Loading AI tools
หน่วยงานสื่อสารมวลชนสาธารณะของรัฐบาลไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ชื่อย่อ ส.ส.ท. (อังกฤษ: Thai Public Broadcasting Service; TPBS) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีสถานะเป็นนิติบุคคลมหาชน[1] จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551[3] มีหน้าที่เป็นสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
Thai Public Broadcasting Services | |
ภาพรวมองค์การ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 15 มกราคม พ.ศ. 2551 |
องค์การก่อนหน้า | |
ประเภท | หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นนิติบุคคลมหาชน[1] |
สำนักงานใหญ่ | 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
งบประมาณต่อปี | 2,839,720,000 บาท (พ.ศ. 2566)[a][2] |
ฝ่ายบริหารองค์การ |
|
ต้นสังกัดองค์การ | สำนักนายกรัฐมนตรี |
ลูกสังกัด |
|
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ขององค์การ |
ส.ส.ท. เกิดขึ้นหลังจากการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียึดสัมปทานคืนจากไอทีวี และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำช่องสัญญาณดังกล่าวมาจัดตั้งเป็น สถานีโทรทัศน์สาธารณะ โดยให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินงานชั่วคราว ก่อนมีการจัดตั้ง ส.ส.ท. โดยได้รับโอนกิจการและเข้ามาบริหารงาน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังทดลองออกอากาศ 1 เดือน
เมื่อปี 2549 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ให้ไอทีวี กลับไปจ่ายค่าสัมปทานปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการในช่วงเวลายอดนิยมให้มีรายการสาระประโยชน์ร้อยละ 70 และรายการบันเทิงร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547[4] หลังจากนั้นไอทีวี ไม่สามารถจ่ายค่าปรับจำนวน 101,000,000,000 บาท[5][6] ดังกล่าวให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ทำให้สัมปทานคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกยึดคืนมาเป็นของรัฐ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในระยะแรกรัฐบาล โดยกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีชั่วคราว[7] ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550[8] ถึงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551[9]
ช่วงกลางปี 2550 ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ได้เสนอร่างกฎหมายให้ไอทีวีเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. ส่งผลให้กรมประชาสัมพันธ์ได้ยุติการดำเนินการออกอากาศและส่งต่อภารกิจดังกล่าวให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน ต่อมา ส.ส.ท. ได้รับโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ คลื่นความถี่ และภาระผูกพันของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. ส.ส.ท.[10][3]
พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดโครงสร้างการบริหารของ ส.ส.ท. เป็น 2 ส่วน คือ คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร โดยบทเฉพาะกาลมาตรา 58 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการไม่เกิน 5 คน เป็นคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ได้มีการสรรหาไว้แล้วภายใน 180 วันนับแต่วันใช้บังคับ โดยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการ
คณะกรรมการนโยบายมีจำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ๆ อีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสื่อสารมวลชน 2 คน ด้านบริหารจัดการองค์กร 3 คน และด้านประชาสังคม 4 คน
มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบในแผนการดำเนินงาน แผนการจัดผังรายการ และแผนงบประมาณขององค์การ กำหนดระเบียบการดำเนินงาน และคุ้มครองสวัสดิภาพ และความอิสระในการทำงานของพนักงานในองค์การ รวมถึงการควบคุมดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร โดยที่คณะกรรมการนโยบายมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
คณะกรรมการนโยบายชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยดังนี้[11][12][13][14][15][16]
ด้านการบริหารจัดการองค์กร
ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุมชนฯ หรือ ท้องถิ่นการเรียนรู้และศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือ การส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
ด้านกิจการสื่อสารมวลชน
คณะกรรมการบริหารมีทั้งหมด 11 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง รองผู้อำนวยการจำนวนไม่เกิน 6 คน และกรรมการบริหารจำนวนไม่เกิน 4 คน ทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส การดำเนินงานขององค์การ การจัดทำแผนการดำเนินงาน รวมไปจนถึงการประเมินคุณภาพของรายการ ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีเช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบาย
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[19][20] โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีดังต่อไปนี้
ตาม พ.ร.บ. ส.ส.ท. มาตรา 11 กำหนดแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะใช้ในการบริหารงานของ ส.ส.ท. ไว้ดังต่อไปนี้
