Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิฮะ 40 ซีรีส์ (ญี่ปุ่น: キハ40系) เป็นรถไฟประเภทดีเซลรางที่ใช้งานประเภทรถธรรมดาและรถท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ผลิตโดย ฟูจิเฮฟวีอินดัสตรีส์ และ นิอิกาตะเทคโค ปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะในภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การเดินรถของ JR West และมีการใช้งานในต่างประเทศ
รถไฟดีเซลรางคิฮะ 40 ซีรีส์ | |
---|---|
คิฮะ 40/48 ทำขบวนบนสาย Gono เมื่อปี 2020 | |
ประจำการ | พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน |
ผู้ผลิต | |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2520 - 2530 |
จำนวนที่ผลิต | 888 คัน (คิฮะ40 392 คัน/คิฮะ47 370 คัน/คิฮะ48 126 คัน) |
ความจุผู้โดยสาร | 66 ที่นั่ง/คัน (คิฮะ40) 76 ที่นั่ง/คัน (คิฮะ47) 74 ที่นั่ง/คัน (คิฮะ48)[1] |
ผู้ให้บริการ |
|
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | เหล็กกล้า |
ความยาว | 21.300 เมตร |
ความกว้าง | 2.900 เมตร |
ความสูง | 3.596 เมตร |
พื้นรถสูงจากราง | 1.240 เมตร |
จำนวนประตู | 4 (ข้างละ 2) |
ความเร็วสูงสุด | 95 กม./ชม. |
ระบบส่งกำลัง | ไฮดรอลิก |
เครื่องยนต์ | DMF15HSA (เดิม) |
ระบบปรับอากาศ | พัดลม |
ระบบเบรก | ลมอัด |
มาตรฐานทางกว้าง |
|
ในภาพรวมการเรียก คิฮะ 40 มักจะรวมถึงรุ่นที่แยกย่อยออกมาคือ คิฮะ 47 และ คิฮะ 48 ซึ่งมีคุณสมบัติและลักษณะที่ใกล้เคียงกับ คิฮะ 40
ในปี 1977 การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นได้มีการสั่งผลิตรถดีเซลรางขึ้นใหม่เพื่อมาทดแทนคิฮะ 10 ที่มีอายุการใช้งานที่มาก ระหว่างปี 1977 ถึงปี 1982 มีการผลิตคิฮะ 40 ขึ้นเป็นจำนวน 888 คัน โดยเริ่มจากคิฮะ 40 100 ที่นำไปประจำการบนเกาะฮกไกโด และรุ่นย่อยอื่นก็ทยอยเข้าประจำการในหลายภูมิภาคจนมีการใช้งานทั่วประเทศ หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นถูกยุบไปในปี 1987 คิฮะ 40 ก็ได้ถูกแบ่งไปใช้โดยทุกบริษัท JR ที่มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสาร โดยทางบริษัทต่างๆ ก็มีการปรับแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมและเข้ากับพื้นที่ที่ใช้งานมากขึ้น รวมถึงการติดตั้งระบบปรับอากาศ ต่อมาในช่วงปี 1990 เริ่มมีการรถดีเซลรางรุ่นใหม่เข้าประจำการมากขึ้น คิฮะ 40 บางคันจึงมีการดัดแปลงให้เป็นรถไฟนำเที่ยว และในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 หลังจากการทยอยนำรถรุ่นใหม่มาทดแทนมากขึ้น เริ่มมีการทยอยปลดระวางคิฮะ 40 ลงจนในปี 2016 JR เซ็นทรัลเป็นบริษัทในกลุ่ม JR แรกที่ปลดระวางรุ่นนี้หมด ปัจจุบันทาง JR ฮกไกโด มีแผนที่จะวางปลดระวางคิฮะ 40 ทั้งหมดภายในปี 2025 [2]และ JR ชิโกกุ มีแผนจะปลดระวางคิฮะ 40 ทั้งหมดภายในปี 2030 [3]
