คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในวิทยาเขตบางเขน และมีโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นสถานปฏิบัติการฝึกหัดนิสิตของคณะ
Faculty of Education, Kasetsart University | |
สถาปนา | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 |
---|---|
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณบดี | ผศ.ดร.อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ |
ที่อยู่ | 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
สี | สีม่วง[1] |
เว็บไซต์ | edu |
ประวัติ
คณะศึกษาศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ในระยะแรกนั้น เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-เกษตร หลักสูตร 2 ปี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-พลศึกษา และรับโอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาคุรุศาสตร์เกษตร และสาขาวิชา ส่งเสริมการเกษตร มาจากคณะเกษตร และใน พ.ศ. 2527 ได้มีโอนสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร กลับไปยังคณะเกษตรอีกครั้ง
เมื่อธนาคารโลกได้อนุมัติให้เงินกู้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจนได้ใช้พื้นที่เต็มเกษตรกลางบางเขนแล้ว จึงได้มีการขยายการเรียนการสอนไปยังวิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยให้นิสิตหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์เกษตร (บางปีเป็น ศิกษาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์) โดยเริ่มย้ายชั้นปีที่ 3 และ 4 ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2522 เป็นต้นมา ภายหลัง พ.ศ. 2546 จึงได้มีโครงการปรับเปลี่ยน ในส่วนของการขยายงาน ณ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นคณะศึกษาศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และใน พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติเปลี่ยนชื่อคณะศึกษาศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หน่วยงาน
ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะศึกษาศาสตร์
|
หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)[2]
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) [3]
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) [4]
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด)
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี
- นับแต่คณะศึกษาศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี ดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร | พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2514 | |
2. ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ | พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2519 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร.บุญธรรม จิตต์อนันต์ | พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2523 | |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่ง เจนจิต | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2527 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพา วีระไวทยะ | พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2535 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2543 | |
7. รองศาสตราจารย์ ดร.พนิต เข็มทอง | พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2551 | |
8. รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ไชยโส | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 | |
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย จิวเจริญสกุล | พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559 | |
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาวดี เล่ห์มงคล | พ.ศ. 2559 - พ.ศ.2567 | |
11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ | พ.ศ.2567-ปัจจุบัน | |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
บุคคลที่มีชื่อเสียง
- ศ.ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ (บุคลากร) อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต อาจารย์ที่จบการศึกษาด้านกิจการนิสิตนักศึกษาคนแรกของประเทศไทย
- ศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์ (บุคลากร) รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2548 สาขาสังคมศาสตร์จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
- รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต (บุคลากร) คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย นายกสมาคมสตรีกับกีฬา รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน (Oregon State University)
- ดร.สุริยะใส กตะศิลา (ศิษย์เก่า) รองคณบดีฯวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต,ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย,อดีตเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่
- เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร (ศิษย์เก่า) โค้ชกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติ
- ดาวน้อย สุทธิพันธ์ (ศิษย์เก่า) โค้ชกีฬาบาสเก็ตบอลทีมชาติ
- โชคชัย พิสิฐวุฒินันท์ (ศิษย์เก่า) อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติ, เทรนเนอร์มวยสากลอาชีพ
- สิปป์บวร แก้วงาม (ศิษย์เก่า) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.