สำหรับการรับเงินตามข้อ 5 ต้องไม่ทำให้องค์การขาดความเป็นอิสระในการดำเนินงาน หรือให้กระทำการอันขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์ขององค์การฯ และตามข้อ 2 และ 3 ต้องใช้สนับสนุนพัฒนาศักยภาพ และให้โอกาสสร้างสรรค์แก่ผู้ผลิตรายการอิสระในอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของรายได้ดังกล่าว ทั้งนี้ รายได้ขององค์การฯ ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ[3]
พ.ร.บ. ส.ส.ท. กำหนดให้ ส.ส.ท. มีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพดานสูงสุดของเงินได้ทุก ๆ 3 ปี)[3]
ในช่วงระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง ส.ส.ท. ได้ใช้พื้นที่ชั้น 13 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ซึ่งเป็นสำนักงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม เป็นสำนักงานชั่วคราว ต่อมา ส.ส.ท. ได้สร้างอาคารสำนักงานถาวร ติดกับสโมสรตำรวจ เริ่มทำงานที่สำนักงานใหญ่ตั้งแต่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 และเริ่มออกอากาศจากสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสำนักงานใหญ่ ในวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[22]
อาคารสำนักงานใหญ่ ส.ส.ท. ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 4 หลัง ได้แก่
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นสถานีโทรทัศน์ออกอากาศผ่านเสาอากาศภาคพื้นดินแห่งที่ 6 ของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ภายใต้ชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี แต่เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมานั้น ได้ออกอากาศเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ชึ่งเป็นรูปแบบปัจจุบัน ก่อนออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนหลัง คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ทางสถานีฯ ส่งสัญญาณออกอากาศทางโทรทัศน์สีในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (ระบบแอนะล็อก) และช่อง 3 (ระบบดิจิทัล) จากกรุงเทพมหานคร และมีสถานีเครือข่ายในภูมิภาคอีกด้วย
สถานีฯ ได้นำเสนอการรายงานข่าวสาร สาระบันเทิง รายการเพื่อเด็กและเยาวชน และรายการความรู้ ที่บริหารด้วยความเป็นไทย มีความสมดุล ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ มุ่งดำเนินการโดยปราศจากอคติทางการเมือง และผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นต้น
สถานีวิทยุไทยพีบีเอส เป็นสถานีวิทยุของไทยพีบีเอสที่กระจายเสียงในระบบออนไลน์ ซึ่งเสนอรายการข่าวสาร (บางรายการรับสัญญาณการออกอากาศจากความถี่เสียงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) สาระต่างๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคม โดยสามารถรับฟังการกระจายเสียงของสถานีฯ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.thaipbsradio.com
เป็นส่วนหนึ่งของ ส.ส.ท. ที่มีสมาชิก 50 คน ที่คัดเลือกจากผู้สมัครจากแต่ละกลุ่ม มากลุ่มละ 4 คน และคณะกรรมนโยบายมาคัดเลือกอีกทีหนึ่งโดยคัดเลือกให้เลือกเพียง 50 คนที่ กฎหมาย เพื่อเป็นกลไลในการรับฟังความคิด นอกจากนี้ยังผู้ตรวจสอบภายในและศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส เพื่อให้ไทยพีบีเอส วิทยุไทย และสื่อใน ส.ส.ท. เป็นสิ่งที่ตอบสนองคนทุกกลุ่มได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม
เป็นหน่วยงานที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันตรวจสอบพฤติกรรมการผลิตและดำเนินรายการต่าง ๆ ของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ของไทยพีบีเอสไปพร้อมกันกับผู้ชมและผู้ฟังการออกอากาศ
รายนามผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีดังต่อไปนี้
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย | |
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. เทพชัย หย่อง | 15 มกราคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รักษาการผู้อำนวยการสถานี ตามมติคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ส.ส.ท.) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | |
2. สมชัย สุวรรณบรรณ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[23] |
3. พวงรัตน์ สองเมือง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558[24] - 31 มกราคม พ.ศ. 2559(ผู้อำนวยการสำนักรายการ รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
4. ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[25] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2560[26] |
5. อนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ | 16 มีนาคม[27]- 15 เมษายน พ.ศ. 2560 (รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ไปพลางก่อน) |
6. ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ | 16 เมษายน[28] - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (ผู้อำนวยการสำนักข่าว รักษาการผู้อำนวยการตามมติคณะกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.) |
7. รองศาสตราจารย์วิลาสินี พิพิธกุล | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[29] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.