กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน (อังกฤษ: Indo-Iranian languages; มีอีกชื่อว่า กลุ่มภาษาอินโด-อิเรนิก (Indo-Iranic languages)[2][3] หรือ กลุ่มภาษาอารยัน (Aryan languages)[4] เป็นสาขาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่มีผู้พูดมากที่สุดและอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุด โดยมีผู้พูดมากกว่า 1.5 พันล้านคน มีบรรพบุรุษเป็นอินโด-อิเรเนียนดั้งเดิม (มีอีกชื่อว่า อารยันทั่วไป) ซึ่งเริ่มมีผู้พูดประมาณปลายสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช ปัจจุบันแตกออกเป็นสามสาขาคืออินโด-อารยัน, อิหร่าน และนูริสถาน ส่วนดาร์ดิก สาขาเอกเทศที่สี่ เคยอยู่ในกลุ่มภาษานี้ แต่นักวิชาการโดยทั่วไปในปัจจุบันมักจัดให้กลุ่มภาษาดาร์ดิกเป็นสมาชิกในอดีตของสาขาอินโด-อารยัน[5]

ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน, ภูมิภาค: ...
กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน
อารยัน
ภูมิภาค:เอเชียใต้, กลาง, ตะวันตก, ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และคอเคซัส / รวมผู้พูด = ประมาณ 1.5 พันล้านคนใน 15 ประเทศ
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
  • กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน
ภาษาดั้งเดิม:อินโด-อิเรเนียนดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-5:iir
กลอตโตลอก:indo1320[1]
{{{mapalt}}}
บริเวณสาขาอินโด-ยูโรเปียนในยูเรเชีย:
  อินโด-อิเรเนียน
ปิด

ภาษา

Thumb
ตารางจำแนกกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน
Thumb
การจัดจำแนกกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน

กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม:

มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนมากกว่า 1.5 พันล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอินโด-อารยัน: ภาษาฮินดูสตานี (ประมาณ 590 ล้านคน เพราะสำมะโนอินเดียมักรวมภาษาโภชปุรี (40 ล้านคน), ภาษาอวธี (40 ล้านคน), ภาษาไมถิลี (35 ล้านคน), ภาษามาร์วารี (30 ล้านคน), ภาษาราชสถาน (20 ล้านคน), ภาษาฉัตตีสครห์ (18 ล้านคน) และกุเมานี (2.1 ล้านคน) เป็นสำเนียง),[6] ภาษาเบงกอล (205 ล้านคน),[7] ภาษาปัญจาบ (100 ล้านคน), ภาษามราฐี (90 ล้าน), ภาษาคุชราต (50 ล้านคน), ภาษาโอริยา (35 ล้านคน), ภาษาสินธี (25 ล้านคน), ภาษาอัสสัม (24 ล้านคน), ภาษาสิงหล (19 ล้านคน), ภาษาเนปาล (17 ล้านคน) และภาษามณีปุระพิษณุปุระ (12 ล้านคน)[8] ในสาขาอิเรเนียน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (90 ล้านคน),[9] ภาษาปาทาน (ประมาณ 70 ล้านคน), ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน),[10] และภาษาบาโลจ (8 ล้านคน)

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.