Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กินทามะ (ญี่ปุ่น: 銀魂; โรมาจิ: Gintama; แปลว่า "จิตวิญญาณสีเงิน") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น แต่งเรื่องและวาดภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ มีฉากในนครเอโดะที่ถูกครอบครองโดยมนุษย์ต่างดาวที่เรียกว่าชาวสวรรค์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับซามูไรชื่อซากาตะ กินโทกิ ซึ่งทำงานเป็นนักรับจ้างอิสระพร้อมด้วยลูกจ้างสองคนคือชิมูระ ชินปาจิและคางุระ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าที่รายเดือน ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 และตีพิมพ์ต่อในนิตยสารจัมป์ GIGA ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และเผยแพร่ต่อถึงตอนจบในแอปพลิเคชัน กินทามะ ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. 2562
กินทามะ | |
หน้าปกของหนังสือมังงะกินทามะเล่มแรก | |
銀魂 (Gintama) | |
---|---|
แนว | |
มังงะ | |
เขียนโดย | ฮิเดอากิ โซราจิ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
ในเครือ | จัมป์คอมิกส์ |
นิตยสาร |
|
นิตยสารภาษาไทย |
|
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
จำนวนเล่ม | 77 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย |
|
อำนวยการสร้างโดย |
|
เขียนบทโดย | อากัตสึกิ ยามาโตยะ |
ดนตรีโดย | ออดิโอไฮส์ |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
ถือสิทธิ์โดย | เมเดียลิงก์ |
เครือข่าย | TXN (ทีวีโตเกียว) |
เครือข่ายภาษาไทย |
|
ฉาย | 4 เมษายน พ.ศ. 2549 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 |
ตอน | 201 |
ไลต์โนเวล | |
กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ | |
เขียนโดย | โทโมฮิโตะ โอซากิ |
วาดภาพโดย | ฮิเดอากิ โซราจิ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์ |
ในเครือ | จัมป์เจบุ๊กส์ |
กลุ่มเป้าหมาย | ชาย |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 |
จำนวนเล่ม | 8 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
| |
กำกับโดย | โยอิจิ ฟูจิตะ |
อำนวยการสร้างโดย |
|
เขียนบทโดย | อากัตสึกิ ยามาโตยะ |
ดนตรีโดย | ออดิโอไฮส์ |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
ถือสิทธิ์โดย | เมเดียลิงก์ |
เครือข่าย | TXN (ทีวีโตเกียว) |
เครือข่ายภาษาไทย | |
ฉาย | 4 เมษายน พ.ศ. 2554 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 |
ตอน | 64 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กินทามะ มารุ | |
กำกับโดย | ชิซูรุ มิยาวากิ |
อำนวยการสร้างโดย |
|
เขียนบทโดย |
|
ดนตรีโดย | ออดิโอไฮส์ |
สตูดิโอ | บันไดนัมโคพิกเชอส์ |
ถือสิทธิ์โดย | เมเดียลิงก์ |
เครือข่าย | TXN (ทีวีโตเกียว) |
เครือข่ายภาษาไทย | ทรู สปาร์ก จัมป์ |
ฉาย | 8 เมษายน พ.ศ. 2558 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 |
ตอน | 51 |
โอวีเอ | |
กินทามะ: ภาคหอมย้อมรัก | |
กำกับโดย | ชิซูรุ มิยาวากิ |
อำนวยการสร้างโดย |
|
ดนตรีโดย | ออดิโอไฮส์ |
สตูดิโอ | บันไดนัมโคพิกเชอส์ |
ฉาย | 8 เมษายน พ.ศ. 2558 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 |
ตอน | 2 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
| |
กำกับโดย | ชิซูรุ มิยาวากิ |
อำนวยการสร้างโดย |
|
เขียนบทโดย |
|
ดนตรีโดย | ออดิโอไฮส์ |
สตูดิโอ | บันไดนัมโคพิกเชอส์ |
ถือสิทธิ์โดย | เมเดียลิงก์ |
เครือข่าย | TXN (ทีวีโตเกียว) |
เครือข่ายภาษาไทย | ทรู สปาร์ก จัมป์ |
ฉาย | 8 มกราคม พ.ศ. 2560 – 7 มกราคม พ.ศ. 2561 |
ตอน | 51 |
อนิเมะ | |
กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ | |
สตูดิโอ | บันไดนัมโคพิกเชอส์ |
ภาพยนตร์อนิเมะ | |
| |
ภาพยนตร์คนแสดง | |
| |
วิดีโอเกม | |
|
ซีรีส์ได้รับการดัดแปลงเป็นออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ผลิตโดยสตูดิโอซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นจึงจัดทำเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ความยาวรวม 367 ตอนเริ่มออกอากาศเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ทางช่องทีวีโตเกียว กระทั่งออกอากาศถึงตอนสุดท้ายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการการสร้างเป็นภาพยนตร์อนิเมะ 3 เรื่อง ภาพยนตร์เรื่องแรกเข้าฉายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ภาพยนตร์เรื่องที่สองเข้าฉายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ภาพยนตร์เรื่องที่สามและเรื่องสุดท้ายเข้าฉายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 นอกจากซีรีส์อนิเมะแล้ว ยังมีการดัดแปลงกินทามะเป็นไลต์โนเวลหลายเล่มและวิดีโอเกมหลายเกม ภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันดัดแปลงชื่อเรื่องว่า กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด เข้าฉายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในประเทศญี่ปุ่นโดยวอร์เนอร์บราเธอส์ ประเทศญี่ปุ่น[3] และมีภาพยนตร์ภาคต่อในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561
มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์รายสัปดาห์ในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์หรีอภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส และตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่ม อนิเมะเริ่มจัดจำหน่ายฤดูกาลที่ 1 ในประเทศไทยโดยบริษัททีไอจีเอ ฤดูกาลที่ 2, 3, 4 จัดจำหน่ายโดยบริษัทไรท์บียอนด์ ซีรีส์ กินทามะ' และ กินทามะ': ภาคล่วงเวลา จัดจำหน่ายโดยบริษัทโรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซีรีส์อนิเมะเคยมีการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ ทรูสปาร์ก, ทรูสปาร์กจัมพ์, การ์ตูนคลับแชนแนล, ช่อง 6, จีเอ็มเอ็มวัน, จีเอ็มเอ็มแชนเนล และช่องแก๊งการ์ตูนแชนเนล ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ฤดูกาลแรกมีการฉายทางแพลตฟอร์มอ้ายฉีอี้ ส่วนภาพยนตร์อนิเมะมีการฉายทางแพลตฟอร์มอ้ายฉีอี้ ปีลีปีลี และแอมะซอน ไพรม์วิดีโอ
เนื้อเรื่องมีฉากเป็นประวัติศาสตร์คู่ขนานในช่วงปลายยุคเอโดะ ยุคที่มนุษยชาติถูกโจมตีโดยมนุษย์ต่างดาวที่เรียกกันว่า ชาวสวรรค์ (ญี่ปุ่น: 天人; โรมาจิ: Amanto) ซามูไรแห่งนครเอโดะประเทศญี่ปุ่นพยายามต่อสู้เพื่อปกป้องโลก แต่เมื่อโชกุนรู้ถึงพลังและวิทยาการของชาวสวรรค์จึงหวาดกลัวแล้วยอมจำนน โชกุนยินยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกับชาวสวรรค์ ออกคำสั่งห้ามพกดาบในที่สาธารณะและอนุญาตให้ชาวสวรรค์เข้าประเทศ ดาบของซามูไรถูกยึดไปและรัฐบาลบาคุฟุของโชกุนตระกูลโทกุงาว่าได้กลายเป็๋นรัฐบาลหุ่นเชิด
ซีรีส์เรื่องนี้เน้นที่เรื่องราวของซามูไรเพี้ยน ๆ ชื่อซากาตะ กินโทกิ ผู้ทำงานเป็นนักรับจ้างอิสระรับทำทุกอย่าง กินโทกิได้ช่วยเด็กหนุ่มชื่อชิมูระ ชินปาจิในการช่วยเหลือพี่สาวคือชิมูระ ทาเอะจากกลุ่มชาวสวรรค์ที่ต้องการนำตัวเธอไปทำงานใช้หนี้ในซ่องโสเภณี ชินปาจิรู้สึกประทับใจกินโทกิจึงผันตัวมาเป็นเด็กฝึกงานลูกจ้างของกินโทกิเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายและเพื่อเรียนรู้วิถีซามูไรเพิ่มเติม ทั้งคู่บังเอิญไปช่วยเด็กหญิงชาวสวรรค์ที่มีพลังเหนือมนุษย์ชื่อคางุระจากกลุ่มยากูซ่า พวกเขารับคางุระเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง แล้วทั้งสามคนก็เป็นที่รู้จักในชื่อ "ร้านรับจ้างสารพัด" (ญี่ปุ่น: 万事屋; โรมาจิ: Yorozuya)
