ้าหญิงแดลฟีนทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนประจำในประเทศอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ ทรงสำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเชลซีในลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2533[9]
มารีโอ ดันนีลส์ (Mario Danneels) นักเรียนหนุ่มชาวเฟลมิชวัย 18 ปี ได้ตีพิมพ์อัตชีวประวัติของสมเด็จพระราชินีเปาลาโดยมิได้ขอพระราชานุญาตใน พ.ศ. 2542 ใช้ชื่อว่า Paola, van 'la dolce vita' tot koningin ("เปาลา จากชีวิตที่แสนหวานสู่ราชินี")[10] หนังสือเล่มนี้อ้างถึงการมีตัวตนของพระราชธิดานอกสมรส ทำให้สื่อมวลชนเบลเยียมเริ่มการสืบสวนและแกะรอยแดลฟีน[11] เบื้องต้นครอบครัวบอแอลปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น ในขณะที่สำนักพระราชวังออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยอธิบายว่างานเขียนของดันนีลส์เป็นเพียงแค่การนำเรื่องซุบซิบหรือแค่ข่าวโคมลอยมาเขียนเท่านั้น
ในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ในวันคริสตสมภพเมื่อ พ.ศ. 2542 สื่อมวลชนเบลเยียมได้ตีความพระราชดำรัสนั้น เป็นการกล่าวยอมรับว่าบอแอลเป็นพระราชธิดาจริง ๆ ของพระองค์[12]
"คริสต์มาสเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราทุกคนหวนนึกถึงครอบครัว ช่วงเวลาแห่งความสุข พระราชินีและข้าพเจ้าจดจำช่วงเวลาอันแสนสุขนั้น รวมถึงวิกฤตที่เราต้องเผชิญเมื่อราวสามสิบปีก่อน พวกเราสามารถฝ่าฟันอุปสรรคและฟื้นฟูความเข้าใจกันด้วยความรัก แต่วิกฤตนั้นกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้เอง เราไม่อยากจะจมปลักกับปัญหาชีวิตส่วนตัวนี้ พวกเราจะดีใจมาก หากประสบการณ์ของพวกเราในครั้งนี้ จะทำให้ผู้เผชิญปัญหาเดียวกันมีความกล้าและผ่านไปได้ด้วยดี"
ปัญหาที่พระองค์กล่าวในพระราชดำรัสนี้ สื่อมวลชนตีความว่า เป็นเรื่องความสัมพันธ์ชู้สาวระหว่างกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 กับซีบีล เดอ เซลี ลงช็อง ซึ่งลอบรักกันยาวนานถึง 18 ปี[13][14]
บอแอลให้สัมภาษณ์กับมาร์ก-โอลิวิเยร์ ฟอเฌียล (Marc-Olivier Fogiel) พิธีกรรายการ "On ne peut pas plaire à tout le monde" ("เราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้") ออกอากาศทางช่องฟร็องซ์ 3 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นที่แรกที่บอแอลยืนยันว่า เธอเป็นพระราชธิดากษัตริย์อัลแบร์ที่ 2[15] เธออ้างว่าเมื่อครั้งเธอย้ายไปอาศัยที่ประเทศอังกฤษขณะอายุ 9 ขวบ เจ้าชายอัลแบร์ (ขณะนั้นยังไม่เสวยราชสมบัติ) มีพระราชประสงค์ที่จะหย่ากับเจ้าหญิงเปาลา และย้ายไปอยู่กับครอบครัวของเธอ แต่มารดาเธอปฏิเสธเพราะอาจเกิดผลลบทางการเมืองแก่เจ้าชายอัลแบร์[16] บอแอลกล่าวว่ามารดาบอกเรื่องพ่อที่แท้จริงแก่เธอตั้งแต่เธออายุ 17 ปี และในการสัมภาษณ์ เธอกล่าวว่าเธอโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์อัลแบร์ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 33 พรรษา โดยปลายสายตอบกลับมาว่า "อย่าโทรหาผมอีก คุณไม่ใช่ลูกสาวของผม" บอแอลกล่าวว่าคำพูดนี้แทงใจดำเธอยิ่งนัก[16] และกล่าวอีกว่าเธอพยายามติดต่อกษัตริย์อัลแบร์ทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ จดหมาย ผ่านเพื่อนและนักการเมือง แต่ทุกอย่างล้มเหลว[16]
มิถุนายน พ.ศ. 2556 บอแอลติดต่อให้กษัตริย์อัลแบร์ เจ้าชายฟีลิป และเจ้าหญิงอัสตริดขึ้นศาล[14] บอแอลหวังที่จะใช้การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความจริง แต่เพราะกษัตริย์อัลแบร์ยังได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เธอจึงเชิญเจ้าชายฟีลิปและเจ้าหญิงอัสตริดซึ่งเป็นพี่ต่างมารดาเข้าร่วมด้วย[17][18] หลังกษัตริย์อัลแบร์สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เพราะปัญหาด้านพลานามัย การคุ้มครองทางกฎหมายจึงสิ้นสุดลง เธอจึงดำเนินคดีต่อ แต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ศาลตัดสินว่าคำร้องของเธอไม่มีมูล ทนายของบอแอลจึงทำการอุทธรณ์[19]
