Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุษยา มาทแล็ง (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2502) เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ[1] หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[2] กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ[3] กรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ[4] กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ[5] กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6]กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์[7] ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[8]กรรมการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[9]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ[10]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ[11]กรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า[12]กรรมการในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บุษยา มาทแล็ง | |
---|---|
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2559 – 1 ตุลาคม 2563 | |
กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2502 |
คู่สมรส | โลร็องท์ ชิลส์ มาทแล็ง |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมิชิแกน |
ในวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [13]
อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและอดีตผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นางบุษยา เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2502 สมรสกับ นาย โลร็องท์ ชิลส์ มาทแล็ง
นางบุษยาจบการศึกษาจาก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาภาษาฝรั่งเศส เกียรตินิยมอันดับที่ 1 และเหรียญทอง จากนั้นจึงไปศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์และเอเชียศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน จากนั้นจึงเดินทางกลับประเทศไทยและเข้ารับราชการที่ กระทรวงการต่างประเทศ
นางบุษยารับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ขณะอายุได้ 27 ปีในตำแหน่งนายเวร (ผู้ช่วยเลขานุการ) ประจำกองยุโรป กรมการเมือง หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จนกระทั่งวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 นางบุษยาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตามคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 1547/2539 [14] และเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550 อัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล และ พ.ศ. 2556 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 นางบุษบา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรสเปน ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชรัฐอันดอร์รา[15]ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเบลเยียม [16] วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ราชอาณาจักรเบลเยียม ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรปและประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป อีกตำแหน่งหนึ่ง[17]
ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งให้นางบุษยาซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศแทนนายอภิชาติ ชินวรรโณ ที่เกษียณอายุราชการโดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยให้มีผลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 [18]
บุษยา มาทแล็ง ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.