แม้ว่าเนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องจบเป็นตอน ๆ แต่ก็มีพัฒนาการของเนื้อเรื่องในเนื้อเรื่องบางภาคและตัวละครปฏิปักษ์ที่กลับมาซ้ำ[4] ตัวอย่างเช่นอดีตสหายของกินโทกิชื่อทากาสุงิ ชินสุเกะผู้ถือว่ากินโทกิและอดีตสหายคนอื่นคือศัตรูและหาทางจะทำลายรัฐบาลโชกุน ในเวลาต่อมาทากาสุงิได้พันธมิตรอันได้แก่ คามุอิพี่ชายของคางุระ และหน่วยรบชั้นสูงมิมาวาริงุมิ เพื่อเตรียมก่อการรัฐประหารครั้งใหญ่ ภายหลังเมื่อปฏิปักษ์ที่แท้จริงคืออุซึโร่ผู้เป็นอมตะปรากฏตัว กินโทกิจึงร่วมกับทั้งสหายและศัตรูในการยับยั้งอุซึโร่ไม่ให้ทำลายโลก
จุดเน้นหลักของฮิเดอากิ โซราจิในการเขียนกินทามะคือการใช้มุกตลก ต่อมาระหว่างการเขียนมังงะเป็นปีที่ 2 ได้เริ่มเพิ่มความเป็นนาฏกรรมในเนื้อเรื่องโดยยังคงความตลกขบขันไว้.[5] มุกตลกหลายครั้งในมังงะเป็นเสียดสีภาพจำเจจากซีรีส์มังงะแนวโชเน็งเรื่องอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนแรกสุด หลังจากกินโทกิต่อสู้กับกลุ่มชาวสวรรค์เพื่อปกป้องชินปาจิและทาเอะ ชินปาจิบ่นว่ากินโทกิสู้ได้เพียง "หน้าเดียว" เอง กินโทกิจึงตอบว่า "เจ้าบ้า สำหรับคนเขียนการ์ตูนแล้วหน้าเดียวนี่ก็เสียเวลาวาดนะเฟ้ย!!" ในฉากที่กินโกทิอยากอ่านนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ (ในมังงะฉบับภาษาไทยแปลงเป็นนิตยสารซีคิดส์) อย่างจริงจังเกินจริง (ที่ถึงขั้นทำให้เขาต้องต่อสู้กับผู้อ่านคนอื่นเพื่อแย่งชิงมาอ่าน) ก็มีการพูดล้อเลียนซีรีส์มังงะแนวโชเน็งเช่นกัน[2][6] สถานการณ์ตลกขบขันอื่น ๆ มีความเฉพาะตัว ซึ่งผู้อ่านต้องรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงจะสามารถเข้าใจมุกตลกได้[7] อารมณ์ขันในเรื่องได้รับการระบุโดยสิ่งพิมพ์ว่า "แปลก" และ "ประหลาด" ทั้งยังมีการระบุแนวเรื่องโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ "ตลกบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์" และ "ตลกซามูไร" สำหรับประเภทแรกอ้างถึงมนุษย์ต่างดาว (ชาวสวรรค์)[8]
ในปี พ.ศ. 2546 ฮิเดอากิ โซราจิเป็นศิลปินมังงะหน้าใหม่ผู้เขียนมังงะเรื่องสั้นตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์แล้ว 2 เรื่อง[9] และกำลังเตรียมจะเขียนซีรีส์มังงะเรื่องแรก บรรณาธิการของเขาแนะนำให้เขาสร้างซีรีส์มังงะอิงจากเรื่องราวของกองกำลังตำรวจพิเศษชินเซ็นงุมิ โดยได้แรงบันดาลใจจากละครโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศ โซราจิพยายามสร้างซีรีส์นี้เพราะตัวเขาเองก็ยอมรับว่าชื่นชอบชินเซ็นงุมิ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ แทนที่จะทิ้งแนวคิดทั้งหมดโดยสิ้นเชิง โซราจิยังคงมุ่งเน้นที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแลต่เริ่มเริ่มสร้างเรื่องราวของตนเอง โดยเพิ่มองค์ประกอบความเป็นบันเทิงคดีแนววิทยาศาตร์และดัดแปลงบุคคลในประวัติศาสตร์จำนวนมากเพื่อสร้างเรื่องราวตามความชอบของตนมากขึ้น[10] ชื่อเรื่องดั้งเดิมของซีรีส์เคยตั้งเป็นชื่อว่า "โยโรซูยะ กิน-ซัง" (万事屋銀さん, แปลว่า "คุณกินนักรับจ้างสารพัด") แต่โซราจิเห็นว่าชื่อไม่ดึงดูดมากพอ หลังจากถกเถียงกันอย่างหนัก จึงตัดสินใจใช้ชื่อว่า กินทามะ หลังจากไปปรึกษากับครอบครัว ตัดสินใจใช้ชื่อที่ฟังดูสองแง่สองง่าม[11] แม้ว่าโซราจิเห็นว่ามังงะเรื่องสั้นของเขาเรื่อง "ซามูไรดะ" เป็นเรื่องที่แย่มาก แต่ฉากในมังงะเรื่องสั้นเรื่องนี้ก็เป็นพื้นฐานให้เรื่องกินทามะในการเพิ่มตัวละครมนุษย์ต่างดาว[12] โซราจิชอบยุคบากูมัตสึและยุคเซ็งโงกุเนืองจากทั้งสองยุคเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงปละสะท้อนด้านบวกและด้านลบของมนุษย์ ซีรีส์จึงให้มีฉากในยุคบากูมัตสึในโลกคู่ขนานเพื่อให้ความสำคัญของบูชิโดของตัวละครในฐานะที่เวลานั้นซามูไรอยู่ในช่วงตกต่ำของชีวิต[13] โซราจิยังได้อ้างอิงซีรีส์มังงะเรื่อง ซามูไรพเนจร (พ.ศ. 2537–2542) ซึ่งมีฉากในยุคบากูมัตสึและยุคเมจิว่าเป็นแหล่งแรงบันดาลใจสำคัญ[14]
