Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีแยร์ กูว์รี (ฝรั่งเศส: Pierre Curie; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 – 19 เมษายน ค.ศ. 1906) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สามีของมารี กูว์รี นักเคมีชาวโปแลนด์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1903
ปีแยร์ กูว์รี | |
---|---|
กูว์รี ป. ค.ศ. 1906 | |
เกิด | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 19 เมษายน ค.ศ. 1906 ปี) ปารีส ประเทศฝรั่งเศส | (46
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปารีส |
มีชื่อเสียงจาก |
|
คู่สมรส | มารี กูว์รี (สมรส 1895) |
บุตร |
|
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์, เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยปารีส |
วิทยานิพนธ์ | Propriétés magnétiques des corps à diverses températures (Magnetic properties of bodies at various temperatures) (1895) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | กาเบรียล ลิพพ์มานน์ |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก |
|
ลายมือชื่อ | |
ปีแยร์ กูว์รี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว ปีแยร์ได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนหลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้าฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ. 1878 ปีแยร์ก็ได้รับรางวัลไซเอนซิเอต (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงานทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 ปีแยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างผลึกหินควอทซ์กับเกลือโรเชลลีภายใต้ความกดดันสูง จากผลการทดลองเขาพบว่า ความกดดันมีผลกระทบต่อความต่างศักย์ ซึ่งปีแยร์เรียกสั้น ๆ ว่า "ปีแยร์โซอิเล็กทริซิตี" (Pierre so Electricity) และเขาได้พบเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเพิ่มค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าให้มากขึ้น จะทำให้พื้นผิวของผลึกเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่คนปกติจะได้ยิน แต่ก็มีประโยชน์ เพราะต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงหลายชนิด เช่น ไมโครโฟน เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
ในปี ค.ศ. 1895 ปีแยร์ได้ทดลองเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นกับแม่เหล็ก จากผลการทดลองปีแยร์พบว่าที่อุณหภูมิระดับหนึ่ง แม่เหล็กไม่สามารถแสดงสมบัติออกมาได้ โดยปีแยร์เรียกอุณหภูมิระดับนี้ว่า "เคียวรีพอยต์" (Cury Point) และจากการทดลองครั้งนี้ เขาได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า อิเล็กทรอมิเตอร์ (Electrometer หรือ ThermoMeter) สำหรับใช้ในการทดลองครั้งนี้ด้วย จากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับมอบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการประจำห้องทดลองเคมีและฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา (Maria Sklodowska) และแต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895
หลังจากที่ปีแยร์ได้มีโอกาสพบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา ภายหลังทั้งคู้จึงได้แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895 โดยมีบุตรสาวสองคน ได้แก่
ปีแยร์ กูว์รีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนที่ปารีสเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1906 ขณะที่เขากำลังข้าม Rue Dauphine ที่มีคนชุกชมตอนฝนตกที่ Quai de Conti เขาลื่นล้มและตกลงใต้เกวียนลากม้าหนัก ล้อวงหนึ่งของเกวียนเคลื่อนไปเหนือหัว ทำให้กะโหลกแตก และทำให้เขาเสียชีวิตทันที[2] จากคำให้การของพ่อของเขากับผู้ช่วยห้องปฏิบัติการกล่าวโดยนัยว่า ลักษณะนิสัยเหม่อลอยของกูว์รีที่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของเขามีส่วนทำให้เขาเสียชีวิต[3]
ทั้งมารีและปีแยร์ กูว์รีมีประสบการณ์ถูกเรเดียมเผาไหม้ทั้งโดยบังเอิญและสมัครใจ[4] และได้รับรังสีปริมาณมากขณะทำการวิจัย ทั้งคู่เป็นโรคจากรังสีและมารี กูว์รีเสียชีวิตจากภาวะไขกระดูกฝ่อที่เกิดจากรังสีใน ค.ศ. 1934 แม้แต่ตอนนี้ เอกสารทั้งหมดของทั้งคู่ที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1890 (แม้แต่ตำราอาหารของเธอ) อันตรายเกินกว่าที่จะแตะโดยไม่ได้รับการป้องกัน หนังสือในห้องปฏิบัติการของทั้งคู่ถูกเก็บไว้ในกล่องตะกั่วพิเศษ และผู้ที่ต้องการจะดูมันจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน[5] ของส่วนใหญ่สามารถพบได้ใน Bibliothèque nationale de France[6] ถ้าปีแยร์ กูว์รีไม่ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เขาก็คงมีแนวโน้มเสียชีวิตจากผลของสารกัมมันตรังสี เหมือนกับภรรยา อีแรน ลูกสาวของทั้งคู่ และFrédéric Joliot สามีของลูกสาว[7][8]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 มีการเคลื่อนย้ายสุสานของปีแยร์กับมารี กูว์รีจากสุสานของครอบครัวไปยังห้องฝังศพใต้ดินที่ป็องเตองในปารีส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.