Loading AI tools
อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน (เขมร: សម្តេចអគ្គមហាសេនាបតី តេជោ ហ៊ុន សែន สมฺเตจอคฺคมหาเสนาบตี เตโช หุน แสน)[3] เรียกสั้น ๆ ว่า ฮุน เซน (ហ៊ុន សែន ออกเสียง ฮุน แซน[4]; เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2494) ประธานคณะองคมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นนักการเมืองชาวกัมพูชาและอดีตผู้บัญชาการทหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา และสมาชิกรัฐสภากัมพูชา เขายังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2541[5] ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศกัมพูชา และเป็นหนึ่งในผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จอมพล สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน | |
---|---|
ហ៊ុន សែន | |
ฮุน เซน ใน พ.ศ. 2562 | |
ประธานพฤฒสภากัมพูชา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2567 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี |
รอง | Prak Sokhonn Ouch Borith |
ก่อนหน้า | สาย ฌุม |
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา[a] | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
กษัตริย์ | |
รอง | Sar Kheng ฮอ นำฮง เตีย บัญ Bin Chhin Yim Chhaily Men Sam An Ke Kim Yan Prak Sokhonn อุน พรมนนิโรธ เจีย โสภารา |
ก่อนหน้า | ตนเอง ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่สอง |
ถัดไป | ฮุน มาแณต |
นายกรัฐมนตรีที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2536 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
รอง | Sar Kheng |
นายกรัฐมนตรีที่หนึ่ง | นโรดม รณฤทธิ์ (2536–2540) อึง ฮวด (2540–2541) |
ก่อนหน้า | นโรดม รณฤทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนเดียว |
ถัดไป | ตนเอง ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนเดียว |
ดำรงตำแหน่ง 14 มกราคม พ.ศ. 2528 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 รักษาการ: 26 ธันวาคม พ.ศ. 2527 – 14 มกราคม พ.ศ. 2528 | |
ประธานาธิบดี | |
รอง | ตนเอง Bou Thang เจีย สุทธ Sar Kheng |
ก่อนหน้า | จัน ซี |
ถัดไป | นโรดม รณฤทธิ์ |
ประธานพรรคประชาชนกัมพูชา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | |
รอง | Sar Kheng Say Chhum เตีย บัญ Men Sam An |
ก่อนหน้า | เจีย ซีม |
สมาชิกรัฐสภากัมพูชา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
เขตเลือกตั้ง | กำปงจาม (2536–2541) กันดาล (2541–ปัจจุบัน) |
คะแนนเสียง | 422,253 (75.33%) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | กอง กรอม |
ถัดไป | ฮอ นำฮง |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2522 – ธันวาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | |
ก่อนหน้า | เอียง ซารี |
ถัดไป | กอง กรอม |
รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2528 | |
ประธานาธิบดี | เฮง สำริน |
นายกรัฐมนตรี | แปน โสวัณ จัน ซี ตนเอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฮุน บันนัล 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 เปียมเกาะสนา อำเภอสตึงตราง จังหวัดกำปงจาม กัมพูชา อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เชื้อชาติ | กัมพูชา |
พรรคการเมือง | พรรคประชาชนกัมพูชา |
คู่สมรส | บุน รานี (สมรส 1976) |
บุตร | 5, รวมมาแณต, Manith และ มานี |
บุพการี | Hun Neang Dee Yon |
รางวัล | Grand Order of National Merit |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | เขมรแดง/กัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชา กัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา |
สังกัด | เขมรแดง แนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชา/กองทัพปฎิวัติประชาชนกัมปูเจีย กองทัพปฎิวัติประชาชนกัมพูชา กองทัพบกกัมพูชา |
ประจำการ | 2513–2542 |
ยศ | นายอุตฺตมเสนีย์ผุตเลข (จอมพล) [1][2] |