ซีรีส์มังงะกินทามะ แต่งเรื่องและวาดภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546[15] สำนักพิมพ์ชูเอชะยังเผยแพร่มังงะตอนแรกในหน้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ[16] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 มีการประกาศว่ามังงะจะจบในวันที่ 15 กันยายนในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์[17] แต่ภายหลังมีประกาศในวันที่ 15 กันยายนว่ามังงะจะย้ายไปตีพิมพ์ต่อในนิตยสาร จัมป์กิกา.[18][19] ตีพิมพ์ต่อเนื่อง 3 ฉบับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561[20] ถึง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[21][22] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีการประกาศว่ามังงะจะเผยแพร่ต่อในแอปพลิเคชันฟรีกินทามะ[23] เริ่มลงในแพลตฟอร์มในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[24] และถึงตอนจบที่ตอนที่ 704 ในวันที่ 20 มิถุนายนของปีเดียวกัน[25][26] สำนักพิมพ์ชูเอชะรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ทั้งหมด 77 เล่ม วางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2547[27] ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562[28][29]
มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซีคิดส์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส) จนกระทั่งนิตยสารปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548[30] วางจำหน่ายจนครบ 77 เล่มในปี พ.ศ. 2565[31]
ในอเมริกาเหนือ กินทามะได้รับลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์วิซมีเดีย ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ระหว่าง เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 และเริ่มตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550[32] โดยได้ตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 แล้วหยุดการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มต่อ [33]
การ์ตูนชุด กินทามะ ได้มีการตีพิมพ์ตอนพิเศษซึ่งมีเนื้อหาข้ามเรื่อง (Crossover) กับการ์ตูนชุด "สเก็ต ดานซ์" ในโชเน็นจัมป์ฉบับที่ 18/2011 ประจำวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อการประชาสัมพันธ์แอนิเมชั่นชุดใหม่ของกินทามะ และแอนิเมชั่นชุดแรกของเรื่องสเก็ต ดานซ์ ซึ่งเริ่มฉายเมื่อต้นเดือนเมษายนปีเดียวกัน โดยการ์ตูนข้ามเรื่องของกินทามะและสเก็ต ดานซ์ แบ่งออกเป็นสองตอน คือ สเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" (นับลำดับตอนต่อเนื่องกับการ์ตูนในชุดของตัวเอง) และกินทามะตอนพิเศษ "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" โดยมีผู้เขียนเรื่องต้นฉบับของแต่ละเรื่อง (เคนตะ ชิโนฮาระ จากเรื่องสเก็ต ดานซ์ และฮิเดอากิ โซราจิ จากเรื่องกินทามะ) รับผิดชอบในเนื้อหาการ์ตูนชุดของตนเอง [34]
เนื้อหาของการ์ตูนข้ามเรื่องชุดนี้เริ่มขึ้นในการ์ตูนชุดสเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" โดยที่ตัวละครหลักของเรื่องกินทามะ (กินโทกิ, คางุระ, ชินปาจิ) ได้ข้ามมิติด้วยเครื่องย้ายมวลสารมายังห้องของชมรมสเก็ตดานซ์และได้พบกับสามตัวละครเอกของเรื่องดังกล่าว (บอสเซน, ฮิเมโกะ, สวิชต์) และจบลงด้วยเหล่าตัวละครเอกของทั้งสองเรื่องถูกเครื่องย้ายมวลสารดึงมาสู่มิติของเรื่องกินทามะ และต่อด้วยเรื่องกินทามะตอนพิเศษ "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" ซึ่งกล่าวถึงการแข่งขันชิงความเป็นสุดยอดร้านรับจ้างสารพัดระหว่างทีมกินทามะกับทีมสเก็ต ดานซ์ โดยใช้ฉากที่คล้ายกับโลกในเรื่อง "วันพีซ x โทริโกะ" ซึ่งเป็นการ์ตูนข้ามเรื่องอีกชุดหนึ่งของโชเน็นจัมป์ ที่ตีพิมพ์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
