Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระจักรพรรดิหงจื้อ (弘治, 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1470 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1505) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่ง ราชวงศ์หมิง ครองสิริราชสมบัติจากปี ค.ศ. 1487 ถึงปี ค.ศ. 1505 พระนามเมื่อแรกประสูติคือ จู โหย่วเฉิง[1][2] พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของ จักรพรรดิเฉิงฮว่า และรัชสมัยของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิจีนเรียกว่า "การฟื้นฟูหงจื้อ" ศักราชของพระองค์ "หงจื้อ" หมายถึง "การปกครองที่ดี" จักรพรรดิผู้รักสงบ จักรพรรดิหงจื้อยังมีจักรพรรดินีเพียงองค์เดียวและไม่มีนางสนม พระองค์เป็นจักรพรรดิที่มีคู่สมรสคนเดียวตลอดในประวัติศาสตร์จีนนอกจาก จักรพรรดิเว่ย์เฟ่ย์ พระองค์เป็นจักรพรรดิในช่วงกลางราชวงศ์หมิง[3]
จักรพรรดิหงจื้อ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิราชวงศ์หมิง | |||||||||||||
ครองราชย์ | 22 กันยายน ค.ศ. 1487 - 8 มิถุนายน ค.ศ.1505 | ||||||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงฮั่ว | ||||||||||||
ถัดไป | สมเด็จพระจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ | ||||||||||||
ประสูติ | 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1470 จู โหย่วเฉิง[1][2] | ||||||||||||
สวรรคต | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1505 (รวมพระชนมมายุ 34 พรรษา) | ||||||||||||
จักรพรรดินี | สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวคังจิง | ||||||||||||
พระราชบุตร | จูโฮ่วเจ้า (朱厚照 องค์ชายหงเว่ย(朱厚炜) องค์หญิงไท่ซัง(太康公主) | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิง | ||||||||||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระจักรพรรดิเฉิงฮั่ว | ||||||||||||
พระราชมารดา | พระนางเสี้ยวมู่ |
จักรพรรดิหงจื้อ หรือ องค์ชาย จู โหย่วเฉิง ประสูติแต่ นายหญิงจี้ (紀氏) และถูกพระมารดาเลี้ยงมาอย่างลับ ๆ อดีตจักรพรรดินีหวู่และขันทีต่าง ๆ สาบานว่าจะไม่เปิดเผย องค์ชาย จู โหย่วเฉิง และทำให้ ว่านกุ้ยเฟย พระสนมองค์โปรดของจักรพรรดิเฉิงฮว่าที่พยายามจะมีพระบุตรของพระนางเองอารมณ์เสีย เพื่อการนี้ ว่านกุ้ยเฟยจึงกำจัดนางสนมคู่แข่งและสั่งห้ามการตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด เนื่องจากพระโอรสของพระนางหลังจากประสูติได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1466 องค์ชาย จู โหย่วเฉิง ได้กลับมาพบพระบิดาในปี ค.ศ. 1475 เมื่อพระชนมายุ 5 พรรษาและได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท
ภายหลัง จักรพรรดิหงจื้อ เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในปี ค.ศ. 1487 การบริหารของพระองค์เป็นแบบอย่างตามอุดมการณ์ของขงจื๊อ ทำให้พระองค์กลายเป็นจักรพรรดิที่ขยันหมั่นเพียร พระองค์ดูแลอย่างใกล้ชิด ลดภาษี ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ และตัดสินพระทัยอย่างชาญฉลาดในการแต่งตั้งเสนาบดี ที่จับมือทำงานร่วมกับจักรพรรดิหงจื้อ จึงสร้างบรรยากาศความร่วมมือภายในราชสำนักที่ไม่ค่อยมีใครเห็น นอกจากนี้ จักรพรรดิยังสนับสนุนให้เสนาบดีเป็นแนวหน้าในทุกเรื่อง กระทั่งยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อองค์จักรพรรดิเองสิ่งนี้สร้างราชสำนักที่โปร่งใสมากขึ้นและนำพลังงานใหม่มาสู่ราชวงศ์หมิง ผลที่ตามมา ประชาชนเจริญรุ่งเรืองภายใต้การปกครองของพระองค์อีกครั้ง ว่ากันว่าอำนาจของขันทีแต่ละคนถูกลดทอนลง และความหรูหราฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนไม่ปรากฏในรัชสมัยของพระองค์ จักรพรรดิหงจื้อได้รับการเปรียบเทียบกับ จักรพรรดิหงหวู่ และ จักรพรรดิหย่งเล่อ ในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิผู้เก่งกาจที่สุดแห่งราชวงศ์หมิง
ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1488 ขุนนางชาวโชซ็อนนาม ชอยบู ที่เรืออับปางกำลังเดินทางไป คลองใหญ่ ระหว่างเดินทางกลับเกาหลีโดยขบวนคุ้มกันของหมิง ชอยสังเกตเห็นเรือข้ามฟากที่ผ่านไปผ่านมาจึงถามขุนนางจาก ซันเฉิ่งลิ่วปู้[4] เมื่อเขาถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาก็ได้รับฟังคำอธิบายว่า จักรพรรดิหงจื้อ กำลังกำจัดขุนนางทุจริตและไร้ความสามารถในราชสำนักของพระองค์และนี่คือการแสดงความปรารถนาดีครั้งสุดท้ายของจักรพรรดิ โดยให้เดินทางกลับบ้านโดยทางเรือแบบสะดวกสบาย[4]
นโยบายของจักรพรรดิหงจื้อแสดงให้เห็นถึงความอดทนกับ มุสลิม และ จีนมุสลิม อาลี อัคบาร์ คาตาอี นักภูมิศาสตร์ชาวออตโตมัน ได้บันทึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับชุมชนชาวมุสลิมในจีน อัคบาร์ กล่าวว่า พระองค์มีมุสลิมหลายคนในราชสำนักของพระองค์[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.