บังคับบัญชา | กัมพูชาประชาธิปไตย – ภูมิภาคตะวันออก |
ผ่านศึก | สงครามกลางเมืองกัมพูชา (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่) สงครามกัมพูชา-เวียดนาม |
ในวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 ฮุน เซน ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และประกาศให้ฮุน มาแณต บุตรชายคนโต สืบทอดตำแหน่งนี้ต่อไป[6] ทั้งนี้ เขาจะยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา, สมาชิกรัฐสภากัมพูชา รวมถึงยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี และประธานพฤฒสภากัมพูชา หลังการเลือกตั้งพฤฒสภาในปีถัดไปด้วย[7]
ฮุน เซนเกิดในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (ในประวัติอย่างเป็นทางการคือวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2494)ที่เปียมเกาะสนา จังหวัดกำปงจาม เดิมมีชื่อ ฮุน โบนาล (หรือ ฮุน นาล)[8] เขาเป็นลูกคนที่สามจากลูกทั้งหมด 6 คนของ ฮุน เนียง พ่อของเขา ผู้เป็นพระภิกษุประจำวัดท้องถิ่นในกำปงจาม ก่อนจะสึกเพื่อเข้าร่วมกองกำลังต่อต้านฝรั่งเศส และแต่งงานกับ ดี ยอง แม่ของฮุน เซน ปู่ย่าตายายฝ่ายพ่อของ ฮุน เนียงเป็นเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย ซึ่งมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว[9][10]
ฮุน เนียงได้รับมรดกทรัพย์สินของครอบครัวบางส่วน ซึ่งรวมถึงที่ดินหลายเฮกตาร์ และมีชีวิตที่ค่อนข้างสุขสบาย จนกระทั่งเหตุการณ์ลักพาตัวที่ทำให้ครอบครัวต้องขายทรัพย์สินส่วนใหญ่ออกไป[11] ฮุน นาล ออกจากครอบครัวตอนเขาอายุ 13 ปี เพื่อเข้าเรียนโรงเรียนสงฆ์ที่พนมเปญ ในเวลานั้น เขาเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น ฤทธิ เซน หรือสั้น ๆ ว่า เซน เนื่องจากชื่อก่อนหน้า (นาล) มักเป็นชื่อเล่นสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกิน[8] ซึ่งเขามักถูกเรียกว่า ฮุน โบนาล[b]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ราชอาณาจักรกัมพูชาภายใต้เจ้านโรดมสีหนุ ได้ถูกโค่นล้มโดยนายพลลอน นอลในแผนการการรัฐประหารปี พ.ศ. 2513 ซึ่งองค์การซีไอเอ (CIA) ของสหรัฐอเมริกา หนุนอยู่เบื้องหลัง ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฮุน เซนใน พ.ศ. 2515 เมื่อเห็นว่ากัมพูชาตกอยู่ในสงคราม ฮุน เซนในวัย 18 ปี ได้เข้าร่วมกับเขมรแดงซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยม เพื่อตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของ เจ้านโรดมสีหนุ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่ถูกยึดอำนาจไป
เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2518 ฮุน เซนได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาข้างซ้ายจนในที่สุด ดวงตาข้างซ้ายได้บอดสนิทเนื่องจากเขาได้รับบาดเจ็บขณะสู้รบในช่วงการล่มสลายของพนมเปญ[12]
หลังจากนั้นสองปีหลังเข้าร่วมเป็นทหารให้กับเขมรแดง เขาสู้รบให้กับเขมรแดงในสงครามกลางเมืองกัมพูชา และเป็นผู้บังคับกองพันของกัมพูชาประชาธิปไตย
ในปี พ.ศ. 2520 ฮุน เซนไม่พอใจกับระบอบการเมืองที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพล พต ฮุน เซนได้ละทิ้งครอบครัวอันเป็นที่รักอีกครั้ง เพื่อเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประเทศและประชาชนจากระบอบที่เลวร้ายนี้
ในปี พ.ศ. 2521 ฮุน เซนและเฮง สัมรินได้แปรพักตร์ไปเข้ากับเวียดนาม โดยแอบหนีทัพเข้าชายแดนเวียดนามและได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติกัมพูชาที่เรียกว่าแนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาซึ่งร่วมมือกับขบวนการรักชาติหลายกลุ่มที่เวียดนามให้การสนับสนุนและกองทัพอาสาสมัครเวียดนามเพื่อเข้าปลดปล่อยดินแดนกัมพูชาจากเขมรแดงของกลุ่มพอล พต