อนึ่ง หลังจากได้มีการออกอากาศแอนิเมชั่นของการ์ตูนชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ได้ 6 เดือน ได้มีการประกาศทำแอนิเมชั่นเนื้อหาข้ามเรื่องของทั้งสองเรื่องเป็นการเฉพาะ โดยมีกำหนดการออกอากาศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้จะเริ่มออกอากาศในตอน "สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ" ในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน และออกอากาศตอน "กินทามะ x สเก็ต ดานซ์" ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน สตูดิโอที่รับผิดชอบการผลิดแอนิเมชั่นชุดนี้คือซันไรส์ ("สเก็ต ดานซ์ x กินทามะ") และทัตซึโนะโกะ โปรดัคชั่น ("กินทามะ x สเก็ต ดานซ์") ซึ่งเป็นสตูดิโอที่รับผิดชอบแอนิเมชั่นชุดกินทามะและสเก็ต ดานซ์ ตามลำดับ[35]
ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ โอวีเอตอนแรก ใช้ชื่อตอนเดียวกับชื่อเรื่อง ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2005 โอวีเอตอนที่สองใช้ชื่อว่า "ชิโระยะฉะ โคทัน" (ญี่ปุ่น: 白夜叉降誕; โรมาจิ: Shiroyasha Kotan; "กำเนิดปีศาจขาว") ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2008 ดีวีดีของโอวีเอทั้งสองตอน ใช้ชื่อว่า Gintama Jump Anime Tour 2008 & 2005 ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทอะนิเพล๊กซ์ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 [36]
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง กินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ 99 ตอนแรกกำกับโดยชินจิ ทากามาสึ ตอนที่ 100 ถึง 105 กำกับร่วมกันโดยชินจิ ทากามาสึและโยอิจิ ฟูจิตะ ตั้งแต่ตอนที่ 106 เป็นต้นไปกำกับโดยโยอิจิ ฟูจิตะ [37] ออกอากาศทางทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทอะนิเพล๊กซ์ได้จำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะตามลำดับเวลาดังนี้
ส่วนในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ได้แก่ บริษัททีไอทีเอ และบริษัทไรท์บิยอนด์
ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 ในประเทศไทยทางช่องการ์ตูนคลับแชนแนล เมื่อในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยออกอากาศตอนที่ 1 ถึง ตอนที่ 52 และเคยมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะครบทุกตอนทางช่องทรู สปาร์ค ในปัจจุบันมีการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะทางช่อง 6 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน
หลังจบแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวได้ออกอากาศภาพยนตร์แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุด "โยรินุกิ กินทามะ-ซัง" (ญี่ปุ่น: よりぬき銀魂さん; ทับศัพท์: Yorinuki Gintama-san; "รวมตอนที่ดีที่สุดของกินทามะ") ซึ่งเป็นการคัดเลือกตอนเก่า ๆ ของแอนิเมชั่นชุดกินทามะจากทั้งสี่ภาคมาออกอากาศซ้ำในระบบโทรทัศน์รายละเอียดสูง (HDTV) โดยชื่อของรายการนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อล้อเลียนการออกอากาศซ้ำของแอนิเมชั่นชุด "ซาซาเอะซัง"[46] แอนิเมชั่นชุดนี้มีจำนวน 51 ตอน ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553 จนถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