คิฮะ 40 มีรุ่นแยกออกมาคือ คิฮะ 40, คิฮะ 47 และคิฮะ 48 โดยทะเบียนรุ่นย่อยจะแบ่งตามสภาพอากาศในแต่ละภูมภาคที่รถถูกใช้งานคือ ภูมิภาคที่หนาวจัด ภูมิภาคที่หนาว และภูมิภาคที่อบอุ่น นอกจากนี้รุ่นย่อยยังแยกจากว่าตัวรถมีห้องหรือไม่มีห้องน้ำด้วย ภายหลังมีการปรับปรุงและดัดแปลงสภาพรถก็จะมีการใช้ทะเบียนใหม่ เช่นรุ่นย่อย คิฮะ 40 1700 เป็นต้น
ตารางแสดงลักษณะรุ่นย่อยของคิฮะ 40 | ||||||||||
รุ่น | จำนวนห้องขับ | ประเภทประตู | รุ่นย่อย | ภูมิภาค | ห้องน้ำ | จำนวน | การเรียงทะเบียนรถ | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คิฮะ 40 | 2 | ประตูบานเดี่ยว | -100 | หนาวจัด | มี | 150 | 101–250 | |||
-500 | หนาว | 94 | 501–594 | |||||||
-1000 | อบอุ่น | ไม่มี | 148 | 1001–1007 | อดีตเป็นคิฮะ 40-2000 ที่ถอดห้องน้ำออก | |||||
-2000 | มี | 2001–2148 | ||||||||
คิฮะ 47 | 1 | ประตูบานคู่ | -0 | อบอุ่น | มี | 193 | 1–193 | |||
-500 | หนาว | 22 | 501–522 | |||||||
-1000 | อบอุ่น | ไม่มี | 134 | 1001–1134 | ||||||
-1500 | หนาว | 21 | 1501–1521 | |||||||
คิฮะ 48 | 1 | ประตูบานเดี่ยว | -0 | อบอุ่น | มี | 6 | 1–6 | ไม่มีเหลือใช้งาน | ||
-300 | หนาวจัด | 4 | 301–304 | ไม่มีเหลือใช้งาน | ||||||
-500 | หนาว | 59 | 501–559 | |||||||
-1000 | อบอุ่น | ไม่มี | 4 | 1001–1004 | ไม่มีเหลือใช้งาน | |||||
-1300 | หนาวจัด | 3 | 1301–1303 | ไม่มีเหลือใช้งาน | ||||||
-1500 | หนาว | 50 | 1501–1550 |
JR ฮกไกโดได้รับคิฮะ 40 100 จำนวน 150 คัน และคิฮะ 48 จำนวน 7 คันหลังจากยุบการรถไฟญี่ปุ่น โดยรถทั้งหมดที่ได้เป็นรถประเภทที่ออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวจัด จึงไม่มีการนำคิฮะ 47 มาประจำการ มีการดัดแปลงรถเพื่อปรับตามสภาพแวดล้อมของเส้นทางอย่างการเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนระบบปรับอากาศ และปรับปรุงรถให้สามารถทำขบวน “วันแมน”(ワンマン) ได้โดยในปัจจุบันมีการประจำการในสาย
ตั้งแต่ปี 2022 ได้มีการนำรุ่น H100 รถไฟดีเซลไฟฟ้ามาประจำการเพื่อทดแทนคิฮะ 40 ของ JR ฮกไกโดที่อายุมาก และมีแผนที่วิ่งทดแทนคิฮะ 40 ทั้งหมดภายในเดือนมีนาคมปี 2025[4] จะเหลือเพียงรถนำเที่ยวที่จะยังคงเก็บไว้ใช้งานต่อไป
JR East ได้รับคิฮะ 40 เป็นจำนวน 117 คัน(รุ่น 500 92 คัน, รุ่น 1000 7 คัน และรุ่น 2000 18 คัน), คิฮะ 47 เป็นจำนวน 28 คัน (รุ่น 0 3 คัน, รุ่น 500 12 คัน, รุ่น 1000 2 คัน และรุ่น 1500 11 คัน) และคิฮะ 48 จำนวน 74 คัน (รุ่น 500 41 คัน และรุ่น 1500 33 คัน)
ระหว่างปี 1987 ถึง 1988 มีโครงการติดตั้งเครื่องตั้งเครื่องปรับอากาศรุ่น AU34 ไว้ใต้ท้องตัวรถให้กับคิฮะ 40 จำนวน 26 คัน แต่ภายหลังปี 1995 มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศรุ่น AU26J-A ไว้บนหลังคารถจำนวน 113 คันที่ประจำการที่ศูนย์ Minami Akita, ศูนย์ Kogota และศูนย์ Niitsu
