การประท้วงที่สะพานซี่ตง ปักกิ่ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงที่สะพานซี่ตง (จีน: 四通桥; จีน: 四通桥; พินอิน: Sìtōng Qiáo) เป็นการประท้วงทางการเมืองในประเทศจีนในช่วงก่อนมีการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 การประท้วงเริ่มต้นในเช้าวันที่ 13 ตุลาคม 2022 ผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งคนประท้วงต่อต้านเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิง โดยประท้วงในประเด็นของลัทธิบูชาบุคคล, ระบอบเผด็จการ, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การเซนเซอร์ในประเทศ, การพยายามเป็นประธานาธิบดีตลอดชีวิต และการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ การประท้วงประกอบด้วยการแขวนป้ายผ้าและการเผายางบน สะพานซี่ตง (จีน: 四通桥; พินอิน: Sìtōng Qiáo) ในอำเภอไห่เดี้ยน ปักกิ่ง
การประท้วงที่สะพานซี่ตง | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการประชาธิปไตยในจีน การประท้วงมาตรการโควิด-19 | |
สะพานซี่ตง ภาพถ่ายปี 2003 | |
วันที่ | 13 ตุลาคม 2022 |
สถานที่ | สะพานซี่ตง อำเภอไห่เดี้ยน ปักกิ่ง ประเทศจีน 39.96564°N 116.31517°E |
สาเหตุ | ต่อต้านสี จิ้นผิง และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน |
วิธีการ | แขวนป้ายผ้า, เปิดสโลแกนทางลำโพง, เผายาง |
สถานะ | ผู้ประท้วงถูกจับกุม, ข้าวของถูกริบ |
ไม่เป็นที่ทราบเลยว่าผู้ประท้วงเป็นใคร แต่ในสื่อนิยมเรียกขานเขาว่าเป็น "บริดจ์แมน" (Bridge Man) ตาม "แทงค์แมน" (Tank Man)
ในยุค 2000s ประเทศจีนมีการประท้วงในประเทศบ่อยครั้ง ประมาณการณ์ไว้ที่ประมาณ 180,000 ครั้งในปี 2010 ตามข้อมูของศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิงหัว Sun Liping[1]
การประท้วงต่อต้านสี จิ้นผิง และนโยบายของเขา ถือว่าพบได้ยากมาก เนื่องจากเป็นการประท้วงในไม่กี่วันก่อนการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งถือเป็นช่วงที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะกวดขันการประท้วงเป็นพิเศษ เป็นที่คาดการณ์กันไว้แล้วว่าสี จิ้นผิง จะขึ้นดำรงตำแหน่งต่อเป็นวาระที่สาม ในการประชุมใหญ่พรรคครั้งนี้[2][3][4][5][6][7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.