ในปี พ.ศ. 2522 เขาได้นำกองกำลังที่เข้าร่วมกับกองทหารจากเวียดนามเพื่อโค่นล้มระบอบเขมรแดง การเคลื่อนไหวนี้ได้ปลดปล่อยประเทศและประชาชนกัมพูชาจากระบอบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา และตั้งแต่นั้นมาเขาก็กลายเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและมีชื่อเสียง และสู้รบร่วมกับกองทัพเวียดนามในสงครามกัมพูชา–เวียดนาม เมิ่อรบชนะและโค่นล้มเขมรแดงของพอล พตลงได้ เวียดนามได้เข้ายึดครองกัมพูชาและได้สนับสนุนให้เขาเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดที่เวียดนามตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 ถึง 2529 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2530 ถึง 2533[13] ตอนอายุ 26 ปี เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศที่อายุน้อยที่สุดในโลกในเวลานั้น[14]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2536 ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในการบริหารประเทศกัมพูชา (สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา และรัฐกัมพูชา) รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง 2528
ฮุน เซนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2528 เมื่อรัฐสภาพรรคเดียวแต่งตั้งเขาให้ดำรงตำแหน่งต่อจากจัน ซีที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2527 เขาดำรงตำแหน่งนั้นจนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ฮุน เซนเป็นหนึ่งในผู้ลงนามหลักในสนธิสัญญาสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 อันเป็นผลจากข้อตกลงนี้ นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2536 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2541 ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับนโรดม รณฤทธิ์ในรัฐบาลผสมชุดแรกของรัฐสภา
การเลือกตั้งที่สหประชาชาติหนุนใน พ.ศ. 2536 ที่ก่อให้เกิดสภาแขวน ทำให้พรรคฝ่ายค้าน พรรคฟุนซินเปก ชนะผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่ ฮุน เซนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้[15] หลังเจรจากับพรรคฟุนซินเปกของนโรดม รณฤทธิ์และฮุน เซนยอมรับที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วมกับนโรดม รณฤทธิ์ โดยฮุน เซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและเจ้ารณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองตามลำดับอีกครั้ง ถือเป็นครั้งแรกในกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีถึงสองคน จนกระทั่งความเป็นพันธมิตรแตกสลายและฮุน เซนมีส่วนบงการในรัฐประหารใน พ.ศ. 2540 ที่โค่นล้มนโรดม รณฤทธิ์เพื่อที่ฮุน เซนจะได้รวบอำนาจไว้แต่ผู้เดียว
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2541 ฮุน เซน ได้นำพรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้ง จนประสบความสำเร็จและได้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เขาเป็นผู้นำรัฐบาลผสมเป็นสมัยที่ 2 ของสมัชชาแห่งชาติซึ่งมีสองพรรคใหญ่คือ พรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคฟุนซินเปก ภายใต้การนำของฮุน เซน กัมพูชากลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ใน ประชาคมอาเซียน
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา เขานำพรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องและมักเป็นที่ถกเถียง ควบคุมการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังรวมถึงการทุจริต, การทำลายป่า และการละเมิดสิทธิมนุษยชน[16][17][18][19]
ในนามของสมเด็จฮุน เซน ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคพรรคประชาชนกัมพูชา เขานำชัยชนะอย่างถล่มทลายอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 หลังจากปัญหาทางการเมือง ฮุน เซน ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปคเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่นำรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาชนกัมพูชา ได้รับ 90 ที่นั่งจากทั้งหมด 123 ที่นั่งในสภาแห่งชาติของสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเตโช ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาใน สมัยที่สี่ของรัฐสภา วาระห้าปี (พ.ศ. 2551-2556)