รถจำนวน 113 คันที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้แล้วยังมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น Cummins DMF14HZ (350 PS ที่ 2,000 rpm) แต่ระบบส่งกำลังยังคงใช้ไฮดรอลิคจึงจำกัดกำลังเครื่องยนต์อยู่ที่ 300 PS เนื่องจากการประจำการคิฮะ 100 และคิฮะ 110 ซึ่งมีกำลังเครื่องยนต์ที่สูงกว่าจึงทำให้คิฮะ 40 ถูกนำไปใช้งานในเส้นทางราบที่ไม่มีได้ใช้ระบบการเดินรถแบบ “วันแมน” ปัจจุบัน JR east ไม่เหลือคิฮะ 40, คิฮะ 47 และคิฮะ 48 ประจำการแล้ว ยกเว้นรถที่ถูกดัดแปลงเป็นรถนำเที่ยว
มีการประจำการและใช้งานรถคิฮะ 40 และคิฮะ 48 ซึ่งถูกใช้งานในสาย
ในปี 1977 - 1979 มีการผลิตรถคิฮะ 40 จำนวน 24 คัน (หมายเลข 501-510,527-537,551-553) เพื่อนำมาใช้งานในสาย Gono โดยเฉพาะ ในช่วงก่อนปลดระวางทั้งหมดมีคิฮะ 40 จำนวน 29 คันและคิฮะ 48 จำนวน 22 คัน รถทั้งหมดถูกปลดระวางในเดือนมีนาคม 2021 และถูกแทนที่ด้วยรถดีเซลไฟฟ้า GV-E400 ในสาย Gono และ EV-E801 ในสาย Oga
มีการประจำการและใช้งานรถคิฮะ 40 และคิฮะ 48 จนถึงปี 2020 ซึ่งถูกใช้งานในสาย
มีการประจำการและใช้งานรถคิฮะ 40 และคิฮะ 48 จนถึงปี 2015 ซึ่งถูกใช้งานในสาย
มีการประจำการและใช้งานรถคิฮะ 40 และคิฮะ 48 จนถึงปี 2020 ซึ่งถูกใช้งานในสาย
มีการประจำการและใช้งานรถคิฮะ 40, คิฮะ 47 และคิฮะ 48 จนถึงปี 2020 เป็นแขวงการเดินรถเดียวของ JR East ที่ใช้งานคิฮะ 47 โดยรถในศูนย์นี้เคยถูกใช้งานในสายดังต่อไปนี้
รถคิฮะ 40 ของศูนย์ Niitsu เริ่มถูกแทนที่ด้วยรถ GV-E400 ในปี 2019 ทำให้คิฮะ 40 ถูกปลดระวางทั้งหมดในปี 2020
ปัจจุบัน JR East ไม่มีคิฮะ 40 ให้บริการเป็นรถโดยสารธรรมดาแล้ว เหลือเพียงรถนำเที่ยวหรือ “Joyful Train” จำนวน 3 ชุดได้แก่
JR Central ได้รับรถมาเป็นจำนวน 59 คันแบ่งเป็นคิฮะ 40 14 คัน (รุ่น 500 2 และรุ่น 2000 12 คัน), คิฮะ 47 5คัน (รุ่น 0 2 คัน และรุ่น 1000 3 คัน) และคิฮะ 48 40 คัน(รุ่น 0 3 คัน, รุ่น 500 13 คัน, รุ่น1000 2 คัน และรุ่น 1500 17 คัน) มีเทสการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในปี 1988 ก่อนที่จะทยอยติดตั้งเครื่องปรับอากาศใต้ท้องรถรุ่น AU27 และ AU28 ในปี 1990 และติดตั้งครบในปี 1991 และมีการทำสีรถเป็นลาย JR Central ในช่วงเวลาเดียวกัน
คิฮะ 40 ของ JR Central เคยถูกประจำการไว้ที่ศูนย์ Mino-Ota และศูนย์ Ise เพื่อใช้งานในสายหลัก Takayama และสายหลัก Kisei ก่อนที่จะถูกแทนที่โดย คิฮะ 75 และถูกปลดระวางทั้งหมดในปี 2016
JR West ได้รับรถมาเป็นจำนวน 257 คันซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดที่บริษัท JR ได้รับ โดยแบ่งเป็นคิฮะ 40 63 คัน(รุ่น 2000 ทั้งหมด), คิฮะ 47 189 คัน (รุ่น 0 108 คัน, รุ่น 500 3 คัน, รุ่น 1000 75 คัน และรุ่น 1500 3 คัน) และคิฮะ 48 5 คัน(รุ่น 0 3 คัน และรุ่น1000 2 คัน) ในปัจจุบันยังมีการใช้งานเป็นจำนวน 252 คันซึ่งเป็นจำนวนรถคิฮะ 40 ของบริษัท JR ที่ยังคงใช้งานมากที่สุด และยังไม่มีแผนที่จะปลดระวางรถรุ่นนี้ด้วย ยังคงทำหน้าที่สำคัญในการขนส่งผู้โดยสารร่วมกับคิฮะ 120 ในเส้นทางที่ไม่มีการติดตั้งระบบสายส่งไฟฟ้าในภูมิภาค Hokuriku และภูมิภาค Chugoku เนื่องจากจำนวนรถที่เยอะ และลวดลายที่มีหลากหลาย ในปี 2009 เพื่อเป็นการเพิ่มความเรียบง่ายในการทำสี จึงมีการเปลี่ยนมาทำสีมาตรฐานคือ สีแดงชาดหมายเลข 5 (Shutoken Color) ซึ่งเป็นสีรถที่เคยใช้ในสมัยการรถไฟญี่ปุ่น
