ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Royal Academy) เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี[3] (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[4]

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่ออื่น, ชื่อย่อ ...
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
Thumb
ชื่ออื่นChulabhorn Royal Academy
ชื่อย่อCRA
คติพจน์เป็นเลิศ เพื่อทุกชีวิต
ประเภทสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2559; 8 ปีก่อน (2559-04-18)
ผู้สถาปนาศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
สังกัดการศึกษาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
งบประมาณ3,624,055,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
รักษาการเลขาธิการราชวิทยาลัยศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
อาจารย์139 คน (พ.ศ. 2562)[2]
บุคลากรทั้งหมด1,916 คน (พ.ศ. 2562)[2]
ที่ตั้ง
สี██ สีส้ม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของราชวิทยาลัย
ปิด

ประวัติ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยสมเด็จเจ้าฟ้าๆ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานนาม "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระรับหลักการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 และได้ลงมติในวาระ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ด้วยคะแนน 151–0 เสียงโดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานประสานกับองค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเริ่มรับนักศึกษาของราชวิทยาลัยรุ่นแรกในปีการศึกษา 2560[5]

Thumb
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในปี 2565

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม จึงได้ตัดกรรมการสภาราชวิทยาลัยที่มาจากสัดส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกด้วย อีกทั้งกำหนดให้อาจมีตำแหน่ง ประธานราชวิทยาลัย เพื่อให้สภาราชวิทยาลัยขอรับคำแนะนำและคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยจะแต่งตั้ง รองประธานราชวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ตามที่มอบหมายก็ได้[6]

กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยได้แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 7 คน[7] ดังนี้

  1. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสุพรรณ
  2. ศาสตราจารย์ ไผทชิต เอกจริยกร
  3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม
  4. รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม
  5. เลอสรร ธนสุกาญจน์
  6. วุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
  7. บุษยา มาทแล็ง

ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยได้แต่งตั้ง จรัมพร โชติกเสถียร เป็นกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

หน่วยงาน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกอบไปด้วยส่วนงานดังต่อไปนี้[6][8]

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.