มณฑลกุ้ยโจว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลกุ้ยโจว (จีนตัวย่อ: 贵州省; จีนตัวเต็ม: 貴州省; พินอิน: Guìzhōu Shěng) หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว[5] เป็นมณฑลหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของมณฑลคือ กุ้ยหยาง ตั้งอยู่ตอนกลางของมณฑล มณฑลกุ้ยโจวติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีทางทิศใต้ ติดมณฑลยูนนานทางทิศตะวันตก ติดมณฑลเสฉวนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดเทศบาลนครฉงชิ่งทางทิศเหนือ และมณฑลหูหนานทางทิศตะวันออก ประชากรของมณฑลมีประมาณ 34 ล้านคน เป็นมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของประเทศจีน
มณฑลกุ้ยโจว 贵州省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | กุ้ยโจวเฉิ่ง (贵州省 Guìzhōu Shěng) |
• อักษรย่อ | GZ / เฉียน (黔 Qián) หรือ กุ้ย (贵 Guì) |
น้ำตกหฺวังกั่วชู่ น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลกุ้ยโจว | |
พิกัด: 26°50′N 106°50′E | |
ตั้งชื่อจาก | กุ้ย – ภูเขากุ้ย โจว – เขตการปกครองในประวัติศาสตร์จีน |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | กุ้ยหยาง |
เขตการปกครอง | 9 จังหวัด, 88 อำเภอ, 1539 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | ซุน จื้อกัง (孙志刚) |
• ผู้ว่าราชการ | เชิ่น อี้ฉิน (谌贻琴) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 176,167 ตร.กม. (68,018 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 16 |
ความสูงจุดสูงสุด | 2,900 เมตร (9,500 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2010)[2] | |
• ทั้งหมด | 34,746,468 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 19 |
• ความหนาแน่น | 200 คน/ตร.กม. (510 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 18 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น - 62% ม้ง - 12% ปู้อี - 8% ต้ง - 5% ตูเจีย - 4% ยี่ - 2% Gelao - 2% สุย - 1% อื่น ๆ - 2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ |
รหัส ISO 3166 | CN-GZ |
GDP (ค.ศ. 2017 [3]) | 1.35 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 200.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 25) |
• ต่อหัว | 37,956 เหรินหมินปี้ 5,622 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 29) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.680[4] ปานกลาง · อันดับที่ 29 |
เว็บไซต์ | http://www.gzgov.gov.cn (อักษรจีนตัวย่อ) |
พื้นที่ของมณฑลกุ้ยโจวเดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเตียน โดยต่อมาอาณาจักรเตียนได้ถูกผนวกเข้ากับแผ่นดินราชวงศ์ฮั่นเมื่อ 106 ปีก่อนคริสตกาล[6] มณฑลกุ้ยโจวได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1413 ในสมัยราชวงศ์หมิง หลังจากการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ. 1911 และมาตามด้วยการเกิดสงครามกลางเมืองจีน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้เข้าลี้ภัยในมณฑลกุ้ยโจวระหว่างการเดินทัพทางไกลในช่วงปี ค.ศ. 1934 และ 1935[7] และหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เหมา เจ๋อตงได้ส่งเสริมการย้ายอุตสาหกรรมหนักเข้ามายังมณฑลภายในประเทศดังเช่นมณฑลกุ้ยโจว เพื่อป้องกันการโจมตีจากโซเวียตและอเมริกา
เมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ในประเทศจีน มณฑลกุ้ยโจวไม่ได้รับประโยชน์มากนักจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน มณฑลกุ้ยโจวอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม อุตสาหกรรมที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในมณฑล ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรมพลังงาน และการทำเหมืองแร่ แต่ถึงกระนั้น มณฑลกุ้ยโจวก็ยังถือว่าเป็นมณฑลที่ค่อนข้างยากจนและเศรษฐกิจยังไม่พัฒนา โดยมีจีดีพีต่อหัวต่ำเป็นอันดับสามในประเทศจีน นำหน้าเพียงมณฑลกานซู และมณฑลยูนนานที่ตั้งอยู่ติดกัน อย่างไรก็ตาม มณฑลกุ้ยโจวนั้นเป็นหนึ่งในมณฑลที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในประเทศจีน[8] โดยรัฐบาลจีนกำลังมุ่งพัฒนากุ้ยโจวเพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล (data hub)[9][10]