ระหว่างปี 1994 ถึงปี 2000เครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง โดยเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ โคมัตสุ SA6D125H-1A หรือ SA6D125HE-1 โดยภายหลังมีกำลังส่งออกถึง 355 PS แต่คิฮะ 40 ที่ถูกประจำการที่ศูนย์ Okayama บางส่วนยังถูกจำกัดแรงส่งออกไว้ที่ 265 PS
คิฮะ 40 ทั้งหมดของ JR West ได้รับการปรับปรุงสภาพทางโครงสร้างใหม่ (โครงการยืดอายุรถ 40N) เช่นเดียวกับ รุ่น 103 และรุ่น 113 โดยมีการเสริมโครงสร้างของตัวรถ, การเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ผุพังของตัวรถ, เปลี่ยนหน้าต่าง เปลี่ยนระบบการเปิด-ปิดประตู และเปลี่ยนระบบปรับอากาศเป็นรุ่น WAU201 และติดตั้งบนหลังคา
ในส่วนของรถที่ประจำการในบริเวณ Okayama จะมีการเปลี่ยนไฟหน้ารถเป็นหลอดไฟชนิด LED
เนื่องจากคิฮะ 47 เป็นรถดีเซลรางมีห้องขับฝั่งเดียว จึงมีการดัดแปลงคิฮะ 47 1000 จำนวน 5 คันให้มีห้องขับสองฝั่งโดยใช้ทะเบียนคิฮะ 41 2001 ถึง 2005 และถูกนำไปประจำการในสาย Bantan
จากจำนวนรถที่มีประจำการเยอะ และมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ในภูมิภาค Hokuriku และ Chugoku จึงมีรถนำเที่ยวจำนวนมากที่ยังให้บริการอยู่
JR Shikoku ได้รับรถมาเป็นจำนวน 53 คัน โดยแบ่งเป็นคิฮะ 40 11 คัน (รุ่น 2000 ทั้งหมด) และคิฮะ 47 42 คัน (รุ่น 0 19 คัน, รุ่น 500 5 คัน, รุ่น 1000 13 คัน และรุ่น 1500 5 คัน) ทาง JR Shikoku ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ แต่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศรุ่น FTUR-300 จำนวน 2 ตัวไว้บนหลังคาในปี 1988 ต่อมาในปี 1989 มีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำขบวนแบบวันแมนได้ คิฮะ 40 ในอดีตมีประจำการอยู่ที่ ศูนย์ Matsuyama และ Tokushima แต่ในปี 2016 มีการย้ายรถจากศูนย์ Matsuyama ไปศูนย์ Tokushima ทั้งหมด และในปัจจุบัน JR Shikoku มีรถประจำการอยู่ 20 คันซึ่งประจำการอยู่ที่ศูนย์ Tokushima เพื่อวิ่งในช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็นในสายดังนี้
JR Shikoku มีแผนที่จะทดแทนคิฮะ 40 ตั้งแต่ปี 2025 จนสามารถปลดระวางทั้งหมดในปี 2030
JR Kyushu ได้รับรถมาเป็นจำนวน 142 คัน โดยแบ่งเป็นคิฮะ 40 36 คัน (รุ่น 2000 ทั้งหมด) และคิฮะ 47 106 คัน (รุ่น 0 61 คัน, รุ่น 500 2 คัน, รุ่น 1000 41 คัน และรุ่น 1500 2 คัน) รถบางส่วนที่ไม่ได้มีการปรับปรุงใหม่เริ่มถูกปลดระวางในปี 2019 ในปี 2023 JR kyushu มีคิฮะ40 ในบัญชีอยู่ 106 คัน
