พุทธศักราช 2452 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1909 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีระกา เอกศก จุลศักราช 1271 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2454)
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
- เจ้าผู้ครองนครน่าน: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
- 13 กรกฎาคม –
- มีการค้นพบเหมืองทองในออนทาริโอ
- ประกาศตั้งการประปาในสยาม
- 25 กรกฎาคม – หลุยส์ เบลรีโอ นักบินชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่บินข้ามช่องแคบอังกฤษ
- 12 สิงหาคม – ตั้งอำเภอตากใบและอำเภอสะเดา
- 15 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเฉลิมหล้า 56
- 12 ธันวาคม – รัฐบาลสยามให้สัตยาบันอนุสัญญากรุงเฮกฉบับวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1908
- 16 ธันวาคม – สโมสรฟุตบอลเอซี มิลานก่อตั้งขึ้นเป็นวันแรก
วันเกิด
- 15 กุมภาพันธ์ - มีป คีส นักมนุษยธรรมชาวเนเธอร์แลนด์ (ถึงแก่กรรม 11 มกราคม พ.ศ. 2553)
- 26 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (สวรรคต 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
- 18 มีนาคม - พระครูพิศาลพรหมจรรย์ (สวัสดิ์ ปฺณณสีโล) พระสงฆ์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 1 เมษายน พ.ศ. 2547)
- 19 เมษายน - หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (สิ้นชีพิตักษัย 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530)
- 25 เมษายน - หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ (สิ้นชีพิตักษัย 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- 30 เมษายน - สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (สวรรคต 20 มีนาคม พ.ศ. 2547)
- 3 พฤษภาคม - เสาว์ บุญเสนอ (นามปากกา ส. บุญเสนอ) นักประพันธ์ (ถึงแก่กรรม 26 ธันวาคม พ.ศ. 2544)
- 20 มิถุนายน -
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สิ้นพระชนม์ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2525)
- เออร์รอล ฟลิน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502)
- 27 กรกฎาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ (สิ้นพระชนม์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
- 9 กันยายน - เจ้าหญิงเซ็ตสึโกะ พระชายาฯ (เซ็ตสึโกะ มัตสีไดระ) พระชายาในเจ้าชายยาซูฮิโตะ ชิจิบุโนะมิยะ (สิ้นพระชนม์ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533)
- 14 กันยายน - ปีเตอร์ สกอตต์ นักธรรมชาติวิทยา จิตรกร และนักสำรวจชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 29 สิงหาคม พ.ศ. 2532)
- 1 ตุลาคม - มูล บุญทราย อภิศตวรรษิกชนชาวไทย และบุคคลที่อายุยืนที่สุดในจังหวัดลําพูน (ถึงแก่กรรม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567)
- 4 ตุลาคม - หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล หม่อมใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (ถึงแก่อนิจกรรม 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527)
- 25 พฤศจิกายน - หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระมารดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พิราลัย 19 กันยายน พ.ศ. 2542)
- 21 ธันวาคม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
- 28 ธันวาคม - หม่อมเจ้าชมิยบุตร ชุมพล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (สิ้นชีพตักษัย 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547)
วันถึงแก่กรรม
- 5 มกราคม - เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8
- 11 มีนาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (ประสูติ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398)
- 3 กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี (ประสูติ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2416)
- 20 กันยายน - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช (ประสูติ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2436)
รางวัล
รางวัลโนเบล
- สาขาเคมี – Wilhelm Ostwald
- สาขาวรรณกรรม – เซลมา ลอเกร์เลิฟ
- สาขาสันติภาพ – อูกุสเตอ มารี ฟรองซัว เบอแอร์แนร์, โปล อองรี บองชาแมง เดตูร์เนล เดอ กองสตอง
- สาขาฟิสิกส์ – กูกลิเอลโม มาร์โคนิ, คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรอน
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เอมิล ธีโอดอร์ คอเคอร์
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.