ทั้งนี้ นอกจากการปรับปรุงระบบการออกอากาศจาก 4:3 มาเป็น 16:9 แล้ว ได้มีการเพิ่มเพลงเปิดและเพลงปิดรายการขึ้นใหม่อย่างละ 4 เพลง ดังรายชื่อต่อไปนี้
ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการออกอากาศแอนิเมชั่นชุดกินทามะ ภาค 4 โยอิจิ ฟูจิตะ ผู้กำกับแอนิเมชั่นชุดนี้ได้กล่าวว่าแอนิเมชั่นชุดนี้จะออกอากาศต่อเมื่อทีมงานผลิตรายการสามารถรวมรวบวัตถุดิบสำหรับการทำแอนิเมชั่นได้เพียงพอ ส่วนชินจิ ทากามัตสึ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรายการ ได้กล่าวย้ำว่า แอนิเมชั่นทางโทรทัศน์ชุดนี้ยังไม่จบ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งอย่างแน่นอน[48] ต่อมาสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ได้ประกาศในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ว่า แอนิเมชั่นชุดใหม่ของเรื่องนี้จะกลับมาแพร่ภาพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[49]
เมื่อจบการออกอากาศแอนิเมชั่นชุด "โยรินุกิ กินทามะ-ซัง" ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 แล้ว ในสัปดาห์ถัดมา ซึ่งตรงกับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 สถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวจึงเริ่มการแพร่ภาพแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดใหม่ ภายใต้ชื่อ กินทามะ' (ญี่ปุ่น: 銀魂’; โรมาจิ: Gintama' มีการเพิ่มเครื่องหมายอะพอสทรอฟีไว้หลังชื่อ) ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นเรื่องกินทามะชุดล่าสุดที่กำลังออกอากาศในขณะนี้[50] ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับใน 4 ภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ สำหรับดีวีดีชุดแรกจากแอนิเมชั่นชุดนี้จะเริ่มจัดจัดจำหน่ายในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[51]
ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ' คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี 13 แผ่น
ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลาสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นภาคต่อเนื่องจากภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ' ที่จบไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ทีมงานในการผลิตยังคงใช้ทีมงานชุดเดียวกันกับภาคก่อนหน้า โดยมีโยอิจิ ฟูจิตะ เป็นผู้กำกับรายการ[52] สิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวนตอนทั้งหมด 13 ตอน รวบรวมเป็นดีวีดีได้ 4 แผ่น วางจำหน่ายระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ในประเทศไทย มีบริษัทผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ซีซั่น 6 ภาคล่วงเวลา คือบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีบ๊อกซ์เซ็ต รวมดีวีดี 4 แผ่น วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มีภาพยนตร์สามเรื่องที่อิงจากแฟรนไชส์กินทามะเรื่องแรกคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ เป็นการดัดแปลงมาจากเนื้อเรื่องภาคเบนิซากุระของเรื่องกินทามะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อคาซึระถูกคนของกองทหารอสุราลอบทำร้าย เหล่านักรับจ้างสารพัดจึงออกสืบหาต้นตอของเรื่องราวทั้งหมด [53][54] ภาพยนตร์ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้บนเว็บบอร์ดของเว็บไซต์ของบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เมื่อวันที่ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 [55] ได้ออกฉายในงาน Manga & Anime festa ณ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 6 และ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 [56] ออกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดีวีดีและวีซีดีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และเคยออกอากาศทางช่องแก๊งการ์ตูน เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557 [57]