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ศาลมีคำสั่งให้อดีตกษัตริย์อัลแบร์ตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อของบอแอล[20] มกราคม พ.ศ. 2563 อดีตกษัตริย์อุทธรณ์คำตัดสินของศาล เพราะพระองค์ทรงปฏิเสธการตรวจดีเอ็นเอ และวันที่ 16 พฤษภาคมปีเดียวกัน ศาลอุทธรณ์กรุงบรัสเซลส์มีคำสั่งให้อดีตกษัตริย์อัลแบร์ชำระค่าปรับวันละ 5,000 ยูโรแก่บอแอล ตามจำนวนวันที่พระองค์ปฏิเสธที่จะตรวจดีเอ็นเอ[21][22][23]
27 มกราคม พ.ศ. 2563 ผลดีเอ็นเอระบุว่าอดีตกษัตริย์อัลแบร์เป็นบิดาของแดลฟีน บอแอล จริง[24][25] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 แดลฟีน บอแอล และบุตรสองคน ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าโดยศาลอุทธรณ์กรุงบรัสเซลส์ แต่เพราะบอแอลเป็นบุตรนอกสมรส จึงมิได้อยู่ในสายการสืบราชสันตติวงศ์[26] แดลฟีน บอแอลและบุตรจะไม่ได้รับเงินพระราชทานในฐานะพระราชวงศ์ แต่จะได้รับเงินในส่วนที่จะได้รับโดยชอบตามกฎหมาย จำนวน 3.4 ล้านยูโร จากอดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2[27] ตามกฎหมายเบลเยียม เจ้าหญิงแดลฟีนมีสิทธิในมรดกราวหนึ่งในแปดของอดีตกษัตริย์อัลแบร์ แต่บางแห่งก็ว่าอดีตกษัตริย์พระองค์นี้เปลี่ยนแปลงพระราชพินัยกรรมให้พระราชมรดกทั้งหมดตกสู่อดีตพระราชินีเปาลา ก่อนตกถึงพระราชธิดานอกสมรสพระองค์นี้[6]
บอแอลในฐานะเจ้าหญิงเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป พระเชษฐาต่างพระชนนี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ณ พระราชวังลาเคิน[28][29] วันรุ่งขึ้น อดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 มีพระราชดำรัสในงานแถลงข่าว ทรงตรัสว่า "ข้าพเจ้าและภรรยามีความสำราญใจยิ่งกับการเริ่มต้นที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นเครื่องหมายแห่งความสุขสำหรับทุกคน โดยเฉพาะแดลฟีน"[30][31]
25 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เจ้าหญิงแดลฟีนถูกรับเชิญไปเข้าเฝ้าอดีตกษัตริย์อัลแบร์ที่ 2 และอดีตพระราชินีเปาลาที่ปราสาทแบลเวแดร์ (Château du Belvédère)[32] และในวันชาติเบลเยียมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เจ้าหญิงแดลฟีนและพระภัสดาเข้าร่วมพิธีการกับพระบรมวงศานุวงศ์เบลเยียมเป็นครั้งแรก[33]
เจ้าหญิงแดลฟีนทรงคบหากับเจมส์ "จิม" โอแฮร์ (James "Jim" O'Hare) ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช ตั้งแต่ พ.ศ. 2543[34][35] ทั้งสองมีโอรส-ธิดาด้วยกันสองพระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงโฌเซฟีน (ประสูติ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2546) และเจ้าชายออสการ์ (ประสูติ 28 เมษายน พ.ศ. 2551)[36][37]
เจ้าหญิงแดลฟีนเป็นศิลปิน สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเชลซีในลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นวิทยากรรับเชิญของสถาบันวิจิตรศิลป์ขั้นสูง (แอนต์เวิร์ป) และโรงเรียนศิลปะมาสทริชต์[38]
เจ้าหญิงแดลฟีนทรงก่อตั้งกองทุนแดลฟีนแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกนต์เพื่อส่งเสริมการใช้ศิลปะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ
ผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ "รักไม่มีวันหมดอายุ" จัดแสดงอยู่ในสวนสาธารณะในเมืองซินต์-นีกลาส (Sint-Niklaas)
ตราอาร์ม | นิยาม |
---|---|
| |
พงศาวลีของเจ้าหญิงแดลฟีนแห่งเบลเยียม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.