ในพ.ศ. 2556 ฮุน เซนและพรรคฯ ได้รับเลือกใหม่ด้วยเสียงข้างมากที่ลดลงอย่างมาก ข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อโกงผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำไปสู่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลทั่วประเทศ
จากนั้นในพ.ศ. 2561 เขาได้รับเลือกใหม่ในสมัยที่ 6 จากการสำรวจความคิดเห็นที่ไม่มีใครคัดค้านหลังจากการยุบพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคของเขาได้รับที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา[20] ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6 ที่มีพรรคเดียวโดยพฤตินัย[16]
ฮุน เซนมีความโดดเด่นในพรรคการเมืองฝ่ายคอมมิวนิสต์, มากซ์-เลนิน และปัจจุบันในฝ่ายทุนนิยมโดยรัฐและอนุรักษนิยมทางชาติ (national conservative) และแม้ว่าชาตินิยมเขมรเป็นคุณลักษณะที่สอดคล้องกันทั้งหมด คาดกันว่าเขาไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองหลัก[21][22] ส่วนในด้านนโยบายต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฮุน เซนได้ยกความเป็นพันธมิตรทางการทูตและเศรษฐกิจกับจีนให้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศกัมพูชาภายใต้ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง[23][24][25] ในขณะเดียวกัน เขามักวิพากษ์วิจารณ์มหาอำนาจตะวันตกเพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรกัมพูชาเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน[26][27] และดูแลข้อพิพาททางการทูตกับไทยในหลายครั้ง[28][29]
ฮุน เซน ได้รับการศึกษาในระบบน้อยมาก เพราะเติบโตมาในท่ามกลางสงคราม หลังจากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่บ้านเกิดในปี พ.ศ. 2508 ฮุน เซนได้มาพำนำที่กรุงพนมเปญ โดยพักอาศัยที่วัดนาควาน (Neakvoan) ซึ่งฮุน เซนต้องมาเป็นเด็กวัด ภายใต้การดูแลของสมภารที่ชื่อ “มง ฤทธี” และศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมอินทราเทวี (Indra Devi) เพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา
เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญาตรีด้านรัฐศาสตร์การเมืองจากจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศกัมพูชา และมีสถาบันการศึกษาต่างๆ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์รวมทั้งสิ้น 11 ปริญญา ได้แก่
นอกจากภาษาเขมรแล้ว ฮุน เซนสามารถพูดภาษาเวียดนามได้อย่างดี สามารถพูดภาษาอังกฤษได้บางส่วนหลังเริ่มเรียนในปี 2533 แต่เมื่อให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับสื่อที่ใช้ภาษาอังกฤษ เขาจะสนทนาผ่านล่าม[30]
ฮุน เซน ได้สมรสกับสมเด็จกิตติวุฒิบัณฑิต บุน รานี ทั้งคู่มีบุตรชาย 4 คน บุตรสาว 2 คน และบุตรสาวบุญธรรม 1 คน ได้แก่ฮุน กอมซอต(เสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด), ฮุน มาเนต, ฮุน มานา, ฮุน มานิต, ฮุน มานี และฮุน มาลี ทั้งคู่รับบุตรสาวบุญธรรมคือฮุน มาลิส ใน พ.ศ. 2531 แต่ยกเลิกสถานะนี้ใน พ.ศ. 2550 เนื่องจากเธอเป็นเลสเบี้ยน[31][32] ใน พ.ศ. 2553 ฮุน มาเนตได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นพลตรีในกองทัพพระราชอาณาจักรกัมพูชา และกลายเป็นรองผู้บัญชาการกองบัญชาการองครักษ์ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลูกชายทั้งสามคนของฮุน เซนมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลของเขา[33]
ฮุน เซนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระ นโรดม สีหนุ เป็น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เนื่องจากได้รับการยอมรับในความพยายามเพื่อความสมานฉันท์ในชาติ สันติภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ยังมีบุคคลที่สำคัญกัมพูชาได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์อีก 3 ท่าน คือ สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล เจีย ซีม ประธานพฤฒสภากัมพูชา (วุฒิสภา) สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน ประธานรัฐสภากัมพูชา พร้อมกับดำรงตำแหน่งจอมพล (พลเอก 5 ดาว) แห่งกองทัพกัมพูชา[34][35] และสมเด็จกิตติวุฒิบัณฑิต (บุน รานี) ภริยาของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.