Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[1] ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก[4][5][6]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล | |||||||||
แผนที่ประเทศอิสราเอล: พื้นที่เอและบี (สีส้ม) เป็นพื้นที่ที่องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ปกครอง ส่วนพื้นที่ซี (สีฟ้า) อยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล ในปี 2554 สำหรับแผนที่ทันสมัยและโต้ตอบ ดูที่นี่ | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
อิสราเอล |
ฮามาส (2530–ปัจจุบัน) ญิฮัดอิสลาม (2530–ปัจจุบัน) | ||||||||
สนับสนุนโดย:
| |||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
21,500 คน (2508–2556)[3] |
ความพยายามระงับข้อพิพาทในระยะแรกลงเอยด้วยแผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ ปี 2490 ซึ่งยิวยอมรับแต่อาหรับปฏิเสธ นำไปสู่สงครามปาเลสไตน์ ปี 2490–2492 สถานะเดิมอย่างในปัจจุบันเกิดขึ้นหลังการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ในสงครามหกวัน ปี 2510
แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล[7] เสรีภาพในการเดินทางของปาเลสไตน์[8] และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป[9]
มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น[10] ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้[11] ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด[12] อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญที่ทำให้ความคืบหน้าหยุดชะงัก ได้แก่ เรื่องความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมนครเยรูซาเล็ม นิคมอิสราเอล[13] เสรีภาพในการเดินทาง[8] และสิทธิในการกลับสู่มาตุภูมิของชาวปาเลสไตน์
ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย
สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก
นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และถูกระงับในปี 2557
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.