มณฑลกุ้ยโจวตั้งอยู่บนส่วนตะวันออกของที่ราบสูงยฺหวินกุ้ย มีลักษณะภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขา โดยทางตะวันตกและตอนกลางเป็นที่สูง ในด้านประชากรศาสตร์ กุ้ยโจวเป็นหนึ่งในมณฑลที่มีความหลากหลายมากที่สุดในประเทศจีน โดยมีประชากรชนกลุ่มน้อยมากกว่าร้อยละ 37 ของประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ม้ง, ปู้อี, ต้ง, ตูเจีย และ Yi ซึ่งพูดภาษาที่แตกต่างจากภาษาจีน ภาษาหลักที่ใช้พูดในมณฑลกุ้ยโจว คือ ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาจีนกลาง
ภูมิประเทศเป็นแบบเทือกเขาสูงโดยเฉพาะด้านตะวันตก ส่วนด้านตะวันออกและใต้พื้นที่ค่อนข้างราบ สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 14 - 16 องศาเซลเซียส เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 4 - 9 องศา เดือนกรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ย 20 - 28 องศา
มณฑลกุ้ยโจวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 นครระดับจังหวัด (市) 7 นครระดับอำเภอ (市) 56 อำเภอ (县) 13 เขต (区) และ 11 อำเภอปกครองตนเอง (自治县)
เมืองกุ้ยหยาง (贵阳市) | ||
---|---|---|
ประเภท | ชื่อ | |
เขต | อูตัง (乌当区) หนานหมิง (南明区) หยุนเหยียน (云岩区) ฮัวซี (花溪区) ไป๋หยุน (白云区) กวนซานหู (观山胡区) | |
เมือง | ชิงเจิ้น (清镇市) | |
อำเภอ | ไคหยาง (开阳县) ซิวเหวิน (修文县) ซีเฟิง (息烽县) | |
เมืองลิ่วเผียนฉุ่ย (六盘水市) | ||
เขต | จงชาน (钟山区) เขตพิเศษหลิ่วจือ (六枝特区) | |
อำเภอ | เผียน (盘县) ฉุ่ยเฉิง (水城县) | |
เมืองซุนอี้ (遵义市) | ||
เขต | หงฮัวกั่ง (红花岗区) หุ้ยชวน (汇川区) | |
เมือง | ชื่อฉุ่ย (赤水市) เหรินหวย (仁怀市) | |
อำเภอ | ซุนอี้ (遵义县) ถงจื่อ (桐梓县) สุยหยาง (绥阳县) เจิ้งอัน (正安县) เฝิ้งกัง (凤冈县) เหมยถาน (湄潭县) หยูชิ่ง (余庆县) สีฉุ่ย (习水县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติม้งและเกอเหล่า เต้าเจิน (道真仡佬族苗族自治县) ชนชาติม้งและเกอเหล่า อู้ชวน (务川仡佬族苗族自治县) | |
เมืองอันชุ่น (安顺市) | ||
เขต | ซีซิ่ว (西秀区) ผิงป้า (平坝区) | |
อำเภอ | ผู่ติ้ง (普定县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติม้งและปู้ยี กวนหลิ่ง (关岭布依族苗族自治县) ชนชาติม้งและปู้ยี เจิ้นหนิง (镇宁布依族苗族自治县) ชนชาติม้งและปู้ยี สื่อหยุน (紫云苗族布依族自治县) | |
เมืองปี้เจี๋ย (毕节市) | ||
เขต | ชีชิงกวน (七星关区) | |
อำเภอ | ต้าฟัง (大方县) เฉียนซี (黔西县) จินชา (金沙县) จือจิน (织金县) น่ายง (纳雍县) เห้อจัง (赫章县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติม้ง หุย และยี้ เวยหนิง (威宁彝族回族苗族自治县) | |
เมืองถงเหริน (铜仁市) | ||
เขต | ปี้เจียง (碧江区) เวิ่นซาน (万山区) | |
อำเภอ | เจียงโข่ว (江口县) ฉือเชียน (石阡县) ซือหนาน (思南县) เต๋อเจียง (德江县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติต้ง ยู่ผิง (玉屏侗族自治县) ชนชาติตู่เจีย เหยียนเหอ (沿河土家族自治县) ชนชาติม้ง สงเถา (松桃苗族自治县) | |
เขตปกครองตนเองชนชาติม้ง เฉียนตงหนาน (黔东南苗族侗族自治州) | ||
เมือง | ก๋าหลี่ (凯里市) | |
อำเภอ | หวงผิง (黄平县) ชือปิ่ง (施秉县) ซานสุ้ย (三穗县) เจิ้นหย่วน (镇远县) เฉินก่ง (岑巩县) เทียนจู้ (天柱县) จิ่นผิง (锦屏县) เจี้ยนเหอ (剑河县) ไถเจียง (台江县) หลีผิง (黎平县) หลงเจียง (榕江县) ฉงเจียง (从江县) เหลยซาน (雷山县) หมาเจียง (麻江县) ตานไจ้ (丹寨县) | |
เขตปกครองตนเองชนชาติม้งและปู้ยี เฉียนหนาน (黔南布依族苗族自治州) | ||
เมือง | ตูหยุน (都匀市) ฝูฉวน (福泉市) | |
อำเภอ | ลี่โป (荔波县) กุ้ยติ้ง (贵定县) เหวิ้งอัน (瓮安县) ตู๋ซาน (独山县) ผิงถัง (平塘县) หลัวเตี้ยน (罗甸县) ฉางชุ่น (长顺县) หลงหลี่ (龙里县) หุยฉุ่ย (惠水县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติฉุ่ย ซันตู (三都水族自治县) | |
เขตปกครองตนเองชนชาติม้งและปู้ยี เฉียนซีหนาน (黔西南布依族苗族自治州) | ||
เมือง | ชิงยี่ (兴义市) | |
อำเภอ | ชิงเหริน (兴仁县) ปู่อัน (普安县) ฉิงหลง (晴隆县) เจินเฟิง (贞丰县) วั่งหมอ (望谟县) เซ่อเหิง (册亨县) อันหลง (安龙县) |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.