ภาพยนตร์เรื่องที่สองคือ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในประเทศไทย บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ได้ประกาศเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ภาคนี้ในงานฉายภาพยนตร์ ฮันเดอร์ x ฮันเตอร์ เดอะ มูฟวี่ เนตรสีเพลิงกับกองโจรเงามายา ณ เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [58] ออกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดีวีดีและวีซีดี
ภาพยนตร์เรื่องที่สามประกาศสร้างในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ในหนังสือมังงะเล่มที่ 77 [59] ภาพยนตร์มีชื่อเสียงว่า กินทามะ เดอะ ไฟนอล ในประเทศญี่ปุ่น และ กินทามะ เดอะ เวรี่ ไฟนอล ในประเทศไทย ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564[60][61] ดัดแปลงจากบทสุดท้ายของมังงะต้นฉบับ ประกอบกับเนื้อเรื่องที่เพิ่มเข้าไปใหม่[62] วง Spyair ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงหลักชื่อเพลง "วาดาจิ" (ญี่ปุ่น: 轍~Wadachi~; แปลว่า "รอยล้อรถ") ส่วนวง Does ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เพลงแทรก[63] การ์ดภาพวาดของตัวละครจากเรื่อง ดาบพิฆาตอสูร วาดโดยโซราจิ ประกอบด้วยภาพของโคมาโดะ ทันจิโร่และเสาหลัก เป็นของแจกให้ผู้เข้าชมในการฉายภาพยนตร์สัปดาห์แรก[64][65] อนิเมะตอนพิเศษ กินทามะ เดอะ เซมิ-ไฟนอล ซึ่งมีเนื้อเรื่องผูกกับภาพยนตร์ เริ่มฉายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ทางบริการออนไลน์ dTV อนิเมะตอนพิเศษตอนที่สองฉายในวันที่ 20 มกราคม[66] ในประเทศไทย ภาพยนตร์กินทามะ เดอะ เวรี่ ไฟนอล จัดจำหน่ายโดยบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และดูแลการตลาดโดยบริษัท ไฟว์สตาร์ เอเจนซี่ จำกัด ภาพยนตร์ออกฉายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[67]
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 สำนักพิมพ์ชูเอฉะได้ประกาศว่าเรื่องกินทามะจะได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอคชัน และจะออกฉายในปี พ.ศ. 2560 กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดยยูอิจิ ฟุคุดะ และนำแสดงโดย ชุน โอะงุริ [68]
ภาพยนตร์ไลฟ์แอคชันดัดแปลงจากเรื่องกินทามะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในประเทศไทย ภาพยนตร์เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560 [69] โดยมีชื่อเรื่องภาษาไทยว่า กินทามะ ซามูไร เพี้ยนสารพัด
ดนตรีประกอบภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประพันธ์โดย เออิจิ คามางาตะ ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจำหน่ายซีดีเซาด์แทร็กของภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประกอบด้วยเซาวน์แทร็กจำนวน 32 เพลง รวมไปถึงเพลงเปิดเพลงแรก และเพลงปิดสองเพลงแรก [70]
ซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 2 วางจำหน่ายในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 40 เพลง[71] ส่วนซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 3 ที่เป็นลำดับล่าสุด วางจำหน่ายในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 28 เพลง[72]
