Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2560 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยมีพายุโซนร้อน 27 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 11 ลูก และในจำนวนนี้เพียง 2 ลูกที่เป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาลนี้ชื่อ หมุ่ยฟ้า ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายชื่อ เท็มบิง สลายตัวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ย ในแง่ของการสะสมพลังงานในพายุหมุนและจำนวนของพายุไต้ฝุ่นและพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล พ.ศ. 2520 ที่ไม่มีพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สันเลย นอกจากนี้ยังเป็นฤดูที่มีพายุไต้ฝุ่นปรากฏเป็นลูกแรกขึ้นช้าที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยพายุไต้ฝุ่นโนรู มีกำลังแรงเป็นถึงพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 23 กรกฎาคม
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 | |
---|---|
แผนที่สรุปฤดูกาล | |
ขอบเขตฤดูกาล | |
ระบบแรกก่อตัว | 7 มกราคม พ.ศ. 2560 |
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | แลง |
• ลมแรงสูงสุด | 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที) |
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 915 hPa (มิลลิบาร์) |
สถิติฤดูกาล | |
พายุดีเปรสชันทั้งหมด | ทางการ 41 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก |
พายุโซนร้อนทั้งหมด | 27 ลูก |
พายุไต้ฝุ่น | 11 ลูก |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น | 2 ลูก (ไม่เป็นทางการ) |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | ทั้งหมด 864 คน |
ความเสียหายทั้งหมด | 1.453 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2017) |
ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย
วันที่พยากรณ์โดย TSR | จำนวน พายุโซนร้อน | จำนวน พายุไต้ฝุ่น | จำนวน พายุรุนแรง | ดัชนีเอซีอี | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
เฉลี่ย (2508–2559) | 26 | 16 | 9 | 297 | [1] |
5 พฤษภาคม 2560 | 27 | 17 | 10 | 357 | [1] |
6 กรกฎาคม 2560 | 25 | 15 | 7 | 250 | [2] |
8 สิงหาคม 2560 | 26 | 14 | 7 | 255 | [3] |
วันที่พยากรณ์ | ศูนย์พยากรณ์ | ช่วงเวลา | ระบบพายุ | อ้างอิง | |
20 มกราคม 2560 | PAGASA | มกราคม — มีนาคม | 1–2 ลูก | [4] | |
PAGASA | เมษายน — มิถุนายน | 2–4 ลูก | [4] | ||
26 มิถุนายน 2560 | CWB | 1 มกราคม — 31 ธันวาคม | 21–25 ลูก | [5] | |
6 กรกฎาคม 2560 | PAGASA | กรกฎาคม — กันยายน | 6–9 ลูก | [6] | |
PAGASA | ตุลาคม — ธันวาคม | 3–5 ลูก | [6] | ||
ฤดูกาล 2560 | ศูนย์พยากรณ์ | พายุหมุนเขตร้อน | พายุโซนร้อน | พายุไต้ฝุ่น | อ้างอิง |
เกิดขึ้นจริง: | JMA | 41 | 27 | 11 | |
เกิดขึ้นจริง: | JTWC | 33 | 26 | 12 | |
เกิดขึ้นจริง: | PAGASA | 22 | 16 | 4 |
ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของปีถูกเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 20 มกราคม ในการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] การคาดการณ์ดังกล่าวบันทึกว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสองลูกปรากฏขึ้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ขณะที่อีกสองถึงสี่ลูกจะก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงได้พยากรณ์ว่าฤดูพายุหมุนเขตร้อนปีนี้จะใกล้เคียงกับค่าปกติ คือ มีพายุหมุนเขตร้อนสี่ถึงเจ็ดลูกเข้าใกล้ในระยะ 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) ของดินแดนโดยที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่หก[7]
วันที่ 5 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ออกคำพยากรณ์แรกสำหรับฤดูกาลนี้ โดยคาดหมายว่ากิจกรรมของฤดูนี้จะมากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยโดยมีพายุ 27 ลูกในระดับโซนร้อน ในจำนวนนั้นมีพายุไต้ฝุ่น 17 ลูก และในจำนวนพายุไต้ฝุ่นเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 10 ลูก และมีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE) ที่ 357[1] ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางแห่งไต้หวัน ได้คาดการณ์ว่าฤดูกาลนี้จะเป็นปกติ โดยมีพายุ 21—25 ลูกก่อตัวขึ้นในแอ่ง โดยมีพายุสามถึงห้าลูกจะส่งผลกระทบกับไต้หวัน ต่อมาวันที่ 6 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับที่สองของฤดูกาล โดยลดจำนวนที่คาดการณ์ไว้เหลือเป็นพายุโซนร้อน 25 ลูก พายุไต้ฝุ่น 15 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 7 ลูก พร้อมคาดดัชนีเอซีอีที่ 250[2] ในวันเดียวกันนั้น PAGASA ก็ได้ออกประกาศฉบับที่สองและเป็นการคาดการณ์ภาพรวมฉบับสุดท้ายสำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคมเช่นกัน โดยคาดว่าจะมีพายุหกถึงเก้าลูกก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และในเดือนตุลาคมถึงธันวาคมอีกสามถึงห้าลูก ต่อมาวันที่ 8 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดการณ์ฉบับที่สามซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของฤดูกาล โดยเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนขึ้นเป็น 26 ลูก ในจำนวนนี้ 14 ลูกจะเป็นพายุไต้ฝุ่น และ 7 ลูกอาจเป็นได้ถึงพายุไต้ฝุ่นรุนแรง และปรับลดดัชนีเอซีอีลงไปที่ 255[3]
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2560 ฉบับปรับปรุงซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[8]
พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.) | พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.