อับดุล ราซัก (อูรดู: عبدالرزاق) หรือ อู้ยาซะ (พม่า: ဦးရာဇတ်, ออกเสียง: [ʔú jàzaʔ]; เกิดเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2440) เป็นนักการเมืองและนักการศึกษาชาวพม่า เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและการวางแผนแห่งชาติในรัฐบาลของอองซานก่อนได้รับเอกราช และเป็นประธานสภามุสลิมพม่า เขาถูกลอบสังหารเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490[1]

ข้อมูลเบื้องต้น อู้ ยาซะ ဦးရာဇတ်อับดุล ราซัก عبدالرزاق, ประธานกระทรวงศึกษาธิการและแผนระดับชาติ ...
อู้ ยาซะ
ဦးရာဇတ်
อับดุล ราซัก عبدالرزاق
ประธานกระทรวงศึกษาธิการและแผนระดับชาติ
ดำรงตำแหน่ง
กันยายน ค.ศ. 1946  19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
นายกรัฐมนตรีอองซาน
ก่อนหน้าไม่ใช้
ถัดไปไม่ใช้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม ค.ศ. 1898(1898-01-20)
เมะทีลา, พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร, บริติชราช
เสียชีวิต19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947(1947-07-19) (49 ปี)
ย่างกุ้ง, พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
บุพการีเชกอับดุล เราะห์มาน (พ่อ)
เญ่น-ละ (แม่)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ลายมือชื่อThumb
ปิด

ราซักเกิดที่เมะทีลาในพม่าตอนบน บิดาของเขาคือเชกอับดุล ระห์มานซึ่งเป็นตำรวจชาวอินเดีย มารดาเป็นชาวพม่าและเป็นชาวพุทธชื่อ เญ่น-ละ พี่น้องของเขามีความใกล้ชิดกับพุทธศาสนาแต่เขายังคงใช้ชื่อมุสลิม ราซักต้องการเห็นเอกภาพของพม่าท่ามกลางความหลากหลาย เขาเข้าเรียนในโรงเรียนในมัณฑะเลย์ ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยย่างกุ้ง จนจบปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ[2] ใน พ.ศ. 2463 ราซักเป็นผู้นำนักศึกษาในการประท้วงระบบการศึกษาของอังกฤษใน พ.ศ. 2464 เขาเป็นผู้นำของโรงเรียนมัธยมแห่งชาติมัณฑะเลย์ แม้ว่าราซักจะเป็นลูกผสมระหว่างพม่า-อินดียแต่เขาก็ได้รับความนิยมจากทุกชุมชน[2] ในช่วงที่ญี่ปุ่นรุกรานพม่า เขาถูกคุมขังอยู่ ใน พ.ศ. 2488 ราซักเป็นผู้นำของสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์สาขามัณฑะเลย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนจากมัณฑะเลย์ และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของอองซานก่อนจะเสียชีวิตพร้อมกัน

ราซักเป็นผู้เรียกร้องให้มีเอกภาพระหว่างชาวพม่าที่เป็นพุทธและมุสลิม เขาเองเป็นมุสลิม แต่เขาก็สนใจพุทธศาสนาและเรียนภาษาบาลีด้วยตนเอง และมีส่วนร่วมช่วยก่อตั้งมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.