นิยายไลต์โนเวลที่อิงจากหนังสือการ์ตูน กินทามะ เขียนเนื้อเรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ วาดภาพประกอบโดยฮิเดอากิ โซราจิ เจ้าของเรื่องต้นฉบับ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ฉากของเรื่องเป็นโรงเรียนชื่อโรงเรียนกินทามะ โดยกินโทกิรับบทอาจารย์โดยใช้ชื่อว่า ซากาตะ กินปาจิ และตัวละครอื่น ๆ ส่วนใหญ่รับบทนักเรียนหรืออาจารย์คนอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื้อเรื่องของไลต์โนเวลกินทามะตีพิมพ์ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ ใช้ชื่อเรื่องว่า ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ (ญี่ปุ่น: 3年Z組銀八先生; โรมาจิ: 3-Nen Z-Gumi Ginpachi-sensei; "ปี 3 ห้อง Z อาจารย์กินปาจิ") ไลต์โนเวลเล่มแรกตีพิมพ์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 7 [73][74] ซึ่งมีชื่อเรื่องดังต่อไปนี้
ในประเทศไทย นิยายไลต์โนเวลกินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ไลท์ วางจำหน่ายเล่มที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 [75] ปัจจุบันตีพิมพ์ครบ 7 เล่มแล้ว ซึ่งมีชื่อเรื่องดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีฉบับนิยายของภาพยนตร์กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย : กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ที่เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิเช่นเดียวกัน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่น [76] นิยายฉบับนี้ยังไม่มีลิขสิทธิ์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไกด์บุ๊คกินทามะแล้ว 3 เล่ม สำหรับมังงะ 2 เล่ม และอนิเมะ 1 เล่ม ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่มแรก มีชื่อว่า Gintama Official Character Book - Gin Channel (ญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」) ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตัวหนังสือประกอบด้วยข้อมูลตัวละคร บทสัมภาษณ์ฮิเดอากิ โซราจิ และสติกเกอร์ตัวละคร [82] ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่ม 2 มีชื่อว่า Gintama Official Character Book 2 - Fifth Grade (ญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」) ตีพิมพ์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเล่มที่เพิ่มข้อมูลของตัวละครใหม่เพิ่มเติมจากเล่มแรก [83] ไกด์บุ๊คสำหรับอนิเมะมีชื่อว่า Gintama Official Animation Guide "Gayagaya Box" (ญี่ปุ่น: オフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱) ตีพิมพ์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสกินทามะออกอากาศถึงตอนที่ 100 มีข้อมูลเกี่ยกวับนักพาย์ผู้พากย์เป็นตัวละครในกินทามะ[84]
ในประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนเรื่องกินทามะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในปี พ.ศ. 2549 [85] หนังสือการ์ตูนกินทามะ 12 เล่มที่ออกวางแผงในปีนั้น ขายได้จำนวนรวมกัน 7,500,000 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านเล่ม ติดอันดับการ์ตูนขายดีของนิตยสารโซเน็นจัมป์ในปี พ.ศ. 2550 [86] ในปี พ.ศ. 2551 ยอดจำหน่ายของการ์ตูนกินทามะเป็น 20 ล้านเล่ม[87]
ส่วนในประเทศไทย ในระยะแรก กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะเป็นไปในทางลบ เนื่องจากผู้อ่านบางกลุ่มอ่านกินทามะไม่เข้าใจ[30] แต่ด้วยการพัฒนาเนื้อหาของผู้แต่งในระยะต่อมา และการแปลเป็นภาษาไทยที่ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กินทามะกลับมามีความนิยมอย่างท่วมท้นในประเทศไทย โดยเฉพาะการประกาศเรื่องและตัวละครชายดีเด่นในปี2010 ผลการโหวตปรากฏว่า การ์ตูนกินทามะได้อันดับที่สองรองจากK-on! และซากาตะ กินโทกิ ได้รับการโหวตให้เป็นตัวละครชายยอดนิยมแห่งปี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.