คิฮะ 40 ที่ใช้งานในเกาะคิวชู เป็นรถกลุ่มแรกที่ได้มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศมีการติดตั้งตั้งสมัยการรถไฟญี่ปุ่น โดยมีติดตั้งเครื่องปรับอากาศรุ่น AU34 ไว้ใต้รถ และต่อมาในมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ AU600K ไว้บนหลังคาแต่ต่อมาถูกถอดออก
รถคิฮะ 40 ที่ใช้งานในบริเวณ Karatsu มักจะมีการพ่วงรวมกับคิฮะ 125 และใช้งานในสาย
หลังจากการใช้งานในกลุ่ม JR แล้วมีการส่งรถคิฮะ 40 ต่อเป็นรถมือสองให้กับบริษัทเอกชนด้วย
การรถไฟเมียนมาร์ได้รับมอบคิฮะ 40 จาก JR Hokkaido, JR East, JR Central และ JR Shikoku
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้านจำนวนรถไฟไม่พอใช้งาน ด้วยความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท JR East จึงมีการนำเข้าคิฮะ 40 และ คิฮะ 48 รวมจำนวน 20 คันซึ่งเคยประจำการที่ศูนย์ Minami Akita เพื่อใช้งานในสาย Gono และ สาย Oga ก่อนถูกปลดระวางในเดือนมีนาคมปี 2021 โดยมีการส่งมอบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2024[5] และได้ออกเดินทางสู่ประเทศไทยโดยขนส่งทางเรือเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2024
ตารางรายละเอียดของคิฮะ 40 และคิฮะ 48 ที่รฟท.ได้รับมอบ | ||||||||||
รุ่น | หมายเลข | สีรถ | การจัดวางที่นั่ง | ห้องน้ำ | เครื่องยนต์ | เครื่องปรับอากาศ | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คิฮะ 40 | 521 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 522 | ลายย้อนยุค “Shutoken” | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 528 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 532 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 536 | Oga | แนวยาว | มี | DMF15HAZ | AU34 ติดใต้ท้องรถ | ||||
คิฮะ 40 | 543 | Oga | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 544 | Oga | แนวยาว | มี | DMF15HAZ | AU34 ติดใต้ท้องรถ | ||||
คิฮะ 40 | 547 | Oga | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 40 | 575 | Oga | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 515 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 516 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 518 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 520 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 522 | Oga | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 537 | Oga | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 544 | ลายย้อนยุค “Shutoken” | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 1507 | Oga | แนวขวาง | ไม่มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 1509 | Gono | แนวขวาง | ไม่มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 1540 | Gono | แนวขวาง | ไม่มี | DMF14HZC | AU26J-A | ||||
คิฮะ 48 | 1550 | Gono | แนวขวาง | มี | DMF14HZ | AU26J-A | ||||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.