Loading AI tools
รัฐธรรมนูญไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | รัฐสภา |
ผู้ลงนาม | สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร |
วันลงนาม | 11 ตุลาคม 2540 |
ผู้ลงนามรับรอง | วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ประธานรัฐสภา) |
วันลงนามรับรอง | 11 ตุลาคม 2540 |
วันประกาศ | 11 ตุลาคม 2540 |
วันเริ่มใช้ | 11 ตุลาคม 2540 |
ท้องที่ใช้ | ไทย |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
ผู้ยกร่าง | สภาร่างรัฐธรรมนูญ |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548 | |
การยกเลิก | |
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 |
รัฐธรรมนูญ 2540 มาจากกระแสการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคมประชาธรรมปี 2535 ที่ประชาชนถูกปราบปรามจากกองทัพ หลังมีการชุมชุมขับไล่รัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นและกระแสเรียกร้องจากชนชั้นกลางที่มีพลังทำให้ พล.อ.สุจินดา ลาออก และนำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 ให้ “นายกฯ มาต้องมาจาก ส.ส.”และแก้ไขอีกหลายเรื่องให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ 2534 มีที่มาจากการรัฐประหารจึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการเกิดกระแสจัดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน [1]
การร่างรัฐธรรมนูญในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว จนกระทั่งพรรคความหวังใหม่ถอนตัวจากรัฐบาล ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถผลักดันรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ เพราะมีการเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ฯลฯ
การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 26 ธันวาคม 2539 [2] หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539
การเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ ล้วนเริ่มต้นจากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ[3]
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนพลังทางสังคมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างใหญ่ และนำไปสู่การสร้างแนวคิดพื้นฐานในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทย ที่เน้นให้ “คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนามาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม มีกระบวนการที่จะเชื่อมโยง มิติต่างๆ ของการพัฒนา ตลอดจนเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมในการจัดทำแผน [4]
เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2020 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 รัฐบาลในขณะนั้นจึงต้องแก้ไขปัญหาโครงสร้าง ด้วยกฎหมายสูงสุดของประเทศไทย หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงเปลี่ยนจากแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลก่อนหน้า เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการนำกระบวนทัศน์ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 โดยประชาชนมีส่วนร่วมมาใช้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ2540 และประสบผลสำเร็จ
การปฏิรูปประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ2540 มีผลต่อเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอื่นๆอีกหลายประการ
รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้รัฐสภาต้องออกกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญด้าน เศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา พลังงาน ยาเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2540 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
ความเป็นมาของกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540ด้านสุขภาพ2545 หรือ ประชาชนรู้จักในนาม30 บาทรักษาทุกโรค โดยใช้แนวคิดของ นานแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาใช้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 [5]
มาตรา 80 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ ผู้สูงอายุและผู้พิการจึงได้รับเบี้ยยังชีพตามรัฐธรรมนูญ และ สวัสดิการอื่นๆตามกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญอื่นๆ ตั้งแต่หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้เมื่อ 11ตุลาคม2540 จนกระทั่งถึง19กันยายน รัฐบาลทุกรัฐบาลซึ่งบริหารงานภายใต้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2540 ได้ผลักดันกฎหมายเพื่อประชาชนหลายฉบับ ตามแนวทางการพัฒนาโดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ[6]
เนื่องจากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ในที่สุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.