Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Mathilde, Reine des Belges; ดัตช์: Mathilde, koningin der Belgen; พระราชสมภพ: 20 มกราคม พ.ศ. 2516) หรือพระนามเดิมว่า มาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน ดูว์เดอแกม ดาโก (Mathilde Marie Christiane Ghislaine d'Udekem d'Acoz) เป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม ทรงมีเชื้อสายสืบแต่สกุลขุนนางของโปแลนด์[1][2] พระองค์เป็นพระราชินีพระองค์แรกที่ถือสัญชาติเบลเยียม ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราชสวามี
มาตีลด์ | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม | |
ดำรงพระยศ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน |
ก่อนหน้า | เปาลา |
พระราชสมภพ | มาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน 20 มกราคม พ.ศ. 2516 อูคเคิล ประเทศเบลเยียม |
พระราชสวามี | สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน) |
พระบุตร | |
ราชวงศ์ | ดูว์เดอแกม ดาโก |
พระราชบิดา | เคานต์ปาทริก ดูว์เดอแกม ดาโก |
พระราชมารดา | เคาน์เตสอันนา มารียา คอมอรอฟสกา |
สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นธิดาคนแรกจากบุตรทั้งห้าคนของเคานต์ปาทริก ดูว์เดอแกม ดาโก[3][4] กับเคาน์เตสอันนา มารียา[5] (สกุลเดิม คอมอรอฟสกา) พระชนกเป็นบุตรของบารอนชาร์ล ดูว์เดอแกม ดาโก มีเชื้อสายวอลลูน ส่วนพระชนนีเป็นพระธิดาของเคานต์มีคาเอล คอมอรอฟสกี กับเจ้าหญิงโซเฟีย ซาพีฮาแห่งกราชิตชึน[1]
พระองค์มีพระพี่น้อง 5 คน โดยมีพระองค์เป็นบุตรคนโต มีพระอนุชาและพระขนิษฐา ได้แก่
พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ อังกฤษ และอิตาลีได้ แม้ว่าจะทรงสืบเชื้อสายโปแลนด์มาจากพระชนนี แต่พระชนนีมิได้สอนภาษาโปแลนด์แก่พระองค์ ด้วยเห็นว่าไม่สำคัญนัก พระองค์จึงทราบเพียงคำในภาษาโปแลนด์ไม่กี่คำ[6]
พระองค์มีพระจริยวัตรนุ่มนวลงดงาม เรียบง่าย และเป็นกันเองกับประชาชนโดยทั่วไป[2] ชาวเบลเยียมเห็นด้วยว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปทรงสนพระทัยประกอบพระราชกรณียกิจมากขึ้น[2]
ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นสถาบันเวียร์ฌฟีแดล (Institut de la Vierge Fidèle) ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการฝึกอรรถบำบัด (เกียรตินิยม) จากสถาบันเสรีมารี ฮัปส์ (Institut Libre Marie Haps) ที่กรุงบรัสเซลส์ ช่วง พ.ศ. 2534–2537
สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ทรงงานเป็นนักอรรถบำบัด ช่วง พ.ศ. 2538–2542 ภายหลังทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งลูแวง และได้รับปริญญาบัตร (เกียรตินิยม) ใน พ.ศ. 2545
กษัตริย์ฟีลิปและพระองค์ทรงหมั้น และได้เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ทรงจดทะเบียนสมรสที่ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ และทำพิธีทางศาสนาที่มหาวิหารแซ็งมีเชลและแซ็งกูดูลา พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (ประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน และมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมปีเดียวกันนั้น) ทั้งสองมีพระโอรสและพระธิดา 4 พระองค์ คือ[7]
พระองค์เป็นแม่ทูนหัวของเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์และเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก
ในฐานะที่พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจและได้อุปถัมภ์องค์กรการกุศลหลายรายการ ทั้งนี้พระองค์มีส่วนร่วมในสภาเศรษฐกิจโลก พระองค์ได้ตั้งกองทุนขึ้นใน พ.ศ. 2544 เพื่อส่งเสริมดูแลบุคคลที่มีความเสี่ยง และรางวัลประจำปีแก่ผู้ที่ทำงานเป็นอย่างดี[8] เป็นต้นว่า การศึกษา สุขภาพสตรี และการปกป้องสตรีจากความรุนแรง[9]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของยูนิเซฟเบลเยียม โดยทรงหน้าที่พิเศษเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน[10]
พระองค์และพระราชสวามีนำผู้แทนทางเศรษฐกิจไปยังสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2554 และประเทศเวียดนามใน พ.ศ. 2555[11]
หลังการอภิเษกสมรส พระชนก และพระปิตุลาของพระองค์ ได้รับการสถาปนาเป็น เคานต์
พงศาวลีของสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.